Global Economic Monitor (18 - 22 January) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 25, 2010 11:57 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

“จีนและสหรัฐฯ เริ่มคุมเข้มเสถียรภาพในภาคการเงิน”

จีน: เศรษฐกิจของจีนไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี ขณะที่ความเสี่ยงเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
  • GDP ของจีนในไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี เนื่องจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวในระดับสูง ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 2551 ส่งผลให้ทั้งปี 52 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.6 ทำให้จีนต้องดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบ ด้วยการปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 เดือน และ 1 ปี อีกทั้งปรับเพิ่ม Reserve Requirements Ratio อีก 50 bps ทั้งนี้ ยอดสินเชื่อภาคธนาคารของจีนในเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวจากระดับก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ (ก.ย. 51) ในระดับสูงที่ร้อยละ 34.8 หรือประมาณ 10 ล้านล้านหยวน (1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ดังนั้น สิ่งที่ต้องจับตาในระยะต่อไป คือการดำเนินมาตรการด้านการเงินของจีนเพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อ ว่าจะนำไปสู่การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงหรือไม่
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี จากการขยายตัวของผลผลิตเพื่อส่งออก และเมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่าผลผลิตยานยนต์และรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 130.5 ต่อปี และร้อยละ 134.9 ต่อปี ตามลำดับ
  • การลงทุนในทรัพย์สินถาวรในเขตเมือง (Urban fixed asset investment) ทั้งปี 52 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 30.5 ต่อปีเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.5 ต่อปี ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.5 ต่อปี จากการบริโภคอาหาร เครื่องประดับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ก่อสร้างที่ขยายตัวเร่งขึ้น
สหรัฐ: ภาคอสังหาริมทรัพย์ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากตัวเลขอนุมัติก่อสร้างที่ขยายตัวสูงสุดในรอบ 14 เดือนขณะที่รัฐบาลเสนอให้จำกัดการเก็งกำไรของสถาบันการเงิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ภาคการเงิน
  • ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณดีขึ้นจากยอดขออนุมัติก่อสร้างบ้าน (Building Permits) เดือน ธ.ค. 52 ที่ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 10.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือคิดเป็นจำนวนบ้านทั้งสิ้น 653,000 หลังต่อปี บ่งชี้แนวโน้มการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลดหย่อนภาษีการซื้อบ้านและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับภาคการจ้างงานพบว่ายังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว โดยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ขอรับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 7,000 ราย
  • ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เสนอให้เพิ่มข้อบังคับเพื่อจำกัดการลงทุนของสถาบันการเงิน (Proprietary Trading) ในกองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Fund) และกองทุนเพื่อการลงทุนภาคเอกชน (Private Equity Fund) เพื่อจำกัดการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงของสถาบันการเงินโดยกล่าวว่าข้อเสนอดังกล่าวจะส่งเสริมให้ภาคการเงินของสหรัฐฯ มีความเข้มแข็งมากขึ้นและจะช่วยป้องกันวิกฤตการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          25-Jan-10   US Dec Existing Home Sales (Mil saar)      6.0           6.5
                      SG Dec Consumer Price Index (%yoy)                      -0.2
          26-Jan-10   JP Dec Exports (%yoy)                                   -6.2
                      JP Dec Imports (%yoy)                                  -16.8
                      PH Nov Imports (%yoy)                                  -16.8
                      HK Dec Imports (%yoy)                                    6.5
                      US Nov CaseShiller 20yy                                 -7.3
          27-Jan-10   AU Q4 Consumer Price Index (%yoy)                        1.3
          28-Jan-10   US Dec Durable Goods Orders (%mom)         1.5           0.2
                      JP Dec Unemployment rate (%)                             5.2
          29-Jan-10   JP Jan Mfg PMI                                          53.8
                      EZ Dec Unemployment rate (%)                            10.0
                      EZ Jan Inflation flash(%yoy)               1.1           0.9
                      JP Dec Industrial Output (%mom)                          2.6

Note: * forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal

ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณดีขึ้นจากยอดขออนุมัติก่อสร้างบ้าน(Building Permits) เดือน ธ.ค. 52 ที่ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 10.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือคิดเป็นจำนวนบ้านทั้งสิ้น 653,000 หลังต่อปี บ่งชี้แนวโน้มการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนหนึ่งเนื่องจากการลดหย่อนภาษีการซื้อบ้านและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำ สำหรับภาคการจ้างงานพบว่ายังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว โดยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ขอรับประโยชน์จากการว่างงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 7,000 ราย

Next week - Dec Existing Home Sales (mil saar)

Dec Durable Goods Orders (%mom)

Nov CaseShiller 20yy

China: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 10.7 ต่อปี เนื่องจากการบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวในระดับสูง ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 52 เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค.52 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 0.6 ทำให้จีนต้องดำเนินมาตรการด้านการเงินเพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบ ด้วยการปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 เดือน และ 1 ปี อีกทั้งปรับเพิ่ม Reserve requirements Ratio อีก 50 bps สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนในทรัพย์สินถาวรและยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.5 ต่อปีร้อยละ 30.5 (ytd) และร้อยละ 17.5 ต่อปี ตามลำดับ

Next Week -

Eurozone: mixed signal

ดัชนีคำสั่งซื้อ (เบื้องต้น) ในเดือน ม.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 53.6 ขยายตัวอยู่เหนือระดับ 50.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 52 โดยคำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 52.0 ขณะที่คำสั่งซื้อภาคบริการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 52.3 บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2553 สำหรับการส่งออกเดือน พ.ย. 52 ปรับตัวดีขึ้นโดยหดตัวในอัตราต่ำที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ -5.7 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าดีขึ้นเช่นกันโดยหดตัวที่ร้อยละ -14.5 ต่อปี

Next Week - Dec Unemployment rate (%) Jan Inflation flash (%yoy)

Japan: worsening economic trend

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค. 52 ลดลงมากที่สุดในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 37.6 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ลดลงของประชาชนทั้งในภาคการจ้างงานและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 7.4 ล้านล้านเยน (หรือประมาณ 82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้ประมาณการว่างบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวจะส่งผลให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.3

Next week - Dec Export-Import Dec CPI

Dec Industrial Output (prelim) Dec Unemployment

Jan Manufacturing PMI Jan BOJ rate

Singapore: mixed signal

ภาคการส่งออก (ไม่รวมน้ำมัน) ในเดือนธ.ค.52 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี โดยสาเหตุหลักมาจากฐานการคำนวณที่ต่ำกว่าปกติในปีก่อนหน้า และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 (%mom) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึงร้อยละ 19.8 (%mom) ส่งผลให้ทั้งปี 52 การส่งออก (ไม่รวมน้ำมัน) หดตัวที่ร้อยละ -10.6 ต่อปี

Next Week - Dec CPI

Dec Industrial Output

Malaysia: mixed signal

อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี เร่งขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 จากราคาอาหารและราคาบ้านและราคาสาธารณูปโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ โดยกระทรวงการคลังมาเลเซียคาดว่าในปี2553 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 ถึง 2.0 ต่อปี ทำให้คาดว่าในระยะอันใกล้ ธนาคารกลางมาเลเซียจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป

Next week - Jan Overnight Policy Rate

Taiwan: improving economic trend

คำสั่งซื้อสินค้าส่งออก (Export Orders) ในเดือนธ.ค.52 ขยายตัวที่ร้อยละ 52.6 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 37.1 ต่อปี จากการขยายตัวของคำสั่งซื้อจากจีนและฮ่องกงที่มีสัดส่วนคำสั่งซื้อที่ร้อยละ 27 จากคำสั่งซื้อทั้งหมด ที่ขยายตัวร้อยละ 92.6 ต่อปี ประกอบกับฐานการคำนวณที่ต่ำกว่าปกติในปีก่อนหน้า

Next Week - Dec. Industrial Output Dec. Leading Indicators

Australia: mixed signal

การส่งออกเดือน พ.ย. 52 หดตัวร้อยละ -33.3 ต่อปี ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -35.3 ต่อปี เนื่องการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในหมวดเหล็กและโลหะ ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 120.1 จากระดับ 113.8 ในเดือนก่อนหน้าสอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

Next Week - Q4 CPI

Hongkong: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนธ.ค. 52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี สะท้อนความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

Next Week - Dec Import

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ