Global Economic Monitor (15-19 มีนาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 23, 2010 10:15 —กระทรวงการคลัง

Global Summary

“สหรัฐฯ และญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ”

  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.1 และดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายผ่านการขยายวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Fixed-Rate Funds-Supplying Operation) ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะทำให้วงเงินกู้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากเมื่อปลายปี 52 ที่ได้เคยประกาศใช้มาตรการดังกล่าวไปแล้วครั้งหนึ่งด้วยวงเงิน 10 ล้านล้านเยน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องในตลาดและกดดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.0 — 0.25 ต่อไปอีกระยะหนึ่งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและการจ้างงานที่ยังคงฟื้นตัวอย่างเปราะบาง แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีสัญญาณฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ โดยล่าสุดยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.3 (%mom) แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคการจ้างงานยังคงไม่แสดงการฟื้นตัวที่เข้มแข็ง โดยล่าสุดการก่อสร้างบ้าน (Housing Starts) ในเดือน ก.พ. 53 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 575 พันหลังต่อปี ขณะที่ยอดอนุมัติก่อสร้างบ้าน (Building Permits) ในเดือน ก.พ. 53 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 612 พันหลังต่อปี สำหรับอัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 9.7 ของกำลังแรงงานรวม ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไปจนถึงสิ้นปี
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          22-Mar-10     EZ Mar Consumer Confidence Index                       46.0
          22-Mar-10     HK Feb Consumer Price Index (%yoy)                      1.0
          23-Mar-10     SG Feb Consumer Price Index (%yoy)                      0.4
          23-Mar-10     JP Feb Trade Balance (billion)                         85.2
          24-Mar-10     US Feb Existing Home Sales (mil. saar)                  5.1
          24-Mar-10     EZ Mar Mfg Flash PMI                                   54.1
          24-Mar-10     EZ Mar Service Flash PMI                               52.0
          24-Mar-10     EZ Jan Industrial New Orders (%yoy)                     9.5
          24-Mar-10     US Feb Durable Goods (%yoy)               2.3           2.6
          26-Mar-10     US Q4 Final GDP (%yoy)                                  5.9
          Note: *forecast by Reuters

Countries Monitor:

United States: mixed signal
  • ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 53 ว่าขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) หรือขยายตัวร้อยละ 4 ต่อปี และยอดค้าปลีกไม่รวมรถยนต์ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อนหน้าแม้ว่าในเดือน ก.พ. พื้นที่ส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ จะเผชิญกับภายุหิมะอย่างหนัก สำหรับการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงไม่ชัดเจน โดยการก่อสร้างบ้าน (Housing Starts) ในเดือน ก.พ. 53 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 575 พันหลังต่อปี ขณะที่ยอดอนุมัติก่อสร้างบ้าน (Building Permits) ในเดือน ก.พ. 53 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 612 พันหลังต่อปี จากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังฟื้นตัวอย่างเปราะบางทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.0 — 0.25 ต่อไปอีก ทั้งนี้นักวิเคราะห์คาดว่า Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำจนถึงสิ้นปี

Next week - Feb Existing Home Sales Feb Durable Goods

Q4 Final GDP

Japan: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 53 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 39.8 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะรายได้และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม จากสภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงไม่ฟื้นตัว ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.1 และดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายผ่านการขยายวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Fixed-Rate Funds-Supplying Operation) ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะทำให้วงเงินกู้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านล้านเยน โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนสภาพคล่องในตลาดและกดดันให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

Next Week - Feb Trade Balance

Eurozone: mixed signal
  • การส่งออกในเดือน ม.ค. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 8.7 พันล้านยูโร ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ 12.1 พันล้านยูโร อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ภายในยังคงไม่ฟื้นตัวจากยอดค้าปลีกในเดือน ก.พ. 53 ที่หดตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 1.0

Next Week - Mar Consumer Confidence Index Mar Flash PMI

Jan Industrial New Orders

China: improving economic trend
  • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเดือน ก.พ. 53 มีมูลค่าทั้งสิ้น 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 53 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่าทั้งสิ้น 14.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี สำหรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 53 เจ้าหน้าที่จีนและนักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 9.0 ต่อปี เร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่เศรษฐกิจจีนขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี เนืองจากผลของมาตรการของรัฐบาล ประกอบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

Next Week -

Singapore: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออกไม่รวมน้ำมันในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 23.4 ต่อปี จากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนืกส์และเวชภัณฑ์เป็นสำคัญ และเมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่าเกิดจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้การส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีการปรับตัวขึ้นมาเป็นบวกหลังจากที่มีการหดตัวในช่วงก่อนหน้า สะท้อนการฟื้นตัวที่เริ่มชัดเจนของอุปสงค์ภายนอกประเทศ โดยเฉพาะของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสิงคโปร์

Next week - Feb Consumer Price Index

South Korea: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 53 ลดลงมาที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานทั้งหมด หลังจากอยู่ในอัตราที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.8 ของกำลังแรงงานทั้งหมด โดยในเดือน ก.พ. 53 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 125, 000 คน ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และคลายความกังวลที่หลายฝ่ายมีต่อสภาวะเศรษฐกิจซึ่งมีสัญญาณชะลอลงในช่วงก่อนหน้า

Next week -

India: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 16 เดือนที่ร้อยละ 9.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 สะท้อนถึงการ
ขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศอินเดียที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามเศรษฐกิจ ทั้งนี้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ในเดือนม.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 16.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 16.8 ต่อปี และยังคงมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นในเดือน ก.พ. 53 นี้

Next week -

Hong Kong: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือนก.พ. 53 อยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 เดือนที่ระดับร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม การปรับตัวดีขึ้นของตลาดแรงงานนั้นสอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยในเดือนม.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.4

Next week - Feb CPI

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ