Global Economic Monitor (1 — 5 February) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 9, 2010 11:19 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

"อุตสาหกรรมทั่วโลกส่งสัญญาณฟนตัวชัดเจนจากยอดคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น"

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager Index: Mfg PMI) ของสหรัฐฯ ยุโรปและจีน ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่กล่าวมาข้างต้นยังคงมีแนวโน้มขยายตัวที่ดีในไตรมาสแรกของปี โดยดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 58.4 สำหรับดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของยุโรป (Markit Mfg PMI) ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ระดับ 52.4 และดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน (NBS PMI) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 มาอยู่ที่ระดับ 55.8 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ยุโรปและจีนดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกของเอเชียในระยะต่อไป
สหรัฐ: GDP สหรัฐฯ ไตรมาสที่ 4 ปี 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 ปี จากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ร้อยละ 5.7 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังเป็นสำคัญ ในขณะที่การบริโภคและการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 18.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized) ตามลำดับ ทั้งนี้ หากไม่รวมการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized)
  • สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 53 พบว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ ที่ผลิตในประเทศในเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 7.9 ล้านคัน ขณะที่ยอดจำหน่ายบ้าน (Pending Home Sales) ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ทั้งนี้ สัญญาณการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศจะใช้งบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลกว่า 3.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณร้อยละ 8.3 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2554 ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ 2553 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศ
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          08-Feb-10     TW Jan Export (%yoy)                                   46.9
          08-Feb-10     TW Jan Import (%yoy)                                   56.2
          09-Feb-10     US Jan Consumer Confidence Index                       52.9
          10-Feb-10     PH Dec Export (%yoy)                                    5.1
          10-Feb-10     US Dec Export (%yoy)                                   -2.5
          10-Feb-10     US Dec Import (%yoy)                                   -3.3
          11-Feb-10     US Jan Retail sales (%mom)                             -0.3
          11-Feb-10     KR Feb Policy rate                                      2.0
          12-Feb-10     JP Jan Consumer Confidence Index                       37.6

Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal

GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2552 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 ปีที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี (%qoq annualized) เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนภายในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณสินค้าคงคลัง ขณะที่ ในขณะที่การบริโภคและการส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 และร้อยละ 18.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized) ตามลำดับทั้งนี้ หากไม่รวมการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq annualized) สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 53 พบว่า ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 58.4 จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและราคาสินค้า และยอดจำหน่ายบ้าน (Pending Home Sales) ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ ที่ผลิตในประเทศในเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 7.9 ล้านคัน บ่งชี้การเติบโต ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯยังคงเปราะบาง

Next week - Jan Retail Sales

Dec Export-Import

Japan: mixed signal

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี จากการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมด ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 31.2 สำหรับการบริโภคภายในประเทศกลับมีสัญญาณชะลอลง โดยยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 หดตัวมากที่สุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี หรือหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.2 (%mom) เนื่องจากการลดลงของยอดจำหน่ายรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ภาคการจ้างงานดีขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 52 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 5.2

Next week - Jan Consumer Confidence Index

Eurozone: mixed signal

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit Mfg PMI) ของยุโรป ในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ระดับ 52.4 จากการฟื้นตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศสและเนเธอแลนด์ ขณะที่ ผลผลิตอุตสาหกรรมของสเปน กรีซและไอร์แลนด์ ปรับตัวลดลง

Next Week -

China: improving economic trend

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีนในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวอยู่เหนือระดับ 50.0 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 มาอยู่ที่ระดับ 55.8 แม้จะลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีนที่สำรวจโดย HSBC (HSBC PMI) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.4 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป

Next Week -

Singapore: improving economic trend

ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 53 ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน โดยอยู่ระดับ 50.6 จากคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งซื้อสินค้าส่งออก และการผลิตลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าอย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังอยู่เหนือระดับ 50.0 บ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม

Next Week -

Korea: mixed signal

การส่งออกในเดือน ม.ค. 53 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 47.1 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 32.8 ต่อปี จากการส่งออกไปยังจีนที่ชะลอลงและเมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่า การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง ขณะที่การส่งออกยานยนต์เพิ่มสูงขึ้น สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 26.7 ต่อปี จากการนำเข้าเชื้อเพลิง ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนม.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 33.9 ต่อปี จากการผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับเสถียรภาพภายในประเทศอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 9 เดือนที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี จากราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น ในเดือน ม.ค. 53 การฟื้นตัวของจาก 3 เดือนสุดท้ายของปีก่อนหน้า

Next Week - Jan Unemployment Rate

Indonesia: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปีที่ร้อยละ 49.8 ต่อปี จากการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบปีที่ร้อยละ 33.4 ต่อปี

Next Week -

Hong Kong: improving economic trend
ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี จากการขยายตัวที่สูงขึ้นของยอดขายสินค้าคงทนโดยเฉพาะรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเป็นสำคัญ บ่งชี้การขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ

Next Week -

Australia: improving economic trend

ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ก.พ. 53 ที่ระดับร้อยละ 3.75 ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เนื่องจากต้องการที่จะประเมินผลของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมาในขณะที่ภาคการส่งออกเดือน ธ.ค. 52 ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยหดตัวที่ร้อยละ -21.7 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อหน้าที่หดตัวร้อยละ -33.3 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อน

Next Week - Jan Unemployment

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ