Global Economic Monitor (12-16 เมษายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 16, 2010 11:36 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • เศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุนมีสัญญาณชะลอตัว จากคำสั่งซื้อเครื่องจักรและยอดค้าปลีกที่ชะลอลง
  • เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียมีสัญญาณขยายตัวดีขึ้นในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะในภาคการส่งออกและภาคอุตสาหกรรม
  • SET Index ปรับตัวลดลง โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิเนื่องจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          13-Apr-10     US Feb International Trade (billion)                  -37.3
          14-Apr-10     EZ Feb Industrial Production (%yoy)                     1.4
          14-Apr-10     SG Advance GDP Q1 2010 (%yoy)                           4.0
          14-Apr-10     CN GDP Q1 2010 (%yoy)                                  10.7
          14-Apr-10     US Mar CPI (%yoy)                                       2.1
          14-Apr-10     US Mar Retail Sales (%mom)                              0.3
          15-Apr-10     US Jobless Claims (thousand)                            460
          15-Apr-10     US Mar Capacity Use (%)                                72.7
          15-Apr-10     US Mar Industrial Production (%mom)                     0.1
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อผู้จัดการภาคบริการ (ISM Service PMI) ในเดือน มี.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 55.4 สูงที่สุดในรอบ 4 ปี บ่งชี้สัญญาณการฟนตัวในภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 80 ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์พบว่ามีสัญญาณที่ดีจากดัชนียอดทำสัญญาซื้อบ้าน (Pending Home Sales Index) ในเดือน ก.พ. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากเดือน ม.ค. 53 ที่หดตัวร้อยละ -7.0 บ่งชี้ว่ายอดจำหน่ายบ้านใหม่ในเดือน มี.ค. 53 น่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับการจ้างงานยังมีความเปราะบาง โดย Initial Jobless Claims (ไม่ปรับฤดูกาล) ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 18,000 รายจากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 460,000 ราย แม้ว่าตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payroll) เดือน มี.ค. 53 จะเพิ่มขึ้นกว่า 162,000 ตำแหน่ง
Japan: worsening economic trend
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักร (Machinery Order) ในเดือน ก.พ. 53 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนทื่ 2 ที่ร้อยละ -5.4 ต่อปี โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรไม่รวมเรือและเครื่องจักรของโรงงานไฟฟ้าหดตัวกว่าร้อยละ -7.1 ต่อปี ทั้งนี้คำสั่งซื้อเครื่องจักรที่หดตัวลงเป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องจักรนอกภาคอุตสาหกรรม (Non-manufacturer) ที่หดตัว -4.0 ต่อปีเป็นสำคัญ ขณะที่คำสั่งซื้อในภาคอุตสาหกรรมหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี บ่งชี้การหดตัวของรายจ่ายลงทุนของภาคเอกชน สอดคล้องกับผลสำรวจของธนาคารญี่ปุน (Tankan Survey) ซึ่งพบว่าธุรกิจขนาดใหญ่จะลดรายจ่ายเพื่อลงทุนลงร้อยละ 0.4 ในปีงบประมาณนี้ (เม.ย. 53-มี.ค. 54) ส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.1 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศต่อไป
Eurozone: worsening economic trend
  • ยอดค้าปลีกในเดือน ก.พ. 53 ของกลุ่มประเทศยูโรโซนหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ -0.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)หรือหดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี บ่งชี้ความเปราะบางของการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 60 ของ GDP โดยยอดค้าปลีกของสินค้าประเภทอาหารหดตัวร้อยละ -1.6 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินค้าไม่ใช่อาหารขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกของเยอรมันซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยูโรโซนหดตัวร้อยละ -0.4 จากเดือนก่อนหน้า
China: mixed signal
  • นักวิเคราะห์คาดว่าในวันพรุ่งนี้ (10 มี.ค. 53) ทางการจีนจะประกาศผลขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. 53 ซึ่งอาจเป็นการขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกของจีนในรอบ 6 ปี จากมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออกเนื่องจากผลของค่าเงินหยวนที่ถูกตึงไว้ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่าจีนอาจประกาศปรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนในสัปดาห์หน้า โดยให้เงินหยวนสามารถเคลื่อนไหวในกรอบที่กว้างขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
Taiwan: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 50.1 ต่อปี จากการขยายตัวของอุปสงค์จากประเทศจีนเป็นสำคัญ โดยในเดือน มี.ค. 53 มูลค่าการส่งออกไปยังจีนขยายตัวถึงร้อยละ 62.5 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 80.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 45.8 ต่อปี ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี ตามการฟนตัวของเศรษฐกิจไต้หวัน และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น
Malaysia: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิต และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสำคัญ
India: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อประเทศอินเดีย (HSBC Markit Manufacturing PMI) ในเดือนมี.ค. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 57.8 จาก 58.5 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับการส่งออกประเทศอินเดียในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 34.8 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวเร่งขึ้นถึงร้อยละ 66.4 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เป็นการขาดดุลที่น้อยลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลถึง 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ตลาดส่งออกหลักของอินเดีย คือ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ตลาดนำเข้าหลัก คือ จีน
Australia: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน มี.ค. 53 อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวมคงที่จากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การจ้างงานปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ 19,600 ตำแหน่ง มาอยู่ที่ระดับ 10.9 ล้านคนโดยเป็นผลมาจากการเร่งการผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และถ่านหิน จากความต้องการวัตถุดิบดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับที่สูงจากประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะจีน ส่งผลให้มีความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยการจ้างงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าในช่วงระหว่างเดือน ธ.ค.52 - ก.พ. จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นปจจัยเสี่ยงให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ส่งผลให้ธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือนที่ระดับร้อยละ 4.25
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.19 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคและค่าเงิน ยูโร ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงเล็กน้อย (บาทอ่อนค่าขึ้น) เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นในระดับที่น้อยกว่าค่าเงินภูมิภาคสกุลอื่นๆ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 2 เม.ย. 53 เท่ากับ 144.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า +1.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.06 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวลดลงมาก โดยดัชนี SET Index ปรับตัวลดลงประมาณ 20 จุด จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยต่างชาติขายสุทธิกว่า 85.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ทั้งนี้ จาก Bid-Cover Ratio ของการประมูลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยอายุ 1 เดือน (CB10426A) ที่ 1.57 เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อนที่ 1.27 สะท้อนให้เห็นว่ามีอุปสงค์ในการถือครองพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการขายหุ้นในช่วงสัปดาห์นี้

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ