Global Financial Monitor (1 — 5 February) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 9, 2010 10:57 —กระทรวงการคลัง

Highlights:
  • กระแส Risk Aversion จากความเสี่ยงทางด้านหนี้ภาคการคลังในยุโรป และตัวเลขเศรษฐกิจภาคบริการของสหรัฐที่ต่ำกว่าที่คาดยังคงส่งผลให้ตลาดลดการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดโภคภัณฑ์ ในขณะเดียวกันได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าเงินเยนซึ่งถูกมองว่าเป็นสกุลเงินที่มีความปลอดภัยแข็งค่าขึ้น
  • ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากตลาดคาดว่า ธปท.อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะอันใกล้นี้ ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงจากความต้องการที่ยังมีมากอย่างต่อเนื่อง
Foreign Exchange Market:
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินสกุลอ้างอิงจากกระแส Risk Aversion ที่ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินที่ปลอดภัย (Safe Haven) ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการถือที่ตลาดมีความกังวลกับปญหาหนี้สินในยุโรปที่เริ่มลุกลามมากขึ้นและในขณะเดียวกันได้ส่งผลให้ค่าเงินยูโรมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีค่าเงินบาทซึ่งถัวเฉลี่ยกับเงินสกุลของคู่ค้าหลัก (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ +0.16 จากสัปดาห์ก่อนหน้า (บาทแข็งค่าขึ้น)เนื่องจากค่าเงินคู่ค้าอาทิ ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงค์โปร์ และวอนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมามากกว่าบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ ณ วันที่ 29 ม.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 142.40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นปรับตัวเพิ่มลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 1.00 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market:
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้าลงมาอยู่ที่ระดับ 691 จุด สอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐและญี่ปุนที่ปรับตัวลดลงแรงโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์เช่นกันเนื่องจากความกังวลต่อการฟนตัวทางเศรษฐกิจหลังจากที่ปญหาทางด้านหนี้ภาคการคลังของกรีซ และสเปนที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น อีกทั้งตัวเลขภาคการบริการของสหรัฐ (Nonmanufacturing PMI) ที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดไว้
Money Market:
  • อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทย (Thai baht fixing) ในสัปดาห์นี้ค่อนข้างทรงตัวโดยปรับตัวลดลงมาเล็กน้อย ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของสหรัฐฯ (US LIBOR 3 เดือน)ระยะเวลา 3 เดือนปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยหลังจากที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปในช่วงต้นสัปดาห์
Bond Market:
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแรงขายในกลุ่ม Interbank หลังจากที่ตลาดกังวลว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาอันใกล้นี้ ในขณะที่ผลตอบแทนระยาวปรับตัวลดลงเนื่องจากยังคงมีความต้องการถือพันธบัตรระยะยาวโดยเฉพาะในระยะ 5 ปีขึ้นไปเพิ่มมากขึ้น
Commodity Market:
  • ราคาน้ำมันดิบ Dubai ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์หลังจากที่ตัวเลขน้ำมันดิบคงค้างประจำสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 2.32 ล้านบาร์เรล ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปสะท้อนถึงความเสี่ยงของการฟนตัวทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป
  • ราคาทองปรับตัวลดลงโดยเฉพาะในช่วงปลายสัปดาห์เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ในช่วงดังกล่าวมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ