รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 15 มกราคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 18, 2010 11:12 —กระทรวงการคลัง

Economic Indicators: This Week

รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือน ธ.ค.52 จัดเก็บได้สุทธิ 103.49 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 24.8 ล้านบาทหรือร้อยละ31.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.1 ส่งผลให้รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2553 เท่ากับ 348.2 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย66.9 พันล้านบาท ซึ่งผลการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมายในเดือนธ .ค5 .2 มีสาเหตุสำคัญจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรถยนต์ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 8.1 4.1 และ 3.4 พันล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้สุทธิของ 3 กรมจัดเก็บรายได้ในเดือน ธ.ค.52 เท่ากับ 117.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 25.1 ต่อปี โดยภาษีฐานรายได้และภาษีฐานบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 12.3 และ 9.9 ต่อปีตามลำดับ

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญในหมวด พืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวนาปี ในขณะที่หมวดไม้ยืนต้น ผลผลิตยังคงลดลงเล็กน้อยจากผลผลิตยางพาราเป็นสำคัญส่วนหมวดปศุสัตว์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากผลผลิตไข่ไก่ ในขณะที่ผลผลิตสุกรหดตัวชะลอลงเล็กน้อย ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.7 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี จากการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะราคาข้าวและราคายางพารา เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก เริ่มปรับตัวดีขึ้นในขณะที่ราคาสินค้าสำคัญอื่น เช่น มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมันเริ่มปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับต้นปีตามราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ของปี 52 ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรในไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 7.4 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -16.2 ต่อปี

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ธ.ค.52 ที่เดินทางเข้าประเทศมีจำนวน 1.6 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 41.1 ต่อปีนับเป็นจำนวนที่เดินทางเข้าประเทศสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 52 มีจำ นวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 4.2 ล้านคนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 26.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อปี โดยการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ ในปี 52 มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศจำนวนทั้งสิ้น 14.1 ล้านคน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 527 แสนล้านบาทคิดเป็นการหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -12.6 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและรายจ่ายตอหัวต่อวัน

ปริมาณจำหน่ายจักรยานยนต์ในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและราคาน้ำ มัน และ 2)สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากการที่อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 52 ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวมส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ปริมาณการจำหน่ายจักรยานยนต์กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี จากไตรมาสที่ 3 ที่หดตัวร้อยละ-12.9 ต่อปี

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ธ.ค.52 อยู่ที่ระดับ 70.4 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 69.1 และสูงสุดในรอบ 16เดือน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จากกระทรวงการคลังปรับเพิ่มตัวเลขการคาดการณ์ GDP ปี 53 จากระดับร้อยละ 3.0 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 3.5 ต่อปี 2) ความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เช่น การที่ครม .มีมติต่ออายุ 5 มาตรการเพื่อช่วยลดค่าครองชีพให้ประชาชนและการอนุมัติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 3) ราคาน้ำ มันในตลาดโลกปรับตัวลดลง และ 4) เม็ดเงินงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเริ่มหมุนเวียนในระบบ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้แก่ 1) สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ และ 2) ปัญหาโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกคำสั่งศาลให้ระงับชั่วคราว

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ธ.ค.52 อยู่ที่ 40,373 ล้านบาท จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 39,495 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ถือเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 2หลังจากหดตัวอย่างต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.51 เป็นต้นมา ตามรายได้ประชาชนโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยประชาชนในชุมชนเมืองรายได้เพิ่มขึ้นตามภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการจ้างงานที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ประชาชนในภาคชนบท รายได้ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.1 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันส่งผลให้ไตรมาส 4 ของปี 52 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส 3 ที่หดตัวร้อยละ -6.6 ต่อปี ซึ่งสะท้อนถึงภาคอสังหาริมทรัพย์และการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และมีทิศทางสอดคล้องกับพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลในเดือนพ.ย. 52 ที่หดตัวชะลอลงร้อยละ -8.0 ต่อปี ซึ่งหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -12.9 ต่อปี

การประชุม กนง.เมื่อวันที่ 13 ม.ค. 53 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี จากการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจว่าเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง แรงกดดันต่อเงินเฟ้อจากด้านอุปสงค์ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีต่อเนื่องแต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม กนง.ประเมินว่า ในปีนี้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากราคาน้ำมัน การยกเลิกมาตรการบรรเทาของรัฐ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในเดือน ธ .ค. 52 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 25.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.3 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการต่างมีเทคนิคในมีการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปี

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือน ธ .ค. 52 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ระดับ 107.0 จากระดับ 104.7 ในเดือน พ.ย.52 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นตามอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกที่เริ่มฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ความกังวลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการระงับโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ดัชนีฯ ไม่ปรับตัวสูงขึ้นถึงระดับ 110.0

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ