รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 - 19 มีนาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 23, 2010 09:56 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือน ก.พ.53 จัดเก็บได้สุทธิ 97.4 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 19.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 25.0 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.5
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ)ในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 37,913 ล้านบาท จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 41,302 ล้านบาท หรือขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 39.2 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 28.9 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 26.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 37.2 ต่อปี
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ เดือนก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.1 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวดีที่ร้อยละ 71.2 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                      Forecast           Previous
Feb: TISI (level)                    113.0              115.4
  • เนื่องจากปัญหามาบตาพุด ค่าเงินบาทแข็งค่า ราคาน้ำมันสูงขึ้น รวมทั้ง ความวิตกกังวลในสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง
Feb: MPI (%yoy)                       28.0               29.1
  • เนื่องจากจากวันทำการที่น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว

Economic Indicators: This Week

รายได้รัฐบาลสุทธิประจำเดือน ก.พ.53 จัดเก็บได้สุทธิ 97.4 พันล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้ 19.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 25.0และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.5 ส่งผลให้รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 เท่ากับ 558.7 พันล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 107.2 พันล้านบาท ซึ่งผลการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าเป้าหมายในเดือน ก.พ. 53 มีสาเหตุสำ คัญจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำ มัน และรถยนต์ ที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายจำนวน 22.2 55.9 และ 76.9 พันล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้สุทธิของ 3 กรมจัดเก็บรายได้ในเดือน ก.พ. 53 เท่ากับ 111.6 พันล้านบาทขยายตัวร้อยละ 22.1 ต่อปี โดยภาษีฐานรายได้หดตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี และภาษีฐานบริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 29.8 ต่อปี ตามลำดับ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ) ในเดือน ก.พ.53 อยู่ที่ระดับ 37,913 ล้านบาท จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 41,302 ล้านบาท หรือขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 ต่อปี (ถือเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 หลังจากหดตัวอย่างต่อเนื่องจากเดือน พ.ย.51 เป็นต้นมา) ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ที่จัดเก็บบนการบริโภคในประเทศ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ที่จัดเก็บจากมูลค่าการนำเข้าสินค้า ที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 และ 52.6 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) ปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัว (ในช่วงครึ่งแรกของปี 52เศรษฐกิจไทยหดตัวที่ร้อยละ -6.0 ต่อปี) 2) เศรษฐกิจเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติสะท้อนได้จากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และภาคการส่งออกเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และ 3) รายได้ภาคชนบทปรับตัวดีขึ้น ตามราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.พ. 53ขยายตัวร้อยละ 39.2 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 28.9 ต่อปี ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันสะท้อนถึงการฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน และผลของการเร่งการทำธุรกรรมภาคอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค และภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมาตรการลดหย่อนภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่จะสิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน มี.ค. 53

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 26.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 37.2 ต่อปี (แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูง และเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 2) ภาครัฐปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำทั่วประเทศ โดยมีผลตั้งแต่เดือน ม.ค.53 เป็นต้นไป ส่งผลให้ภาคครัวเรือนยังคงมีรายได้เพิ่มขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 57.3 ต่อปี เร่งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 53.2 ต่อปี ซึ่งขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน เนื่องจาก 1) กำ ลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก ที่เริ่มกลับเข้าสู่ระดับเดิมก่อนวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปลายปีที่แล้ว 2) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 3) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 58.0 ต่อปี เร่งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 55.4 ต่อปีจากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพ และรถบรรทุกขนาด 2 ตันที่ขยายตัวร้อยละ 57.6 และ 39.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 54.7 และ 44.1 ต่อปี ตามลำดับ ตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ เดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.1 ต่อปี ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย แต่หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐขยายตัวดีที่ร้อยละ 71.2 ต่อปีหรือขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยดุลการค้าเกินดุลที่ 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Economic Indicators: Next Week

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ก.พ. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยคาดว่าจะมีจำนวน 1.66 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 45.1 ต่อปี โดยคาดว่าจะเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก(สัดส่วนร้อยละ 22.2 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด) โดยเฉพาะจากจีน ฮ่องกงและไต้หวัน ที่มีแรงจูงใจในการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวจากการที่ในเดือนก.พ. มีวันหยุดช่วงวันตรุษจีน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือนก.พ. 53 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับสูงที่ร้อยละ 28.0 ต่อปี ชะลอจากเดือนก่อนเล็กน้อยจากวันทำการที่น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนอย่างไรก็ตาม ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ