ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้
1. จำนวนการสั่งซื้อเครื่องจักรประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ลดลงร้อยละ 5.4
2. จำนวนการล้มละลายของบริษัททั่วประเทศญี่ปุ่นลดลง
3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6
-----------------------------------
จำนวนการสั่งซื้อเครื่องจักรประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ลดลงร้อยละ 5.4 จากเดือนที่แล้ว มีจำนวน 684.6 พันล้านเยน ซึ่งการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว โดยภาคการผลิตลดลงร้อยละ 0.3 มีจำนวน 289.9 พันล้านเยน ในขณะเดียวกันภาคบริการก็ลดลงร้อยละ 4 มีจำนวน 391.3 พันล้านเยน
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2553 บริษัทสำรวจความเชื่อถือญี่ปุ่น TEIKOKU DATABANK.LTD ได้ประกาศผลการสำรวจจำนวนการล้มละลายของบริษัททั่วประเทศญี่ปุ่นประจำปี 2552 โดยจำนวนการล้มละลายของบริษัทที่มีหนี้มากกว่า 10 ล้านเยนลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หรือจำนวน 12,866 แห่งเป็นการลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่มีการปรับฐานการรวมข้อมูลในปี 2548 และจำนวนหนี้โดยรวมก็ลดลงร้อยละ 48.6 เท่ากับ 7.214 ล้านล้านเยน และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ปี
จำนวนการล้มละลายของบริษัทที่ลงทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีจำนวน 7 แห่ง และจำนวนการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีจำนวนหนี้มากกว่า 1 แสนล้านเยนนั้นลดลงร้อยละ 57 หรือ 58 แห่ง แสดงให้เห็นว่าจำนวนการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่นั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากผลการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาล และได้มีการนำระบบฟื้นฟูสถานะกิจการแบบใหม่ที่ไม่พึ่งกฎหมายหรือศาลเข้ามาใช้เพิ่มขึ้นทำให้การฟื้นฟูสถานะเป็นไปได้ง่ายขึ้น
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ.53 มีจำนวน 1.47 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 13 เดือนแล้ว
การเกินดุลการค้ามีจำนวน 778 พันล้านเยน โดยยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 มีจำนวน 4.87 ล้านล้านเยน การเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2529 เป็นต้นมาในขณะเดียวกันการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 มีจำนวน 4.87 ล้านล้านเยน เนื่องจากการนำเข้าสินค้าน้ำมันและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น
ส่วนการเกินดุลการค้าและบริการมีจำนวน 693.4 พันล้านเยน มีการขาดทุนบริการน้อยลงเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นและบริการการขนส่งดีขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดตลอดมา ลดลงร้อยละ 22.2 มีจำนวน 859.8 ล้านล้านเยน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของโลกต่ำ ทำให้ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลง ประกอบกับค่าเงินเยนแข็งตัวขึ้นถึง 88.84 เยน/ 1 ดอลลาร์ ทำให้การเกินดุลรายได้ลดลงด้วย รายละเอียดปรากฎตามตารางที่แนบ
ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนสิงหาคม 2552
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน รายการ กุมภาพันธ์ 2553 กุมภาพันธ์ 2552 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 1,470.6 1,134.8 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (29.6) (-54.9) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 693.4 69.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (900.0) (-92.5) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 778.0 196.9 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (295.1) (-80.9) การส่งออก (Exports) 4,865.5 3,302.8 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (47.3) (-50.5) การนาเข้า (Imports) 4,087.4 3,105.9 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (31.6) (-44.9) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -84.7 -127.6 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 859.8 1,104.5 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -82.6 -39.0 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -1,476.7 -1,719.9 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -1,454.0 -1,699.2 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -1,066.5 -330.1 การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) -1,254.5 -3,877.9 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) 112.9 123.0 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) 754.1 2,385.8 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -22.7 -20.7 3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -120.8 -332.7 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th