Global Financial Monitor (4 - 8 Jan) 2009

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 11, 2010 12:08 —กระทรวงการคลัง

Highlights:
  • จากตัวเลขอุตสาหกรรมของสหรัฐและสหภาพยุโรปที่ดีขึ้นช่วงต้นปี 53 ส่งผลให้นักลงทุนกล้าเสี่ยงมากขึ้น (Risk Appetite) จึงมีเงินทุนไหลเข้าประเทศ Emerging Countries ในแทบทุกตลาด ส่งผลให้หุ้นเอเชียปรับขึ้นและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง
  • บาทแข็งขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐตามค่าเงินภูมิภาค NEER แข็งขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากค่าเงินเยนอ่อนค่าลง
  • SET ทรงตัวจากแรงขายทำกำไรหุ้น LTF แม้ว่าจะมีแรงเข้าซื้อจากต่างชาติ
  • ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น
Foreign Exchange Market
  • ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อยจากระดับ 33.21 มาอยู่ที่ระดับ 33.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับค่าเงินภูมิภาคสกุลอื่นๆต่อดอลลาร์สหรัฐที่ล้วนแล้วแต่แข็งค่าขึ้นและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากภาวะ risk appetite หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในสหรัฐและยุโรปปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาทซึ่งถัวเฉลี่ยกับเงินสกุลของคู่ค้าหลัก (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 0.28 จากสัปดาห์ก่อนหน้า (บาทแข็งค่าขึ้น) และยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.01 เนื่องจากค่าเงินเยนซึ่งเป็นค่าเงินที่มีน้ำหนักมากที่สุด ของตะกร้าสกุลเงินคู่ค้าตามนิยามดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ วันที่ 31 ธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับ 154.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 0.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากมูลค่าของค่าเงินยูโรในตะกร้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและการเข้าดูแลค่าเงินบาท
Stock Market
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยได้รับแรงเข้าซื้อส่วนใหญ่ต่างชาติและนักลงทุนระดับย่อยในประเทศในขณะที่ได้รับแรงเทขายจากสถาบันรายใหญ่โดยเฉพาะหุ้นในกองทุน LTF เพื่อทำกำไรหลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากในช่วงปีทีผ่านมา
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกต่างปรับตัวดีขึ้นในสัปดาห์นี้สอดคล้องกับแรงเงินไหลเข้าสู่ตลาด หลักทรัพย์ในถูมิภาค จากตัวเลขการฟนตัวในภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภาคการจ้างงานของสหรัฐและยุโรปที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Money Market
  • อัตราดอกเบี้ยระยะ 3 เดือนของสหรัฐ (US LIBOR 3 Months) ในช่วงสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐที่ลดลงในขณะที่ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทย (Thai baht fixing) ระยะ 3 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
Bond Market
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยตามความต้องการพันธบัตรที่ยังมากกว่าปริมาณจำหน่ายซึ่งสะท้อนได้จาก Bidcover ratio ที่ยังอยู่ในระดับที่สูงในการประมูลในช่วงกลางสัปดาห์ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯไม่เปลี่ยนแปลงมากจากสัปดาห์ก่อนหน้าหลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากความกังวลของเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ FED ในระยะถัดไป
Commodity Market
  • ราคาน้ำมันดิบ Dubai ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐสะท้อนถึงการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องกอปรกับกับตัวเลขยอดคงค้างน้ำมันของสหรัฐในสัปดาห์ก่อนหน้าที่ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดไว้นั้นบ่งชี้ว่าความต้องการทางพลังงานอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะถัดไปเช่นกัน
  • ราคาทองเคลื่อนไหวค่อนข้างทรงตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ