รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 — 19 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 22, 2010 11:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือน ม.ค.53 จัดเก็บได้สุทธิ 110.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 17.8 พันล้านบาทหรือร้อยละ 19.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.1
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ม.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 150.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.0 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -39.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -5.6 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -44.6 พันล้านบาท
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 115.4 ปรับตัวสูงขึ้นเกินระดับ 100 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 113.6
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ เดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.8 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวดีที่ร้อยละ 44.8 ต่อปี

Indicators next week

Indicators                          Forecast           Previous
Jan: Tourist Arrival (%yoy)          30.0                41.1
  • คาดว่าจะเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงในกลุ่มประเทศเอเชีย (มีสัดส่วนร้อยละ 56.7 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ) เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน
Jan: MPI                             30.0                30.7
  • เนื่องจากยอดคำ สั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว
Jan: Cement Sales                    10.0                 6.4
Jan: Iron Sales                      15.0                23.0
  • เนื่องจากการฟื้นตัวของการของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น
Economic Indicators: This Week

รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือน ม.ค.53 จัดเก็บได้สุทธิ 110.1 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 17.8 พันล้านบาทหรือร้อยละ 19.3 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.1 ส่งผลให้รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 เท่ากับ 458.9 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 85.3 พันล้านบาท ซึ่งผลการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมายในเดือนม.ค. 53 มีสาเหตุสำคัญจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และรถยนต์ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 7.8 3.4 และ 3.0 พันล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้สุทธิของ 3 กรมจัดเก็บรายได้ในเดือน ม.ค.53 เท่ากับ 122.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.6 ต่อปี โดยภาษีฐานรายได้หดตัวร้อยละ -0.3 ต่อปี และภาษีฐานบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ต่อปี ตามลำดับ

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ม.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน150.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.0 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำปีงบประมาณจำนวน 134.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -24.7 ต่อปี ซึ่งสืบเนื่องมาจากรายจ่ายลงทุนจำนวน 5.6 พันล้านบาท หดตัวสูงถึงร้อยละ -89.1 ต่อปี เนื่องจากฐานที่สูงในเดือน ม.ค.52 ที่มีการเบิกจ่ายจำนวน 52.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำ นวน 601.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าที่ร้อยละ 94.0 นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง2555 ณ วันที่ 29 ม.ค. 53สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 43.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 12.5 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ม.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -39.0 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -5.6 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -44.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 ขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน -137.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -82.5 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -219.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณสิ้นเดือน ม.ค. 53 มีจำนวน 164.7 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงการทำนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ) ในเดือนม.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 41,301 ล้านบาท จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ40,276 ล้านบาท หรือขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ13.6 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 ต่อปี ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนการบริโภคในประเทศ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บจากมูลค่าการนำเข้าสินค้า ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 และ 25.4 ต่อปี ตามลำดับโดยได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน สะท้อนได้จากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือน 3 และอัตราการว่างงานลดลง ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 24.5 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.7 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคเอกชนมที่มีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนแรกหลังจากหดตัวต่อเนื่อง 13 เดือนติดต่อกัน

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค.53 อยู่ที่ระดับ 115.4 ปรับตัวสูงขึ้นเกินระดับ 100 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 113.6 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านยอดขายรวมปริมาณการผลิตต้นทุนประกอบการและผลประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่องค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวมลดลงอันเป็นผลจากภาวะการณ์บริโภคในประเทศเริ่มทรงตัว ในขณะที่การส่งออกยังขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการได้เสนอแนะให้ภาครัฐแสดงจุดยืนในปัญหามาบตาพุดสร้างความสมานฉันท์ทางการเมือง และปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เริ่มส่งผลมากขึ้น ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือนม.ค. 53 อยู่ที่ 111.0 ปรับตัวลดลงจากเดือน ธ.ค.52 ที่อยู่ในระดับ 111.5 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่ายอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวม และปริมาณการผลิต จะปรับลดลงในอนาคต

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ม.ค 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องที่ร้อยละ 37.2 ต่อปี (ถือเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน) จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 24.4 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงกลางปีที่ผ่านมา เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและราคาน้ำมัน โดยในเดือน ม.ค.53 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันเช่นกัน และ 2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากการที่อัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค. 52 ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม (และถือได้ว่ากลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่อัตราการว่างงานที่เคยแตะระดับสูงสุดที่ร้อยละ 2.4 ของกำลังแรงงานรวม ในเดือน ม.ค.52)

มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ เดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.8 ต่อปี ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน แต่หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวดีที่ร้อยละ 44.8 ต่อปีหรือขยายตัวร้อยละร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยดุลการค้าเกินดุลที่ 0.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อนึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแล้ว

Economic Indicators: Next Week

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ม.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องแต่เป็นไปในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยคาดว่าจะมีจำนวน 1.6 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ30.0 ต่อปี โดยคาดว่าจะเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงในกลุ่มประเทศเอเชีย ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 56.7 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนม.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับสูงที่ร้อยละ 30.0 ต่อปี เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศในเดือนม.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.0 และ 15.0 ต่อปี ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของการของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ