รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 22 — 26 กุมภาพันธ์ 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 2, 2010 11:25 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • Real GDP ในไตรมาส 4 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 51 และดีขึ้นมากจากไตรมาส 3 ที่หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม .ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 30.9 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 53.2 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.7 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ม.ค.53 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 55.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือนม.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีจำนวน 1.65 ล้านคน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1.68 ล้านคน

Indicators next week

Indicators                          Forecast           Previous
Jan: CPI (%yoy)                       3.4                 4.1
  • สาเหตุสำคัญจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 19.6 บาท/ลิตร และดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อสัตว์เป็ดไก่และสัตว์น้ำเนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน
Economic Indicators: This Week

Real GDP ในไตรมาส 4 ปี 52 ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกหลังจากติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 51 และดีขึ้นมากจากไตรมาส 3 ที่หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี และหากปรับฤดูกาลแล้วเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าพบว่าขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยมีแรงขับเคลื่อนจากทั้งการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิ และการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การลงทุนรวมยังคงหดตัวแม้ว่าจะดีขึ้นจากไตรมาสก่อน

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 30.9 ต่อปี (ตัวเลขปรับปรุง) และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า หดตัวร้อยละ -6.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเร่งการผลิตมากเป็นพิเศษในเดือนก่อนหน้าจนทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนก่อนอยู่ในระดับสูงสุดในประวัติศาสตร์ ประกอบกับการผลิตที่ลดลงของบางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องแต่งกาย และน้ำ มันปิโตรเลียม อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมหลัก เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ยังคงขยายตัวในระดับสูง ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ม.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 60.4 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 61.1

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 53.2 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.7 ต่อปี ซึ่งขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน เนื่องจาก 1) กำ ลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก โดยในเดือนธ.ค.52 การจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี ประกอบกับการที่มีการเปิดการค้าเสรีอาเซียนส่งผลให้ราคารถยนต์ปรับตัวลดลง 2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น สะท้อนจากการที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 21 เดือน และ 3) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ม.ค.53 ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 55.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 18.4 ต่อปี จากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพ และรถบรรทุกขนาด 2 ตัน ขยายตัวร้อยละ 54.7 และ 44.1 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ13.3 และ 38.0 ต่อปี ตามลำดับ ตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสะท้อนได้จากการที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันที่ระดับ 115.4 ในเดือน ม.ค. 53 และอัตราการว่างงานที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง (ในเดือนธ.ค.52 อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม) ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงอย่างมาก

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ม.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีจำนวน 1.65 ล้านคน ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่มีจำนวน 1.68 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 30.2 ต่อปี แต่ขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีนและกลุ่มอาเซียน สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศ

Economic Indicators: Next Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 หลังจากหดตัวติดต่อกันเป็นเวลานานในปีที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 19.6 บาท/ลิตรทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 (%mom) โดยมีปัจจัยหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ