รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 22 — 26 มีนาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 29, 2010 11:17 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.พ. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 182.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ.53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -88.7 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 53 หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดสำ คัญในขณะ ที่ ดัช นีรา คา สินค้า เกษ ตร ในเดือน ก. พ. 53ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ20.8 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 114.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 115.4
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 183.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 31.1 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 29.1 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือนก.พ. 53 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยมีจำนวน 1.64 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 44.3 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                      Forecast           Previous
Feb: Cement Sales (%yoy)               8.0               5.4
     Iron Sales (%yoy)                12.0              15.0
  • เนื่องจากการฟื้นตัวของการของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น
Feb: Current Account (bn Baht)         1.4               2.0
  • เนื่องจากดุลบริการน่าจะเกินดุลที่ระดับสูงจากรายได้การท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามดุลการค้าน่าจะปรับตัวลดลงตามการฟื้นตัวของมูลค่าการนำเข้า
Mar: Headline Inflation (%yoy)         3.7               3.7
  • เนื่องจากดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำ มันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลงเล็กน้อย และฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา
Economic Indicators: This Week

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.พ. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 182.9 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนจำนวน 51.5 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 52.2 ต่อปี เนื่องจากได้มีการจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไปให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 46.3 พันล้านบาท รายจ่ายหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำ นวน 5.3 พันล้านบาท และรายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 3.0 พันล้านบาท เป็นต้น ขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่าย ได้จำนวน 117.9 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -11.2 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 784.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าที่ร้อยละ 94.0นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 5 มี.ค. 53 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 88.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 25.4 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.พ. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -88.7 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 37.9 พันล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -50.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน -223.4 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -47.1 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาด ดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -270.5 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 53 มีจำนวน 133.9 พันล้านบาท ซึ่งลดลงจากต้นปีงบประมาณที่มีจำนวนถึง 293.8 พันล้านบาท ซึ่งการการขาดดังกล่าวสะท้อนถึงการทำนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 53 หดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตในหมวดสำคัญ เช่น พืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวนาปี และมันสำปะหลัง ที่อยู่ในช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาด(เพลี้ยน้ำตาลกระโดดในข้าว และเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง) ในขณะที่หมวดไม้ยืนต้น ผลผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตยางพาราเป็นสำคัญ เนื่องจากราคาขยายตัวในระดับสูง จูงใจ ให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ส่วนหมวดปศุสัตว์ ผลผลิตขยายตัวเล็กน้อยจากผลผลิตสุกรและไข่ไก่ขยายตัวสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตไก่เนื้อหดตัวในอัตราชะลอลง

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 20.8 ต่อปี (เป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน) จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ได้แก่ข้าว ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ผลผลิตในประเทศและของโลกลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลัก เช่น อินเดีย บราซิล และเวียดนาม ในขณะที่ไทยมีผลผลิตลดลงเนื่องจากปัญหาโรคระบาดและภัยแล้ง

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศในเดือน ก.พ.53 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยมีจำนวน 1.64 ล้านคนคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 44.3 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและปัจจัยฐานต่ำในช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะจากการขยายตัวสูงในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก(สัดส่วนร้อยละ 22.2 ของจำ นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด) โดยเฉพาะจากจีน ฮ่องกง และไต้หวันขยายตัวที่ร้อยละ 190.3 125.1 และ 128.0 ต่อปี ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.พ. 53 อยู่ที่ระดับ 114.5 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 115.4 แต่ยังคงสูงขึ้นเกินระดับ 100 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 5 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านยอดขายรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการปรับตัวลดลง ขณะที่องค์ประกอบด้านยอดคำสั่งซื้อรวมยังคงสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปขณะเดียวกันการบริโภคในประเทศมีการปรับตัวลดลงจากที่ผู้บริโภคที่มีความกังวลในสถานการณ์การเมือง ส่วนดัชนีคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือนก.พ. 53 อยู่ที่ 114.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 53 ที่อยู่ในระดับ 111.0 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่ายอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวม และปริมาณการผลิต จะปรับตัวดีขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลในด้านต้นทุนการประกอบการที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต จากราคาวัตถุดิบ เช่น น้ำมัน น้ำตาล และสิน้คาโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มการปรับราคาสูงขึ้น

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก .พ . 53 อยู่ที่ระดับ 183.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 31.1 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 29.1 ต่อปี และยังคงขยายตัวในระดับที่สูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยการขยายตัวในครั้งนี้เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้นโดยมียอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการส่งออกที่ฟื้นตัวในแทบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาด G3 (สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น)และตลาดภูมิภาค ประกอบกับฐานต่ำในปีแล้ว หากพิจารณาเป็นรายเดือนแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมรวมที่ปรับผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.5 ต่อเดือน จากก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.2ต่อเดือน โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตรวม ได้แก่ 1) เครื่องแต่งกาย เนื่องจากมีการผลิตชุดกีฬาจากเทศกาลฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก 2010 ในช่วงเดือน มี.ค. 53 2) การปั่น การทอ เนื่องจากการปั่นเส้นใย และการผลิตเสื้อผ้าบุรุษและเด็กชาย สตรี เด็กหญิงและผ้าถักขยายตัวดีขึ้น 3) ปิโตรเลียม เนื่องจากมีการผลิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเพิ่มขึ้น 4) เครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการผลิตเพิ่มขึ้นของ Integrated circuits และสอดคล้องกับการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือน ก .พ .53 ที่ขยายตัวสูง 5) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องมาจากการผลิต Hard Disk Drive ที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 6) ยานยนต์ เนื่องจากเร่งการผลิตในงานมอเตอร์โชว์ในช่วงปลายเดือน มี .ค . 53 และ 7)เครื่องประดับ เนื่องจากการผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณเพิ่มขึ้น

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศในเดือนก.พ. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 8.0 และ 12.0 ต่อปี ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของการของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.53 คาดว่าน่าจะเกินดุลที่ประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการคาดการว่าดุลบริการจะเกินดุลที่ประมาณ 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากรายได้การท่องเที่ยวในเดือน ก.พ. 53 ที่ยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือน ก.พ. ที่สูงถึง 1.64 ล้านคน ทั้งนี้ ดุลการค้าในเดือน ก.พ. 53 เกินดุลที่ระดับ 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงตามการฟื้นตัวของมูลค่าการนำเข้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมามากจากช่วงก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุสำคัญจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 20.4 บาท/ลิตร ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 (%mom) โดยมีปัจจัยหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่ดัชนีราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ปรับตัวลดลง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ