Global Economic Monitor (1 - 5 มีนาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 8, 2010 10:40 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

"สถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วทั้ง สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุน"

สหรัฐฯ: ปรับปรุงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 52 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าทั้งปี (%qoq_saar) สะท้อนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
  • ทางการสหรัฐฯได้ปรับเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 52 มาขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าทั้งปี (%qoq_saar) เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 5.7 %qoq_saar สะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 53 ว่าจะมีทิศทางที่ดี โดยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆในช่วงต้นปี 53 เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Chicago PMI) ประจำเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 62.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 61.5 (ตลาดคาดการณ์ที่ระดับ 60.0) นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้ยอละ 0.5 ต่อเดือน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือน (ตลาดคาดการณ์ร้อยละ 0.4 ต่อเดือน)
สหภาพยุโรป: ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 30 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 54.2 อย่างไรก็ตามด้านการบริโภคในประเทศยังคงหดตัวและอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit Mfg PMI) ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 30 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 54.2 จากขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ของดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56 ในเดือน ก.พ. 53 ขณะที่ค่าดัชนีดังกล่าวในสเปนยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 (PMI ต่ำกว่า 50 บ่งชี้การหดตัว) ด้านการบริโภคในประเทศยังคงไม่ฟื้นตัว จากตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 53 ที่หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปีซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 สำหรับด้านเสถียรภาพในประเทศอัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 53 ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม บ่งชี้อัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลีซึ่งอัตราการว่างงานปรับสูงขึ้น สะท้อนการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างเปราะบาง
จีน: ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (NBS Mfg. PMI) เดือนก.พ. 53ปรับตัวลดลง โดยเป็นผลพวงจากช่วงวันหยุดในเทศกาลตรุษจีน
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NBS Mfg. PMI) ของประเทศจีนในเดือนก.พ. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 จากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ระดับ 55.8 โดยการปรับตัวลดลงดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีนเท่าใดนัก เนื่องจาก 1) ในเดือนก.พ. เป็นช่วงที่มีวันหยุดมากจากเทศกาลตรุษจีน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดน้อยลง 2) หากมองประเทศคู่ค้าหลักของจีน เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวันในเดือนก.พ. 53 นั้นดัชนีคำสั่งซื้อภาคการส่งออก (Export Orders) ของประเทศดังกล่าวยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดย เกาหลีใต้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60.2 จากระดับ 54.8 ในขณะที่ไต้หวันปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 65.3 จากระดับ 63.2 สะท้อนถึงความต้องการสินค้าจากอุปสงค์ในประเทศจีนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ญี่ปุ่น: อัตราการว่างงานเดือนม.ค. 53 ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับร้อยละ 5.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนมาอยู่ระดับร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • อัตราการว่างงานเดือนม.ค. 53 ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับร้อยละ 5.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนมาอยู่ระดับร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม สอดคล้องกับภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่าน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์หลายฝ่ายยังมองว่าการฟื้นตัวของตลาดแรงงานญี่ปุ่นอาจจะเป็นไปอย่างช้า ๆ จากการที่บริษัทในประเทศนำกำไรที่ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปลงทุนในต่างประเทศแทนการลงทุนในประเทศ จากการแข็งค่าอย่างต่อเนื่องของสกุลเงินเยนในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนดังกล่าวสะท้อนได้จากตัวเลขการลงทุนในสินค้าทุน (Capital Investment) (ไม่รวมซอฟแวร์) ของบริษัทญี่ปุ่นหดตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 11 ที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous

10-Mar-10 CN Feb Exports-Imports

          11-Mar-10     CN Feb Consumer Price Index (%yoy)       2.3            1.5
          11-Mar-10     CN Feb Retail Sales (%yoy)              18.0           17.5
          11-Mar-10     AU Feb Unemployment rate                                5.3
          11-Mar-10     JP GDP revised Q4 (%qoq)                 1.0            1.1
          12-Mar-10     EZ Jan Industrial Production (%qoq)      0.8           -1.7

Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: improving economic trend
  • ทางการสหรัฐฯได้ปรับเพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 52 มาขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าทั้งปี (%qoq_saar) เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ประกาศไว้ที่ร้อยละ 5.7 %qoq_saar สะท้อนถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปี 53 ว่าจะมีทิศทางที่ดี โดยตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆในช่วงต้นปี 53 เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นอย่างชัดเจน เช่น ดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อ (Chicago PMI) ประจำเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 62.6 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 61.5 (ตลาดคาดการณ์ที่ระดับ 60.0) นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้ยอละ 0.5 ต่อเดือน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อเดือน (ตลาดคาดการณ์ร้อยละ 0. ต่อเดือน)

Next week - Feb ISM Mfg PMI

Japan: mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือนม.ค. 53 ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับร้อยละ 5.0 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 เดือนมาอยู่ระดับร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม สอดคล้องกับภาคการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงที่ผ่าน อย่างไรนักวิเคราะห์หลายฝายยังมองว่าการฟนตัวของตลาดแรงงานญี่ปุนอาจจะเป็นไปอย่างช้า ๆ จากการที่บริษัทในประเทศนำกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปลงทุนในต่างประเทศ จากการที่การแข็งค่าของสกุลเงินเยนในช่วงที่ผ่านมาและทรงตัวอยูในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนย้ายฐานการลงทุนดังกล่าวสะท้อนได้จากตัวเลขการลงทุนในสินค้าทุน (Capital Investment) (ไม่รวมซอฟแวร์) ของบริษัทญี่ปุนหดตัวลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 11 ที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี

Next Week - GDP revised Q, Jan Capacity Utilization index

Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Markit Mfg PMI) ของยุโรป ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 30 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 54.2 จากการขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 ปี ของดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56 ในเดือน ก.พ. 53 ขณะที่ค่าดัชนีดังกล่าวในสเปนยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 (PMI ต่ำกว่า 50 บ่งชี้การหดตัว) ด้านการบริโภคในประเทศยังคงไม่ฟนตัว จากตัวเลขยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 53 ที่หดตัวร้อยละ -1.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 สำหรับด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 53 ยังคงอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม บ่งชี้อัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลีซึ่งอัตราการว่างงานปรับสูงขึ้น สะท้อนการฟนตัวเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างเปราะบาง

Next Week - Jan Industrial Output

China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อ (NBS Mfg. PMI) ของประเทศจีนในเดือนก.พ. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.0 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.8 โดยการปรับตัวลดลงดังกล่าวไม่ได้สะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีนเท่าใดนัก เนื่องจาก 1) ในเดือนก.พ. เป็นช่วงที่มีวันหยุดมากจากเทศกาลตรุษจีน ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดน้อยลง 2) หากมองประเทศคู่ค้าหลักของจีน เช่น เกาหลีใต้ และไต้หวันในเดือนก.พ. 53 นั้นดัชนีคำสั่งซื้อภาคการส่งออก (Export Orders) ของประเทศดังกล่าวยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดย เกาหลีใต้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 60.2 จากระดับ 5.8 ในขณะที่ไต้หวันปรับตัวขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 65.3 จากระดับ 63.2 สะท้อนถึงความต้องการสินค้าจากอุปสงค์ในประเทศจีนที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
Australia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภายในประเทศเป็นสำคัญ โดยการการลงทุนภาครัฐและลงทุนภาคภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 และ 3.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การบริโภคภาครัฐขยายร้อยละ 1.8 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก 1)มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ 2)การฟนตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากประเทศจีน ส่งผลให้ความต้องการในสินค้าพลังงาน ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขส่งออกล่าสุดเดือนม.ค. 53 ที่ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq)ทั้งนี้จากเศรษฐกิจที่ขยายตัวดีเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้นั้น ส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Cash Rate) เดือนมี.ค. 53 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.00 โดยการปรับขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งที่ ในรอบ 5 เดือน

Next Week - Mar CCI, Fe Unemployment

Singapore: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม(PMI)เดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 51.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 51. บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 (PMI สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้การขยายตัว) จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกที่ปรับสูงขึ้น โดยในเดือน ก.พ. 53 คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกปรับขึ้นมาที่ระดับ 51.9 จากระดับ 51.3 ในเดือนก่อนหน้า การปรับขึ้นของดัชนีดังกล่าวบ่งชี้การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

Next Week -

India: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อ (HSBC Markit Mfg PMI) ของประเทศอินเดียในเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 57.7 สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศอินเดียที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผลผลิตภาคสาธารณูปโภค (Infrastructure Output) ของอินเดียในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 9.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ต่อปี

Next Week - Jan Industrial Output, Jan Manufacturing Output

Korea: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 46.7 ต่อปี ในขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า การส่งออกขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อเดือน จากการขยายตัวของการส่งออกไปจีนซึ่งมีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดเป็นสำคัญ และเมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่า การส่งออกแผนวงจรคอมพิวเตอร์ จอ LCD และ รถยนต์เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สำหรับการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 36.9 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ จากการนำเข้าเชื้อเพลิง ในขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่สูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าจากฐานที่ต่ำ สำหรับเสถียรภาพภายในประเทศอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ ร้อยละ 2.7 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี

Next Week -

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ