- ความไม่ชัดเจนของแผนการช่วยเหลือประเทศกรีซ ได้ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากยุโรปมายังสหรัฐและเอเชียทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร
- ตัวเลขเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ดีขึ้นได้ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าตลาดหลักทรัพย์ในเอเชีย สอดคล้องกับค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลยูโรและส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ของไทยปรับตัวเพิ่มต่อเนื่อง
Next week indicators Date Economic Indicator Forecast* Previous 29-Mar-10 EZ Mar Consumer Sentiment -17.0 29-Mar-10 US Feb Consumption (%mom_SA) 0.3 0.5 29-Mar-10 SG Feb Personal Income (%mom) 0.1 0.1 29-Mar-10 JP Feb Unemployment (%) 4.9 30-Mar-10 US Mar Consumer Confidence 46.0 30-Mar-10 JP Mar Manufacturing PMI 52.5 31-Mar-10 EZ Feb Unemployment 9.9 01-Apr-10 EZ Mar Markit Mfg PMI 54.2 01-Apr-10 US Mar ISM Manufacturing PMI 56.5 56.5 Note: *forecast by Reuters
Economic Monitor:
- ภาคอสังหาริมทรัพย์ พบว่ายังคงไม่ฟื้นตัว โดยยอดจำหน่ายบ้านใหม่ในเดือน ก.พ. 53 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ -2.2 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายบ้านปัจจุบัน (Existing home sales) ในเดือน ก.พ. 53 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 เช่นกันที่ 5.02 ล้านหลังต่อปี สำหรับการก่อสร้างบ้าน (Housing Starts) ในเดือน ก.พ. 53 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 575 พันหลังต่อปี อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยคำสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable goods order) ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์จากเครื่องบิน เครื่องจักร และโลหะเป็นสำคัญ
- การส่งออกในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 45.3 ต่อปี จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกประกอบกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากคู่ค้าในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจากประเทศจีนซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น ขณะที่การนำเข้าขยายตัวเร่งขึ้นเช่นกันที่ร้อยละ 29.5 ต่อปี ส่งผลให้ในเดือน ก.พ. 53 ดุลการค้าของญี่ปุ่นเกินดุลที่ 651 พันล้านเยน หรือประมาณ 7.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่นำโดยภาคส่งออกนั้น ได้ส่งผลให้สถานการณ์การจ้างงานดีขึ้น โดยล่าสุดอัตราการว่างงานในเดือน ก.พ. 53 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือน ก.พ. 53 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.1 ต่อปี
- แนวโน้มเศรษฐกิจยุโรปที่มีทิศทางขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงได้รับแรงขับเคลื่อนจากภาคส่งออก โดยดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการในภาคอุตสาหกรรมเบื้องต้น (Flash Mfg PMI) ในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 มาอยู่ที่ระดับ 56.3 สอดคล้องกับคำสั่งซื้อของผู้จัดการในภาคบริการเบื้องต้น (Flash Services PMI) ในเดือนเดียวกัน ที่ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี มาอยู่ที่ระดับ 53.7 บ่งชี้สัญญาณที่ดีของอุปสงค์ภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม
ความไม่ชัดเจนของแผนการช่วยเหลือประเทศกรีซ ได้ส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กรีซมีแผนการที่จะขายพันธบัตรมูลค่าประมาณ 5 พันลานยูดร หรือคิดเป็น 6.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสัปดาห์นี้
การนำเข้าขยายตัวสูงสุดในรอบ 7 ปีที่ร้อยละ 30.3 ต่อปี สาเหตุหลักมาจากปัจจัยฐานต่ำและการนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนใหญ่ที่สุด ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี สอดคล้องกับตัวเลขการส่งออกสินค้าในช่วงที่ผ่านมาที่ขยายตัวในระดับที่สูง โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่2 มาอยู่ระดับ 110 ต่ำสุดในรอบ 8 อย่างไรก็ตามระดับดังกล่าวยังคงสูงกว่า 100 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงมีความมั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 1 ต่อปี หรือ 0.6 ต่อเดือน จากการขยายตัวของราคาในหมวดอาหาร หมวดการขนส่งเป็นหลัก
- คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 36.25 ต่อปี จากการส่งออกไปยังจีนและสหรัฐอเมริกา สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 53 ที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 35.17 ต่อปี ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานเดือน ก.พ.53 อยู่ที่ร้อยละ 5.65 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำสุดในรอบ 12 เดือน สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งจากอุปสงค์ภายนอกและภายในประเทศ
- อัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี โดยส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวของสินค้าหมวดที่อยู่อาศัย อาทิ อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัย ค่าน้ำค่าไฟ และวัสดุก่อสร้างซึ่งเมื่อพิจารณากับระดับเงินเฟ้อในปัจจุบันบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางเวียดนามอาจจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในเร็วๆนี้ เพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อลง
- การส่งออกเดือนก.พ. 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ร้อยละ 28.5 ต่อปีจากปัจจัยฐานต่ำและการส่งออกไปยังประเทศจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ขยายตัวในระดับที่สูง สอดคล้องกับการนำเข้าในเดือนก.พ. 53 ที่ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 22.4 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนก.พ. 53 ขยายตัว สูงสุดในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี จากเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้ความต้องการและราคาในสินค้าหมวดอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผักและผลไม้ และเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.31 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวเพิ่มขึ้น (บาทแข็งค่าขึ้น) จากการที่ค่าเงินสกุลเยนและยูโรอ่อนค่าลงค่อนข้างมากในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐบ่งชี้ได้จากUSD Index แข็งค่าขึ้นเนื่องจากตัวเลข
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 19 มี.ค. 53 เท่ากับ 143.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า +0.33 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่ +0.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บ่งชี้ว่า ธปท.เข้าดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวดีขึ้นโดยดัชนี SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10 จุดจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยต่างชาติยังคงเข้าซื้อสุทธิกว่า 246.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 วันที่ผ่านมา และส่งผลให้ทั้งเดือน มี.ค.มียอดเงินจากต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์สุทธิ 1,184.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยสนับสนุนยังคงมาจากการที่ตลาดมองว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ของการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง บ่งชี้ได้จาก Bid cover ratio (BCR) ที่ปรับลดลงมาช่วงเดือนก่อนหน้าเนื่องจากเงินทุนส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ โดยผลตอบแทนระยะสั้น 2 ปี ปรับตัวลดลงเล็กน้อยประมาณ 1 Bps ในขณะที่ผลตอบแทนระยะยาวช่วง 10 ปีไม่ เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า
Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,
Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th