Global Economic Monitor (8-12 มีนาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 15, 2010 11:03 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

"ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อของจีนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ยุโรปหารือจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรป"

จีน: ภาคส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศขยายตัว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น
  • การส่งออกจีนในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 45.7 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 44.7 ต่อปี โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ยังคงเป็นสองประเทศหลักที่นำเข้าสินค้าจากจีน โดยการส่งออกของจีนไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ขยายตัวที่ร้อยละ 34.5 และ 25.1 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 53 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 20.7 ต่อปี
  • สำหรับการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศพบว่า ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 17.9 ต่อปี ขณะที่การลงทุนในเขตเมือง (Urban Fixed Asset Investment) ระหว่างเดือน ม.ค. — ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.6 ต่อปี ส่งผลให้ระดับราคาในเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือน ก.พ. 53 สูงที่สุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี ตอกย้ำความกังวลต่อความเสี่ยงฟองสบู่ของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ทางการจีนาดว่าทั้งปี 2553 อัตราเงินเฟ้อของจีนจะอยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี
สหภาพยุโรป: ผู้นำของกลุ่มประเทศในยุโรปโซนอยู่ระหว่างหารือเพื่อจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรป(European Monetary Fund)
  • ผู้นำของกลุ่มประเทศในยุโรปโซนอยู่ระหว่างหารือเพื่อจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรป (European Monetary Fund) เพื่อป้องกันวิกฤตการเงินและการคลังในอนาคต ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรปที่คาดว่าจะมีแผนโครงการที่เป็นรูปธรรมภายในกลางปีนี้นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรการเงินที่มีบทบาทในการเป็น lender of last resort และเป็นองค์กรเพื่อกำกับและจำกัดการทำอนุพันธ์ทางเงินที่มีความเสี่ยงสูง เช่น credit-default swaps และอำนวยให้เกิดความร่วมมือด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตการเงินของประเทศในยุโรปดังเช่นที่เกิดในประเทศกรีซ ทั้งนี้ นาย Dominique Strauss-Kahn ผู้บริหารของ IMF ได้ให้ความเห็นสนับสนุนต่อแนวความคิดดังกล่าวของกลุ่มประเทศยูโรโซน
  • แนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรปของกลุ่มประเทศยูโรโซนนั้น แม้จะมิใช่แนวความคิดใหม่และได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมาแล้ว แต่คาดว่าหากมีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จะทำให้ยุโรปมีเครื่องมือด้านนโยบายการเงินที่เพิ่มขึ้นและมีองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและประสานนโยบายด้านการเงินและการคลังของยุโรปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันจะเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพให้แก่ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรและภูมิภาคยุโรปโดยรวม อย่างไรก็ดี การจัดตั้งองค์กรในลักษณะดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมืออย่างแท้จริงระหว่างประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้ง และควรมีการระมัดระวังปัญหา Moral Hazard ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          15-Mar-10     JP Feb Consumer Confidence Index                        39.0
          15-Mar-10     US Feb Industrial Production (%mom)      0.1             0.9
          16-Mar-10     US Feb House Starts (million)           0.58           0.591
          16-Mar-10     US Mar Fed Fund Rate (%)                                0.25
          16-Mar-10     JP Mar BOJ meeting
          16-Mar-10     EZ Feb CPI (%yoy)                        0.9             1.0
          18-Mar-10     EZ Jan International Trade (billion)                     4.4
          18-Mar-10     US Feb Consumer Price Index (%yoy)       2.3             2.6
          18-Mar-10     EZ Jan Current Account (billion)                         9.4
          Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรลดลง 36,000 ตำแหน่งจากเดือนก่อนหน้า น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 68,000 ตำแหน่ง ส่งสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์พายุหิมะในฝั่งตะวันออกที่ทำให้ตัวเลขการจ้างงานลดลงในช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ พบว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง ขณะที่ภาคก่อสร้างยังลดการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกและนำเข้าเดือน ม.ค.53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 18.3 ต่อปี และร้อยละ 11.3 ต่อปี ตามลำดับ

Next week - Feb Industrial Production; Feb Housing Starts

Feb CPI

Japan: worsening economic trend
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสทื่ 4 ปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นการปรับลดลงจากที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้าทีร้อยละ 1.1 (%qoq)เนื่องจากการปรับลดลงของรายจ่ายการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปี 52 เป็นผลมาจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 และร้อยละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้าตามลำดับ ขณะเดียวกันยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ม.ค. 53 หดตัวร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้า(%mom) ส่งสัญญาณความกังวลต่อการฟื้นตัวของภาคการผลิตของญี่ปุ่นในระยะต่อไป

Next Week - Feb CCI Mar BOJ rate

Eurozone: mixed signal
  • ผู้นำของกลุ่มประเทศในยุโรปโซนอยู่ระหว่างหารือเพื่อจัดตั้งกองทุนการเงินยุโรป (European Monetary Fund) เพื่อป้องกันวิกฤตการเงินและการคลังในอนาคต โดยคาดว่าจะมีแผนโครงการที่เป็นรูปธรรมภายในกลางปีนี้ ทั้งนี้ EMF จะเป็นองค์กรการเงินที่มีบทบาทในการเป็น lender of last resort และกำกับและจำกัดการทำอนุพันธ์ทางเงินที่มีความเสี่ยงสูง เช่น credit-default swaps และอำนวยให้เกิดความร่วมมือด้านนโยบายเศรษฐกิจ เพื่อป้องกันการเกิดวิกฤตการเงินของประเทศในยุโรปดังเช่นที่เกิดในประเทศกรีซ ทั้งนี้ นาย Dominique Strauss-Kahn ผู้บริหารของ IMF ได้ให้ความเห็นสนับสนุนต่อแนวความคิดดังกล่าวของกลุ่มประเทศยูโรโซน

Next Week - Feb CPI

Jan Current Account; Jan International Trade

China: mixed signal
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสทื่ 4 ปี 52 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) หรือหดตัวที่ร้อยละ -1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นการปรับลดลงจากที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้าทีร้อยละ 1.1 (%qoq)เนื่องจากการปรับลดลงของรายจ่ายการลงทุนของภาคเอกชนเป็นสำคัญการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปี 52 เป็นผลมาจากการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 และร้อย
ละ 0.7 จากไตรมาสก่อนหน้าตามลำดับ ขณะเดียวกันยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ม.ค. 53 หดตัวร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้า(%mom) ส่งสัญญาณความกังวลต่อการฟื้นตัวของภาคการผลิตของญี่ปุ่นในระยะต่อไป

Next Week - Feb CCI Mar BOJ rate

Taiwan: improving economic trend

การส่งออกในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 32.6 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เช่นกันที่ร้อยละ 45.8 ต่อปี สอดคล้องกับคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือน ม.ค. 53 ซึ่งขยายตัวสูงที่ร้อยละ 71.81 ต่อปี จากความต้องการซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากจีนเป็นสำคัญ บ่งชี้เศรษฐกิจไต้หวันที่ขยายตัวต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าที่สำคัญเช่นจีน ซึ่งยังคงนำเข้าสินค้าจากไต้หวันในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

Next Week - Feb Export Order

Feb Industrial Output

Vietnam: mixed signal

ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.46 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 1.96 ต่อเดือน (%mom) โดยสาเหตุหลักของการขยายตัวมาจากราคาสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มขยายตัวถึงร้อยละ 3.09 ต่อเดือน ในขณะที่ราคาในหมวดที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.75 ต่อเดือน อย่างไรก็ตามราคาทองคำกลับหดตัวที่ร้อยละ -2.02 ต่อเดือน สำหรับแนวโน้มดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคในอนาคตคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องจาก ราคาน้ำมัน โลกที่ปรับตัวสูงขึ้น และการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศรวมถึงแรงกดดันจากค่าเงินดองที่อ่อนค่าลงทำให้สินค้านำเข้าจะมีราคาที่สูงขึ้น

Next week -

Korea: improving economic trend

ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ซึ่งเป็นการประกาศใช้อัตราดังกล่าวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 นับตั้งแต่ เดือน ก.พ. 52 โดยทางธนาคารกลางให้เหตุผลว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะจากปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มยูโรโซน ซึ่งยังคงอยู่ในขั้นตอนการแก้ไข

Next Week - Feb Export growth ; Jan Retail Sales

Australia: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนมี.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 117.3 ขณะที่ภาคการจ้างงานขยายตัวชะลอลง โดยอัตราการว่างงานเดือนก.พ. 53 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม และตำแหน่งงานเดือนก.พ. 53 เพิ่มขึ้นเพียง 400ตำแหน่ง โดยเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้จากตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ของออสเตรเลียมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีน ทำให้คาดว่าการจ้างงานจะขยายตัวในระดับที่สูงต่อเนื่อง

Next Week -

Philippines: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบประมาณ 15 ปีที่ร้อยละ 42.5 ต่อปี ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า ประกอบกับการส่งออกไปยังญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสิงค์โป ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า การส่งออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 50 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 51.2 ต่อปี

Next Week -

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ