Global Economic Monitor (11 — 15 January) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 18, 2010 11:58 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

“การส่งออกของประเทศเศรษฐกิจหลักปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคการลงทุนและการจ้างงานยังไม่ฟื้นตัว”

จีน: รัฐบาลจีนใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อจากภาวะเศรษฐกิจและยอดสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
  • จีนเริ่มดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของสินเชื่อในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา โดยปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 เดือน และ 1 ปี และเพิ่ม Reserve Requirements Ratio จากร้อยละ 15.5 สำหรับธนาคารขนาดใหญ่ และร้อยละ 13.5 สำหรับธนาคารขนาดเล็ก เป็นร้อยละ 16 และร้อยละ 14 ตามลำดับ อีกทั้งดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบผ่านการขายพันธบัตรรัฐบาลอายุ 28 วัน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านหยวน (29,297 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อในภาคธนาคารของจีนในเดือน พ.ย. 52 ขยายตัวจากระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ (ก.ย. 51) ในระดับสูงที่ร้อยละ 33 หรือประมาณ 10 ล้านล้านหยวน (1.46 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป คือการดำเนินมาตรการด้านการเงินของจีนเพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อ ว่าจะนำไปสู่การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือไม่
  • ภาคการส่งออกของจีนในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 17.7 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 55.6 ต่อปี ยืนยันการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนทั้งจากอุปสงค์ภายในและภายนอกประเทศ
  • ราคาอสังหาริมทรัพย์ของจีนในเดือน ธ.ค. 52 เร่งตัวขึ้นสูงที่สุดในรอบ 18 เดือน โดยราคาบ้านและอาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี บ่งชี้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น
ญี่ปุ่น: การลงทุนภาคเอกชนยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว
  • คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของภาคเอกชนเดือน พ.ย. 52 ต่ำที่สุดในรอบปี โดยหดตัวที่ร้อยละ -20.5 ต่อปี และเมือเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -11.3 (%mom) บ่งชี้ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงไม่ฟื้นตัว และการลงทุนของภาครัฐยังคงเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนการลงทุนของญี่ปุ่น นอกเหนือจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อเนื่องในปี 2553 สิ่งที่ต้องจับตามองในเดือนนี้ คือการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณของญี่ปุ่นที่กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการของรัฐสภา ซึ่งคาดว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะอนุมัติงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 7.2 ล้านล้านเยนเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และบรรเทาปัญหาการว่างงานในประเทศ
เวเนซูเอลล่า: เวเนซูเอลล่าประกาศลดค่าเงินโบลิวาร์และใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคู่ (Dual Exchange Rate) เพื่อแก้ปัญหาขาดดุลการค้า และเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล
  • รัฐบาลเวเนซูเอลล่าประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน 2 อัตรา (Dual exchange rate) และลดค่าเงินโบลิวาร์ลง จากเดิมที่อยู่ที่ 2.15 โบลิวาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐ เป็น 2.6 โบลิวาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐหรือลดลงร้อยละ 21 สำหรับสินค้านำเข้าจำเป็น เช่น อาหาร ยา เครื่องจักร และ 4.3 โบลิวาร์ต่อดอลลาร์สหรัฐหรือลดลงร้อยละ 100 สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์ รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อลดการนำเข้าสินค้าที่ไม่จำเป็นและสนับสนุนการส่งออก ซึ่งจะส่งผลให้รายได้รัฐบาลจากภาษีศุลกากรและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นด้วย
  • แม้ว่าการปรับลดค่าเงินของเวเนซูเอลล่าจะทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำมันเพิ่มมากขึ้น และทำให้รัฐบาลมีรายได้เพื่อใช้ในกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น แต่ผลกระทบในเชิงลบคาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มสูงขึ้น จากในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 30
Next week indicators
             Date           Economic Indicator              Forecast*      Previous
          18-Jan-10      SG Dec Non-Oil Export (%yoy)          22.6           8.7
          19-Jan-10      JP Dec Consumer Confidence Index                    39.5
          20-Jan-10      US Dec Housing Starts (Mil.SAAR)      0.58         0.574
          20-Jan-10      US Dec Producer Price Index (%yoy)     4.7           2.4
          20-Jan-10      MY Nov Retail Sales (%yoy)                          15.8
          20-Jan-10      MY Dec Consumer Price Index (%yoy)                  -0.1
          20-Jan-10      TW Dec Export Order (%yoy)                          37.1
          20~22-Jan-10   CN Dec Consumer Price Index (%yoy)                   0.6
                         CN Dec Retail Sales (%yoy)                          15.8
          21-Jan-10      HK Dec Consumer Price Index (%yoy)                   0.5
          22-Jan-10      EZ Jan Flash Mfg PMI                                51.6

Note: * forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal

การส่งออกเดือน พ.ย. 52 ดีที่สุดในรอบปีโดยหดตัวที่ร้อยละ -2.5 ต่อปีจากการส่งออกไปยังจีนที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบปีเช่นกัน โดยหดตัวที่ร้อยละ -3.3 ต่อปี สำหรับภาคการจ้างงานพบว่า ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นโดยในไตรมาสที่ 4 ปี 52 มีจำนวนลดลงเพียง 2 แสนรายดีขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ที่ลดลงกว่า 6 แสนราย อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 4 ปี 52 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 10.0 ของกำลังแรงงาน สำหรับการบริโภคภายในประเทศมีสัญญาณชะลอลง โดยยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 หดตัวร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า

Next week - Dec Housing Starts (Mil.SAAR)

Dec Producer Price Index (%yoy)

Eurozone: mixed signal

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 52 หดตัวที่ร้อยละ -11.1 ต่อปีและเมือเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.6 (%mom)อย่างไรก็ตาม คาดว่าภาพรวมของไตรมาสสุดท้ายของปีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้นจากดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของยูโรโซน (Markit Mfg PMI) ในเดือน ธ.ค. 52 สูงที่สุดในรอบ 26 เดือนที่ระดับ 51.6 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันและฝรั่งเศส สำหรับภาคการจ้างงานยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยการจ้างงานในไตรมาสที่ 3 ปี 52 หดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปีและเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.5 (%qoq)แ ละการว่างงานเดือน พ.ย. 52 ที่หดตัวสูงที่สุดในรอบ...ที่ร้อยละ 10.0

Next Week - Jan Flash Mfg PMI

Japan: mixed signal

คำสั่งซื้อสินค้าคงทนของภาคเอกชนเดือน พ.ย. 52 ต่ำที่สุดในรอบปี โดยหดตัวที่ร้อยละ -20.5 ต่อปี และเมือเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -11.3 (%mom) บ่งชี้ทิศทางการลงทุนภาคเอกชนที่ยังคงไม่ฟื้นตัว และการลงทุนของภาครัฐยังคงเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนการลงทุนของญี่ปุ่น นอกเหนือจากการส่งออกที่ฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อเนื่องในปี 2553

Next week - Dec Consumer Confidence Index

China: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 17.7 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 55.6 ต่อปี ยืนยันการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนทั้งจากอุปสงค์ในประเทศและภาคการส่งออก อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนเริ่มดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ สืบเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของสินเชื่อในระดับสูงในช่วงที่ผ่านมา โดยปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ3 เดือน และ 1 ปี อีกทั้งปรับเพิ่ม Reserve requirements Ratioจากร้อยละ 15.5 สำหรับธนาคารขนาดใหญ่ และร้อยละ 13.5สำหรับธนาคารขนาดเล็ก เป็นร้อยละ 16 และร้อยละ 14 ตามลำดับ

Next Week - Dec Consumer Price Index (%yoy)

Dec Retail Sales (%yoy)

Australia: improving economic trend

อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 52 ปรับตัวลดลงต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงาน จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ทำให้คาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลียอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในไตรมาสแรกของปีนี้

Next Week - Jan Consumer Sentiment

Indonesia: mixed signal

อินโดนีเซียประกาศขายพันธบัตรรัฐบาล อายุ 10 ปี วงเงิน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีอัตราผลตอบแทนร้อยละ 6 เพื่อช่วยการขาดดุลการคลังของรัฐบาลที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1.6 ต่อ GDP ทั้งนี้การออกพันธบัตรดังกล่าวเป็นการบรรเทาภาระต้นทุนการคลังที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากสัญญาณเงินเฟ้อที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น

Next Week -

Singapore: improving economic trend

ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 52 หดตัวที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกหักยานยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.8 ต่อปีสะท้อนแนวโน้มที่ดีของการบริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีกรวมขยายตัวร้อยละ 1.2 (%mom) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7

Next Week - Dec Non-Oil Export

Phillippines: improving economic trend

มูลค่าการส่งออกเดือนพ.ย. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือนที่ร้อยที่ละ 5.1 ต่อปี เนื่องจากการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน

Next Week -

Malaysia: worsening economic trend

ยอดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน พ.ย. 52 หดตัวร้อยละ -8.1 ต่อปี มาอยู่ที่มูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เร่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -6.2 สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปี และภาคการส่งออกที่หดตัวที่ร้อยละ -3.3 จากก๊าซธรรมชาติเหลวซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซียซึ่งหดตัวอย่างมากในเดือน พ.ย. 52 ที่ร้อยละ -51.9 ต่อปี ส่งผลให้อัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 52 หดตัวที่ร้อยละ -3.6 ต่อปี

Next week - Dec Consumer Price Index

India: improving economic trend

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ย. 52 ขยายตัวในอัตราที่สูงสุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 11.7 ต่อปี สะท้อนการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของเศรษฐกิจอินเดีย อย่างไรก็ตามการขยายตัวดังกล่าวก็มาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วด้วยเช่นกัน

Next Week -

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ