Executive Summary
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ธ.ค. 52เบิกจ่ายได้จำนวน 172.2 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ธ.ค. 52 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -53.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -8.2 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -61.9 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 52 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 194.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 30.7 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี
- อัตราการใช้กำลังการผลิต เดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 61.8 ของกำลังการผลิต สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 60.6 ของกำลังการผลิต
- อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 52 ลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนคนเท่ากับ 3.9 แสนคน
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Jan: Headline Inflation (%YOY) 4.0 3.5
- เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาร ผักและผลไม้ และฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 18.6 บาท/ลิตร
Economic Indicators: This Week
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ธ.ค. 52 เบิกจ่ายได้จำนวน 172.2 พันล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี โดยเป็นผลจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำปีงบประมาณจำนวน 149.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.3ต่อปี และรายจ่ายลงทุนจำ นวน 37.6 พันล้านบาท ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 297.2 ต่อปี โดยการเบิกจ่ายที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายอุดหนุนให้กับกรมส่งเสริมการปกครองฯ จำนวน 30.6 พันล้านบาท ทั้งนี้การเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 451.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.6 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าที่ร้อยละ 94.0
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ธ.ค. 52 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -53.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -8.2 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -61.9 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 53 ขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน -98.8 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -76.3 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -175.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธ.ค. 53 มีจำนวน 170.3 พันล้านบาท ซึ่งการการขาดดังกล่าวสะท้อนถึงการทำนโยบายขาดดุลของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 52 สูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 194.7 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 30.7 ต่อปีต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยการขยายตัวนี้เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะ Hard Disk Drive ยานยนต์ น้ำตาล โลหะ และเคมีภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่เนน้การส่งออก สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์ของต่างประเทศที่เริ่มฟื้นตัว สอดคล้องกับการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัวในแทบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดใหม่และตลาดภูมิภาค ขณะเดียวกันการผลิตหมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดภายในประเทศ อาทิ การปั่นการทอ และอุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเช่นกัน ที่ร้อยละ 12.1 และ 25.5 ต่อปีทำให้ทั้งปี 52 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -7.2 ต่อปี
อัตราการใช้กำลังการผลิต เดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 61.8 ของกำลังการผลิต สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 60.6 ของกำลังการผลิต สะท้อนระดับการใช้กำลังการผลิตที่ปรับตัวใกล้เคียงกับระดับก่อนวิกฤตทำให้เฉลี่ยทั้งปี 52 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 56.3
อัตราการว่างงานเดือน พ.ย. 52 ลดลงต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนคนเท่ากับ 3.9 แสนคน โดยปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากการว่างงานของภาคเกษตรและภาคบริการลดลง ขณะที่ตัวเลขการจ้างงานเดือน พ.ย.52 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ต่อปี หรือคิดเป็นจำนวนคนเท่ากับ 9.7 แสนคน จากเดือนก่อนหน้า โดยการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมหดตัวลงร้อยละ -2.0 ต่อปี หรือคิดเป็นจำนวนคนที่ลดลง 1.1 แสนคน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
Economic Indicators: Next Week
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 หลังจากหดตัวติดต่อกันเป็นเวลานานในปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 18.6 บาท/ลิตร ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 (%mom) โดยมีปัจจัยหลักมาจากการที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก ประกอบกับดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวสาร ผัก และผลไม้
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th