Global Economic Monitor (8 — 12 February) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 15, 2010 12:30 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

“การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบาง แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานในสหรัฐฯ จะดีขึ้นและสหภาพยุโรปมีแผนจะให้ความช่วยเหลือกรีซ”

ยุโรป: ผู้นำประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปแถลงจะเข้าช่วยเหลือปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซ
  • แม้ว่าการประชุมหารือของกลุ่มผู้นำประเทศยุโรปเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กรีซเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 53 ที่ผ่านมาจะยังไม่มีแผนการให้ความช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้นำประเทศยุโรปเห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องยื่นมือช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของยูโรโซนและค่าเงินยูโรโดยรวม เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลักในสหภาพยุโรป เช่น เยอรมันและฝรั่งเศสอาจเข้าช่วยเหลือกรีซผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล (Bilateral Aid)
  • โดยกรีซได้ยืนยันในการประชุมผู้นำประเทศยุโรปว่า จะลดการขาดดุลงบประมาณลงร้อยละ 4 ในปีนี้ และจะลดระดับการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ภายในกรอบร้อยละ 3 ของ GDP ภายในปี 2555 ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมากรีซประสบภาวะขาดดุลการคลังสูงถึงกว่าร้อยละ 12.7 ของ GDP ซึ่งสูงเกินกว่าข้อจำกัดของสหภาพยุโรปถึง 4 เท่า
สหรัฐ: เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง ขณะที่ธนาคารกลางส่งสัญญาณจะดูดซับสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
  • อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 53 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยมาอยู่ที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ส่งสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการจ้างงาน โดยพบว่าภาคการผลิตและภาคค้าปลีกเริ่มมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ พบว่าจำนวนผู้ทำงาน parttime ลดลงซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าผู้ว่าจ้างเริ่มจ้างงานเต็มเวลา (Full-time job) มากขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payrolls) ในเดือน ม.ค. 53 ลดลง 20,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า
  • ดุลการค้าเดือน ธ.ค. 52 ขาดดุล 40.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกที่หดตัวร้อยละ 15 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าที่ขยายตัวกว่าร้อยละ 23.3 ต่อปี บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงฟื้นตัวแบบเปราะบางทั้งในภาคส่งออกและจ้างงานทำให้คาดว่าสหรัฐฯอาจปรับลด GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ลง จากที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.7 (% annualized rate)
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงว่าจะเริ่มใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวเพื่อดูดซับสภาพคล่องในภาคการเงินเพิ่มขึ้น ด้วยการปรับเพิ่มผลตอบแทนเงินสำรองส่วนเกิน (excess reserve) ของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับธนาคารกลาง ซึ่งอาจจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การส่งสัญญาณจะดูดซับสภาพคล่องเพิ่มขึ้นจากนโยบายการเงินแบบตึงตัว ขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงเปราะบาง อาจส่งผลกระทบต่อแผนการลงทุนของภาคเอกชนในอนาคต จากต้นทุนของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นและอาจทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐฯชะลอตัวลง
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          15-Feb-10       JP Q4 GDP (%qoq)                       0.9            0.3
          17-Feb-10       US Jan Housing Starts (Mil SAAR.)      0.6            0.6
          18-Feb-10       EZ Feb Consumer Confidence Index                    -15.8
          18-Feb-10       JP Feb Policy rate                     0.1            0.1
          19-Feb-10       US Jan Consumer Price Index (%yoy)     2.8            2.7
          19-Feb-10       SG Q4 GDP (%yoy)                                      0.6

Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal
  • อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 53 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยมาอยู่ที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ส่งสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการจ้างงาน โดยพบว่าภาคการผลิตและภาคค้าปลีกเริ่มมีการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร(Non-farm payrolls) ในเดือน ม.ค. 53 ลดลง 20,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้าเดือน ธ.ค. 52 ขาดดุล 40.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการส่งออกมีมูลค่าลดลงเท่ากับ 1.55 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือหดตัวร้อยละ 15 ต่อปีและการนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.93 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัวร้อยละ 23.3 ต่อปีบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงฟื้นตัวแบบเปราะบาง

Next week - Jan Housing Starts

Jan Consumer Price Index

Japan: mixed signal
  • นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 จะขยายตัวสูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ร้อยละ 0.9-1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (% qoq) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 3.6-4.1 (% annualized) จากการฟื้นตัวของภาคส่งออก ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายภาคการลงทุน ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญของการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของ GDP

Next week - GDP Q4/2009 Feb Policy rate

Eurozone: mixed signal
  • กลุ่มผู้นำประเทศยุโรปเห็นพ้องต้องกันว่า จะต้องยื่นมือช่วยเหลือทางการเงินกับกรีซ เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจของยูโรโซนและค่าเงินยูโรโดยรวม เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆในสหภาพยุโรป ทั้งนี้คาดว่าประเทศเศรษฐกิจหลักในสหภาพยุโรป เช่น เยอรมันและฝรั่งเศสอาจเข้าช่วยเหลือกรีซผ่านความร่วมมือระหว่างรัฐบาล (Bilateral Aid) โดยกรีซได้ยืนยันในการประชุมผู้นำประเทศยุโรปว่า จะลดการขาดดุลงบประมาณลงร้อยละ 4 ในปีนี้ และจะลดระดับการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ภายในกรอบร้อยละ 3 ของ GDP ภายในปี 2555

Next Week - Feb Consumer Confidence Index

China: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 21 ต่อปี จากความต้องการสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ที่ขยายตัวตัวร้อยละ 17.7 และ ร้อยละ 8.4 เป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 85.5 ต่อปี จากการนำเข้าสินค้าของยุโรป ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่ขยายตัวร้อยละ 46.5 ร้อยละ 75.8 และ ร้อยละ 109 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน

Next Week -

Indonesia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.21 ต่อปี จากการส่งออกที่ขยายตัวกว่าร้อยละ 49.8 ต่อปี นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐซึ่งคิดเป็นร้อยละ 17 ของ GDP ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของอินโดนีเซียส่งผลให้ทั้งปี 2552 เศรษฐกิจของอินโดนีเซียขยายตัวถึงร้อยละ 4.5 ต่อปี

Next Week -

Taiwan: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 75.8 ต่อปี สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการขยายตัวการส่งออกไปยังจีนซึ่งปรับสูงขึ้นร้อยละ 91.2 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 114.7 ต่อปี สูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากการนำเข้าของสินแร่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ การขยายตัวของการนำเข้าที่เร่งขึ้นกว่าการส่งออกบ่งชี้ความต้องการภายในที่สูงขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นปจั จัยที่อาจส่งผลให้ภาคการผลิตและการส่งออกขยายตัวสูงขึ้นในอนาคต

Next Week -

Philippines: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน ธ.ค. 52 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบเกือบ 2 ปีที่ร้อยละ 23.6 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ประกอบกับการส่งออกไปยังสหรัฐฯและญี่ปุ่นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่า การส่งออกอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 41 ต่อปี ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 57 ของการส่งออกทั้งหมด

Next Week -

Vietnam: worsening economic trend
  • ธนาคารกลางเวียดนามประกาศปรับลดค่าเงินดองเป็นครั้งทื่ 2 ในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ 3.4 ซึ่งได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการควบคุมความต้องการเงินสกุลต่างประเทศและบรรเทาปัญหาดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก อันจะเป็นการสนับสนุนเสถียรภาพภายในประเทศ

Next Week -

Australia: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน ม.ค.53 ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและอยู่ระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 11 เดือนที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม

Next Week -

Korea: worsening economic trend
  • อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 53 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 10 ปีมาอยู่ที่ร้อยละ 4.8 แม้ว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค.53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 33.9 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ยังคงไม่ฟื้นตัวเต็มที่

Next Week -

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ