Global Economic Monitor (15 - 19 February) 2010

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 22, 2010 14:14 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

"เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณขยายตัวในไตรมาสแรก ขณะที่เศรษฐกิจของยูโรโซนและญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง"

สหรัฐ: ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (Discount rate) เพื่อให้สถาบันการเงินพึ่งพาตลาดเงินมากขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจมีสัญญาณขยายตัวในไตรมาสแรกของปี
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย Discount rate อีก 25 bsp มาอยู่ที่ร้อยละ 0.75 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 ก.พ. 53 ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯให้เหตุผลว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อให้สถาบันการเงินพึ่งพาตลาดเงินมากขึ้นแทนที่จะกู้ยืมจากธนาคารกลางดังเช่นในช่วงที่ผ่านมา
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณขยายตัวในไตรมาสแรกของปี 53 จากอุปสงค์ภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจของการบริโภคภาคเอกชนจากยอดค้าปลีกเดือนม.ค. 53 ปรับเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ภาคการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นจากยอดการสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) เดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือคิดเป็นจำนวนบ้าน 5.91 แสนหลังต่อปี สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานรวม
GDP Q4 ปี 52 ของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังคงขยายตัวในแดนบวก
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 4 ปี 52 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 52 ที่ร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐขยายตัวทีร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 5.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) โดยมีสาเหตุสำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ทั้งปี 52 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี
  • เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซน (EU 16) ในไตรมาส 4 ปี 52 ขยายตัวเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.1 (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจของเยอรมัน สเปนและอิตาลี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของยุโรปที่หดตัวร้อยละ 0.0 ร้อยละ -0.1และร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและยุโรปในไตรมาสที่ 4 ของปี 52 แม้ว่าจะเป็นตัวเลขเบื้องต้น แต่ก็บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรปว่ายังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง ทำให้ยังคงมีความจำเป็นที่รัฐบาลของทั้ง 2 กลุ่มประเทศจะต้องดำเนินมาตรการด้านการคลังเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและการจ้างงานต่อไป อย่างไรก็ตาม ทั้งญี่ปุ่นและยุโรปมีข้อจำกัดในการใช้งบประมาณด้านการคลัง เนื่องจากภาวะหนี้สาธารณะในระดับสูง โดยเฉพาะบางประเทศในยุโรป เช่นกรีซ โปรตุเกส สเปนและอิตาลี
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          22-Feb-10     TW Q4 GDP (%yoy)                          6.8           -1.3
          23-Feb-10     US Feb Consumer Confidence Index                        55.9
          23-Feb-10     JP Jan Exports (%yoy)                                   12.1
          23-Feb-10     JP Jan Imports (%yoy)                                   -5.5
          23-Feb-10     SG Jan Consumer Price Index (%yoy)                      -0.3
          23-Feb-10     HK Jan Consumer Price Index (%yoy)                       1.3
          24-Feb-10     HK Q4/09 GDP (%yoy)                                     -2.4
          24-Feb-10     MY Jan Consumer Price Index (%yoy)                       1.1
          25-Feb-10     JP Feb Mfg PMI                                          52.5
          25-Feb-10     JP Jan Retail Sales (%yoy)                              -0.3
          25-Feb-10     PH Dec Imports (%yoy)                                    4.1
          25-Feb-10     HK Jan Imports (%yoy)                                   18.7
          25-Feb-10     MY Q4 GDP (%yoy)                                        -1.2
          26-Feb-10     US Jan Existing Home Sales (Mil. SAAR)                   5.5

Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: improving economic trend
  • ยอดการสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) เดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือคิดเป็นจำนวนบ้าน 5.91 แสนหลังต่อปี ขณะที่ยอดอนุญาตสร้างบ้าน(Building Permits) หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ -4.9 จากเดือนก่อนหน้า สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.9 จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกเดือนม.ค. 53 ปรับเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้าบ่งชี้สัญญาณการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 53 ส่งผลให้อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานรวม

Next week - Feb Consumer Confidence Index

Jan Existing Home Sales

Japan: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวสูงที่สุด นับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ที่ร้อยละ 1.1 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -0.4 ต่อปี เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเป็นสำคัญ โดยการบริโภคภาคเอกชนและการบริโภคภาครัฐขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 และร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนหน้าขณะที่การส่งออกขยายตัวร้อยละ 5.0 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq)โดยมีสาเหตุสำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ทั้งปี 52 เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี

Next week - Jan Exports-Imports Jan Retail sales

Feb Mfg PMI

Eurozone: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -2.1 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจเยอรมนีที่ไม่ขยายตัวเป็นสำคัญส่งผลให้ทั้งปี 52 เศรษฐกิจยูโรโซนหดตัวที่ร้อยละ -4.0 ต่อปี สำหรับการส่งออกและนำเข้าในปี 52 หดตัวที่ร้อยละ -18.1 และร้อยละ -22.3 ต่อปีตามลำดับ ทำให้ดุลการค้าในปี 52 เกินดุลที่ 22.3 พันล้านยูโร

Next Week -

China: improving economic trend
  • ธนาคารกลางจีนประกาศปรับขึ้นอัตราเงินสดสำ รองของธนาคารพาณิชย์ (Reserve requirement) เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 เดือนที่ร้อยละ 0.5 โดยให้อัตราเงินสดสำรองสำหรับธนาคารขนาดใหญ่และธนาคารขนาดเล็กเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 16.5 และร้อยละ 14.5 ตามลำดับ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 53 เป็นต้นไป เพื่อจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพื่อชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจจีนและราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Next Week -

Singapore: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 52 (Final GDP) ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ -2.8 (%qoq) เนื่องจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ส่งผลให้ทางการสิงคโปร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจในปี 53 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 ต่อปี สำหรับการส่งออกไม่รวมเชื้อเพลิง (Non-oil domestic export) เดือน ม.ค. 53 หดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -8.9 (%mom) เนื่องจากการส่งออกเวชภัณฑ์ที่หดตัวกว่าร้อยละ -29.7 ต่อปี

Next Week - Jan Consumer Price Index

India: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 16 เดือน ที่ร้อยละ 8.6 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี โดยราคาสินค้าประเภทอาหารขยายตัวถึงร้อยละ 17.4 ต่อปี สะท้อนถึงแนวโน้มภาวะเงินเฟ้อในอนาคตของประเทศอินเดียและอาจเป็นแรงกดดันให้ธนาคารกลางอินเดียต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอนาคตขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของอินเดียในเดือน ธ.ค.52 ขยายตัวร้อยละ 16.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.8 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งปี 52 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี สะท้อนถึงทิศทางเศรษฐกิจที่ดีในปี 53

Next Week -

Australia: improving economic trend
  • ธนาคารแห่งชาติออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เพื่อรอดูสถานะการณ์ของเศรษฐกิจโลกจากความกังวลต่อภาวะหนี้สาธารณะและความน่าเชื่อที่ถือที่ลดลงของพันธบัตรรัฐบาลบางประเทศในยุโรป ประกอบกับการคุมเข้มด้านการปล่อยสินเชื่อของจีน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือนม.ค. 53 ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 15 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 7 เนื่องจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่จากเศรษฐกิจโลกและจีนที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

Next Week -

Hong Kong: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือนม.ค. 53 อยู่ระดับคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม หลังปรับลดลงติดต่อกัน 4 เดือน สอดคล้องกับการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

Next Week - Q4/09 GDP

Jan Consumer Price Index

Jan Imports

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ