รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 1 — 5 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 9, 2010 11:28 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 52 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,969.8 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.6 ของ GDP
  • สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือนธ.ค. 52 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศ ในเดือนธ.ค.52 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.4 และ 23.0 ต่อปี ตามลำดับ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค. 52 เกินดุลที่ 758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเกินดุลบริการ นำส่งรายได้และเงินโอนเป็นหลัก
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี จากร้อยละ 3.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี

Indicators next week

Indicators                      Forecast       Previous
Jan: API (%YOY)                   2.0             0.7
  • เนื่องจากผลผลิตสำคัญขยายตัว ได้แก่ ยางพารา อ้อยและปาล์มน้ำ มัน จากราคาขยายตัวในระดับจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตข้าวและมันสำปะหลัง คาดว่าผลผลิตยังคงลดลงต่อเนื่องเนื่องจากประสบปัญหาศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่เพาะปลูก
Jan: Motorcycle Sales (%YOY)     22.0            24.0
  • เนื่องจากรายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว ตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและราคาน้ำมัน อีกทั้งสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ

Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 52 มีจำ นวนทั้งสิ้น 3,969.8 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 23.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 45.6 ของ GDP สาเหตุของการลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากการลดลงของหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 13.5 พันล้านบาท จากการไถ่ถอนพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐค้ำประกัน 8.2 พันล้านบาท และหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 4.4 พันล้านบาท ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 2.8 พันล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐไม่มีหนี้คงค้าง

สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี เร่งขึ้นตามการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินเชื่อภาคครัวเรือนและสินเชื่อภาคธุรกิจ ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวชะลอลง โดยเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี ชะลอลง เล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี เนื่องจากผู้ฝากเริ่มหันไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝาก

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศในเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.4 และ 23.0 ต่อปีตามลำดับ ทำให้ในไตรมาส 4 ของปี 52 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กขยายตัวร้อยละ 9.6 และ 22.9 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส 3 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 และ 1.0 ต่อปี ตามลำดับ โดย สาเหตุสำ คัญมาจากฐานที่ต่ำ ในปีก่อนหน้า บวกกับสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะการก่อสร้าง ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 และ 65.6 ต่อปี ตามลำดับ โดยทั้งปี 52 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็ก หดตัวร้อยละ -2.4 และ -19.3 ต่อปี ตามลำดับ

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค. 52 เกินดุลที่ 758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเกินดุลบริการนำ ส่งรายได้และเงินโอนเป็นหลัก ในขณะที่ดุลการค้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงินของไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 52 เกินดุลในระดับสูง กลับปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบปีจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าการนำเข้า โดยเฉพาะการนำเข้าทองคำซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกเป็นครั้งแรกส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลเป็นครั้งแรกในรอบปี อย่างไรก็ตาม ดุลบริการได้ปรับตัวดีขึ้นมามากในเดือน ธ.ค.52 จากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดทั้งปี 52 เกินดุลที่ 20,291 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สาเหตุสำคัญจาก1)ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งถูกนำเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก 2) ดัชนีค่าไฟฟ้า น้ำระปา ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 เนื่องจากการปรับลดมาตรการช่วยค่าครองชีพ 5 มาตรการ 6 เดือนประเภทน้ำ ประปา ทำ ให้ประชาชนรับภาระเพิ่มขึ้น 3) ราคาผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เนื่องจากผลผลิต เช่น ผักกาด แตงกวา คะน้าออกสู่ตลาดน้อยลง แต่หากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือน นี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 (%mom) ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานเดือนม.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปีซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่องถึง 13 เดือนติดต่อกัน ทั้งนี้ การที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวเป็นบวกสะท้อนถึง ทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน และความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทั้งนี้ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 53 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาจากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตเหล็กรูปพรรณ ท่อเหล็ก เป็นต้น ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี เป็นสำคัญ

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนม.ค.53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ตามการผลิตที่เพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ยางพารา อ้อย และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาขยายตัวในระดับจูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตข้าว และมันสำปะหลัง คาดว่าผลผลิตยังคงลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากประสบปัญหาเพลี้ยน้ำตาลกระโดดและเพลี้ยแป้งระบาด ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่เพาะปลูก

ปริมาณจำหน่ายจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 22.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่แล้ว เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและ 2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากการที่อัตราการว่างงานในเดือนพ.ย. 52 ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ