1. เดือน พ.ย. 52 จานวนคาสั่งซื้อเครื่องจักรของญี่ปุ่นลดลงอย่างมาก
2. ญี่ปุ่นจะซื้อคาร์บอนเครดิตจานวน 200 พันล้านเยนภายในปี 2555
3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.9
-----------------------------------
Cabinet office รายงานว่าคาสั่งซื้อเครื่องจักรลดลงร้อยละ 11.3 ในเดือน พ.ย. 52 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง ผู้ประกอบการยังไม่ลงทุนใหม่มาก โดยเฉพาะการลงทุนในสินค้าประเภททุน
ญี่ปุ่นมีแผนจะซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกาลังพัฒนาจานวน 200 พันล้านเยนภายในปี 2555 เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรืองกระจกในประเทศตามผูกพันตามพิธีสารเกียวโต เพิ่มขึ้นจาก 100 พันล้านเยนที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปี 2548 ทาให้ต้องใช้งบประมาณเป็นจานวนมากในการซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกาลังพัฒนา เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเองตามเป้าหมายได้
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดนี้ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 25 ภายใน 2563 โดยการจัดสรรงบประมาณในการคาร์บอนเครดิตเป็นสิ่งที่สาคัญมากเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้
ภายใต้เป้าหมายเดิม ญี่ปุ่นต้องลดการปริมาณก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ6 เทียบกับปี 2533 ในระหว่าง 2551- 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหลือก่อนพิธีสารเกียวโตจะหมดอายุลงในปี 2555 ญี่ปุ่นจึงต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจานวน 1 ตันคาร์บอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเมื่อปี 2552 ญี่ปุ่นได้ซื้อจากประเทศยูเครน เช็คโกสโลวาเกีย ลัทเวีย เป็นต้น ทาให้บรรลุเป้าหมายร้อยละ 95 แล้ว โดยมีเงื่อนไขให้ประเทศต่างๆ ที่นาเงินไปใช้โครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ใช้ด้านเทคโนโลยี่จากบริษัทญี่ปุ่น
หากรัฐบาลสามารถดาเนินการนโยบายได้อย่างราบรื่นโดยมีความร่วมมือกับเอกชนในโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม จะทาให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อคาร์บอนเครดิตอาจจะลดลงเหลือ 200 พันล้านเยน หรือคิดเป็น 1500 เยน/หัว โดยจะใช้เงินจากบัญชีงบประมาณพิเศษสาหรับนโยบายพัฒนาพลังงานและบัญชีงบประมาณทั่วไป
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย.52 มีจานวน 1.1 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเซียปรับตัวดีขึ้น
การเกินดุลการค้าและบริการเพิ่มขึ้นเป็นจานวน 439.5 พันล้านเยน เทียบกับขาดดุล -142 พันล้านเยน เมื่อเดือน พ.ย. 51
มูลค่าการเกินดุลการค้ามีจานวน 490.6 พันล้านเยน ทั้งยอดการส่งออกและการนาเข้าลดลง แต่การนาเข้าลดลงน้อยกว่าการส่งออกทาให้ปรับตัวเป็นการเกินดุลการค้า
ขณะที่การเกินรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากลงทุนต่างประเทศลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็น 5 เดือนแล้ว เนื่องจากบริษัทลูกในต่างประเทศมีผลกาไรน้อยลง
ทางด้านดุลบัญชีการเงิน มีเงินทุนไหลออกไปลงทุนในต่างประเทศลดลงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนอย่างหลังลดลงอย่างมากจาก 5.30 ล้านล้านเยน เหลือเพียง 2.95 ล้านล้านเยน รายละเอียดตามตารางที่แนบ
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน 2552
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน
รายการ พฤศจิกายน 2552 พฤศจิกายน 2551 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 1,103.0 623.6 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (76.9) (-63.8) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 439.5 -142.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 490.6 -92.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-) (-) การส่งออก (Exports) 4,704.4 5,058.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-7.0) (-26.5) การนำเข้า (Imports) 4,213.8 5,150.2 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-18.2) (-13.8) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -51.2 -49.8 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 732.8 845.3 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -69.3 -79.7 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -1,179.9 -2,212.4 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -1,123.7 -2,186.9 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -464.4 -572.0 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) -2,958.8 -5,297.6 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 309.8 123.1 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) 1,989.6 3,559.7 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -56.2 -25.5 3. ยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -240.4 -2,579 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น
สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงโตเกียว
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th