รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 2 - 5 มีนาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 8, 2010 10:03 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 52 มีจำนวนทั้งสิ้น 3,967.15 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.85 ของ GDP ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.67 พันล้านบาท
  • สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือนม.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวชะลอลง ที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์และเหล็กภายในประเทศในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 5.4 และ 15.0 ต่อปี ตามลำดับ
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. 53 เกินดุลที่ 1,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันในขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 53 หดตัวลดลงที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี

Indicators next week

Indicators                          Forecast           Previous
Feb: API (%yoy)                       -2.0                0.2
  • เนื่องจากมีการผลิตที่ลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง จากปัญหาเพลี้ยน้ำตาลกระโดดและเพลี้ยแป้งระบาด และเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ฤดูร้อนมาเร็ว
Feb: Motorcycle Sales (%yoy)          28.0               37.2
  • สาเหตุสำคัญจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นมากเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ
Feb: Unemployment Rate                 1.4                0.9
(% of total labor force)
  • เนื่องจากการลดลงของการจ้างงานภาคการเกษตรซึ่งอยู่ในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางการเกษตร

Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 52 มีจำ นวนทั้งสิ้น 3,967.15 พันล้านบา ท ล ดล งจ กเดือ นก่อนหน้า 2.67 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.85 ของ GDP การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากการลดลงของหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 8.17 พันล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐค้ำประกัน 3.0 พันล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 27 ล้านบาท ขณะที่ หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 8.53 พันล้านบาท

สินเชื่อภาคเอกชนของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ม.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 ต่อปี เร่งขึ้นตามการขยายตัวต่อเนื่องของสินเชื่อภาคครัวเรือนเป็นสำคัญ ในขณะที่เงินฝากของสถาบันรับฝากเงินในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวชะลอลง โดยเงินฝากของสถาบันรับฝากเงินขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี ส่วนหนึ่งจากฐานที่ค่อนข้างสูงในปีก่อนหน้า ประกอบกับการที่มีการหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ามากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์และเหล็กภายในประเทศ ในเดือนม.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 5.4 และ 15.0 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งขยายตัวต่อเนื่อง โดยสาเหตุสำคัญมาจากฐานที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปี 52 จากผลกระทบของการลงทุนภายในประเทศในไตรมาส 1 ที่หดตัวกว่าร้อยละ -17.8 ต่อปี ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 13.7 และ 47.5 ต่อปี ตามลำดับ

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค.53 เกินดุลที่ 1,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเกินดุลบริการ นำส่งรายได้และเงินโอนเป็นหลักเป็นสำคัญ โดยมีการเกินดุลที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของรายได้จากนักท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ดุลการค้าปรับตัวเป็นบวกหลังจากที่มีการติดลบในเดือนก่อนหน้าจากมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่าการส่งออก โดยเฉพาะการนำเข้าทองคำที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ม.ค. 53 ปรับสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.9 ต่อปีซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน สาเหตุสำคัญจาก 1)ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำ มันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งถูกนำเข้ามากลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก 2) ราคาผักและผลไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เช่น ผักกาด แตงกวา มะนาว และ 3) ดัชนีค่าไฟฟ้า น้ำประปาฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เนื่องจากการปรับลดเกณฑ์ 5 มาตรการ6 เดือนในส่วนของน้ำประปา ทำให้ประชาชนรับภาระเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.56 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 53 หดตัวลดลงที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี ซึ่งหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ทั้งนี้ การที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวลง มีสาเหตุสำคัญมาจากดัชนีในหมวดซิเมนต์ที่หดตัวถึงร้อยละ -7.8 ต่อปี ซึ่งมาจากปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซิเมนต์ผสม และคอนกรีตบล็อก เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนในหมวดก่อสร้างเป็นหลัก นอกจากนี้การที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวลงมีสาเหตุมาจากราคาที่ลดลงตามต้นทุนการผลิต และกำลังซื้อของผู้ประกอบการและนักทุนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ.53 คาดว่าจะหดตัวที่ร้อยละ -2.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปีตามการผลิตที่ลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าว ยางพารา และมันสำ ปะหลัง ซึ่งผลผลิตข้าวและมันสำ ปะหลัง คาดว่ายังคงลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากประสบปัญหาเพลี้ยน้ำตาลกระโดดและเพลี้ยแป้งระบาด ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่เพาะปลูกในขณะที่ยางพารา คาดว่าผลผลิตลดลงเช่นกันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ฤดูร้อนมาเร็ว ทำให้ไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง

ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 28.0 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 37.2 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นมาก เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 2) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ สะท้อนจากการที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงสุดในรอบ 21 เดือน รวมถึงภาครัฐปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศ (กรุงเทพมหานครอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อวัน)โดยมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค.53 เป็นต้นไป และอัตราการว่างงานในเดือนธ.ค. ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม

อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 53 คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม และคาดว่าจะมีผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 5.2 แสนคน ทั้งนี้เป็นผลจากการลดลงของการจ้างงานภาคการเกษตรซึ่งอยู่ในช่วงสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในภาคบริการและอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 53 คาดว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการจ้างงานภาคค้าส่งค้าปลีกอุตสาหกรรมแร่อโลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ