รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 8 - 12 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 16, 2010 11:31 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. การซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศอยู่ในแผนการลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายลงร้อยละ 25 ของรัฐบาลญี่ปุ่น

2. สถานะหนี้สูงกว่ารายได้จากการเก็บภาษีของญี่ปุ่นอาจเป็นปัญหาเรื้อรังของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

3. จานวนหนี้สาธารณะญี่ปุ่นเพิ่มถึง 871 ล้านล้านเยน

4. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประจำปี 2552 ลดลงร้อยละ 18.9

-----------------------------------

1. การซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศอยู่ในแผนการลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายลงร้อยละ 25 ของรัฐบาลญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาย Hatoyama ได้ประกาศแผนการลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2533 ภายในปี 2563 โดยจะเน้นไปที่จำนวนการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศ โดยให้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือลดร้อยละ 15 ร้อยละ 20 และร้อยละ 25 ซึ่งจะต้องมีการปรับความเหมาะสมต่อไป และคาดว่าการจัดแบ่งภาระให้แก่ผู้ประกอบการและภาคครัวเรือนนั้นจะเป็นอุปสรรคอย่างมากในการจัดทำแผนดังกล่าว โดยรัฐบาลจะจัดประชุมระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องและกำหนดเป้าหมายการลดภายในประเทศที่ชัดเจนขึ้นในเดือนมีนาคม 2553 เพื่อคำนวนว่าจะต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนเท่าไหร่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดร้อยละ 25 เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ดำเนินโครงการประหยัดพลังงานมาเป็นเวลานานทำให้ช่องทางการลดก๊าซเรือนกระจกนั้นมีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจอื่นๆ การซื้อคาร์บอนเครดิตจากต่างประเทศที่มีราคาถูกนั้นจึงเป็นทางเลือกที่น่าจะดีที่สุดสาหรับญี่ปุ่น

2. สถานะหนี้สูงกว่ารายได้จากการเก็บภาษีของญี่ปุ่นอาจเป็นปัญหาเรื้อรังของเศรษฐกิจญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 กระทรวงการคลังญี่ปุ่นได้เปิดเผยรายละเอียดเอกสารประกอบการหารือจัดทำงบประมาณประจำปี 2553 ที่นำเสนอต่อสภาว่า สถานะหนี้สูงกว่ารายได้การเก็บภาษีของญี่ปุ่นนั้นมีแนวโน้มจะยืดเยื้อเป็นระยะยาว หากไม่เริ่มนโยบายลดค่าใช้จ่ายหรือเพิ่มอัตราภาษีขึ้น โดยจากการคำนวนในปี 2556 รัฐบาลญี่ปุ่นจะมีรายได้จากการเก็บภาษีประมาณ 40.7 ล้านล้านเยนในขณะที่ ยอดการออกพันธบัตรรัฐบาลจะมีถึงประมาณ 55.3 ล้านล้านเยน ดังนั้นการจัดทำนโยบายด้านการคลังระยะกลางที่จะเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2553 นี้รัฐบาลจะต้องนาประเด็นนี้ไปพิจารณาด้วย ภายหลังจากการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมประจาปี 2552 ปรากฎว่ายอดการออกพันธบัตรรัฐบาลได้สูงเกินกว่ารายได้การเก็บภาษีเป็นครั้งแรกในรอบ 63 ปีนับตั้งแต่หลังช่วงสงครามโลกในปี 2489 ดังนั้นหากรัฐบาลไม่พิจารณาโครงสร้างรายได้และรายรับใหม่ ก็อาจจะส่งผลให้สถานะหนี้สูงกว่ารายได้การเก็บภาษีนั้นยืดเยื้อไปเรื่อยจนทาให้ยากต่อการแก้ไขได้

3. จำนวนหนี้สาธารณะญี่ปุ่นเพิ่มถึง 871 ล้านล้านเยน

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จานวนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธ.ค.52 มีจานวน 871.51 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้น 24.82 ล้านล้านเยน จากสิ้นเดือน ธ.ค.51 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีภาระหนี้ต่อหัวประชากรรายละจานวน 683 ล้านเยน คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อไป โดยคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มถึงประมาณ 900 ล้านล้านเยน ณ สิ้นเดือนมี.ค.53 อย่างแน่นอน

4. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประจำปี 2552 ลดลงร้อยละ 18.9

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดประจำปี 2552 มีจานวน 13.278 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งติดต่อกัน 2 ปีแล้ว เนื่องจากรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ได้รับจากลงทุนต่างประเทศลดลงอย่างมาก จากวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะที่การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค.2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 452.8 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้าการเกินดุลการค้าและบริการเพิ่มขึ้นเป็นจานวน 2.119 ล้านล้านเยนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

มูลค่าการเกินดุลการค้ามีจานวน 4.611 ล้านล้านเยน ส่วนยอดการส่งออกและการนำเข้าลดลงร้อยละ 34.3 และ 36.2 ตามลาดับ ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2529

นอกจากนี้ การลงทุนในต่างประเทศในปี 2552 ก็ลดลงอย่างมาก ทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

                       ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ ประจำปี 2552
                               (Balance of Payments)
                                                                         หน่วย: พันล้านเยน
                    รายการ                                       ปี52             ปี51
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance)                     13,278.2        16,379.8
   (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                    (-18.9)         (-33.9)
  1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance)               2,119.6         1,889.9
      (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                  (12.2)         (-80.8)
      1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance)                            4,061.1         4,027.8
      (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                   (0.8)         (-67.3)
    การส่งออก (Exports)                                        50,840.3        77,334.9
      (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                 (-34.3)          (-3.0)
    การนาเข้า (Imports)                                        46,779.1        73,307.1
      (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                 (-36.2)           (8.8)
      1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance)                        -1,941.5        -2,137.9
  1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income)                         12,322.9        15,841.5
  1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers)                         -1,164.3        -1,351.5
2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance)    -12,732.3       -18,389.5
  2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance)                -12,267.0       -17,831.2
        การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)                     -5,914.2       -10,707.4
        การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)              -22,338.2       -29,188.9
        การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives)    987.2         2,456.2
        การลงทุนอื่นๆ (Other investments)                        12,998.1        19,608.9
  2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance)                         -465.3          -558.3
3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets)   -2,526.5        -2,579.0
ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ประจำกรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ