Global Economic Monitor (26-30 เมษายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 26, 2010 11:37 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • เศรษฐกิจโลกมีสัญญาณขยายตัวในสัปดาห์ที่ผ่านมา จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกขยายตัวได้ดี
  • เงินทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรของไทยโดยเฉพาะในพันธบัตรช่วงระยะยาวหลังจากมีข่าวการฟ้องร้อง Goldman Sach ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ของไทยค่อนข้างคงทรงตัว
  • ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยเทียบกับ USD แต่เป็นการอ่อนค่าไปในทิศทางเดียวกันกับค่าเงินภูมิภาค
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          27-Apr-10     US Apr Consumer Confidence Index         54.2          52.5
          28-Apr-10     JP Mar Retail Sales (%yoy)                              4.2
          28-Apr-10     US Fed Fund Rate (%)                                   0.25
          29-Apr-10     EZ Apr Consumer Sentiment               -17.0         -17.3
          30-Apr-10     JP Apr Manufacturing PMI                               52.4
          30-Apr-10     JP Mar Consumer Price Index (%)                        -1.1
          30-Apr-10     JP Mar Unemployment (%)                                 4.9
          30-Apr-10     EZ Mar Unemployment (%)                                10.0
          30-Apr-10     US Q1 Advanced GDP (%yoy)
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: improving economic trend
  • ยอดขายบ้าน (Exiting Home Sales) ของสหรัฐฯ ในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 6.8 จากเดือนก่อนหน้าหรือขยายตัวร้อยละ 20 จากปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 5.35 ล้านหลังต่อปีส่วนหนึ่งจากการเร่งทำสัญญาซื้อขายบ้านก่อนที่มาตรการลดหย่อนภาษีจะสิ้นสุดลง โดยรัฐบาลจะให้เครดิตภาษีสำหรับบ้านที่ทำสัญญาซื้อขายภายในเดือน เม.ย. 53 สำหรับราคาเฉลี่ยราคาบ้านปรับขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังจากสิ้นสุดมาตรการของภาครัฐ การฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 2 จะชะลอลง
Japan: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 43.5 ต่อปี จากอุปสงค์จากเอเชียและสหรัฐฯ เป็นสำคัญ โดยยอดส่งออกไปยังเอเชีย (สัดส่วนร้อยละ 60 ของการส่งออกทั้งหมด ขยายตัวที่ร้อยละ 52.9 ต่อปี โดยการส่งออกไปจีนขยายตัวที่ร้อยละ 47.7 ต่อปี ขณะที่การส่งออกไปสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.5 ต่อปี สอดคล้องกับการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.7 ต่อปี ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 53 สูงที่สุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่งที่ระดับ 40.9 สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อรายได้และการจ้างงานในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
Eurozone: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการในภาคอุตสาหกรรม (Markit Mfg PMI) และในภาคบริการ (Markit Service PMI) เบื้องต้นในเดือน เม.ย.53 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 57.5 และ 55.5 ตามลำดับ บ่งชี้ทิศทางการขยายตัวทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของยูโรโซนในไตรมาสที่ 2 ของปีสำหรับการส่งออกในเดือน ก.พ. 53 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 9.7 ต่อปีขณะที่การนำเข้าขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เช่นกันที่ร้อยละ 5.7 ต่อปีคาดว่าเป็นผลจากการส่งออกของเยอรมันที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
China: improving economic trend
  • เศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.9 ต่อปีเนื่องจากภาคการส่งออกและผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐสำหรับความกังวลต่อปัญหาฟองสบู่ราคาในภาคอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลได้ประกาศมาตรการเข้มงวดการขายบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ โดยห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการรับเงินจองบ้านที่ยังสร้างไม่เสร็จ และห้ามมิให้มีการขายเกินราคาอย่างผิดปกติ และผู้ประกอบการต้องรายงานให้สาธารณะชนทราบถึงจำนวนบ้านที่มีอยู่จริงพร้อมทั้งราคาที่เหมาะสม และให้เริ่มขายบ้านได้ภายใน 10 วันหลังจากที่ได้รับอนุญาตให้ขายได้ (Pre-Sale Approval)
Taiwan: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 43.7 ต่อปี จากคำสั่งซื่อที่ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประเทศคู่ค้าหลักอย่างจีนและสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราการว่างงานเดือน มี.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 บ่งชี้อุปสงค์ทั้งภายในและนอกประเทศที่เพิ่มสูง ส่งสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจไต้หวัน
Singapore: improving economic trend
  • ตัวเลข GDP เบื้องต้น (Advance GDP) ขยายตัวที่ร้อยละ 13.1 ต่อปีหรือร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าทั้งปี (%qoq_saar) จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 139.0% qoq_saar ในขณะที่ภาคก่อสร้างไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนภาคการบริการขยายตัวร้อยละ 11.0%qoq_saar ทั้งนี้ แม้จะยังไม่มีการประกาศตัวเลขทางฝั่งอุปสงค์แต่การขยายตัวอย่างมหาศาลของภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงการขยายตัวของภาคการส่งออกของสิงคโปร์ที่ได้อนิสงค์ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมไปถึงการลงทุนภาคเอกชนที่อาจจะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ทางการสิงคโปร์ได้มีการปรับเพิ่มประมาณการเงิน

เฟ้อขึ้นอีก 50 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 — 3.5 ต่อปี

Hongkong: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือนมี.ค. 53 อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือนที่ร้อยละ 4.4 ของกำลังแรงงานรวม ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายพื้นฐานของครัวเรือนของรัฐบาล (one-off relieve measure) ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 1 ปี 53 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ต่อปีน
India: improving economic trend
  • ธนาคารกลางอินเดียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repurchase rate) อีก 25 bps มาอยู่ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี และเพิ่มอัตราส่วน Reserve Requirement มาอยู่ที่ร้อยละ 6.00 จากร้อยละ 5.75 เพื่อชะลอการขยายตัวของเงินเฟ้อซึ่งขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาโดยในเดือน มี.ค. 53 เงินเฟ้อของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 9.9 เท่ากับเดือนก่อนหน้า
Foreign Exchange Development
  • ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.40 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐสอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคและค่าเงินยูโร จากปัญหาความกังวลว่าปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซอาจไม่ได้รับการช่วยเหลือได้อย่างทันถ่วงทีจึงส่งผลให้ตลาดถอนการลงทุนในยุโรปและภูมิภาคและเข้าถือเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือเป็นเงินสกุลที่มีความปลอดภัยมากกว่า จึงส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐบ่งชี้ได้จาก USD Index ที่เพิ่มขึ้นค่าขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย (บาทแข็งค่าขึ้น) ที่ประมาณร้อยละ 0.18 อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากช่วงทั้งเดือนที่ผ่านมาจะพบว่า NEER เคลื่อนไหวในกรอบแคบ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 16 เม.ย. 53 เท่ากับ 146.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า +1.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยจากจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากฐานที่ต่ำในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและทรงตัวอยู่ในช่วงประมาณ 750 — 760 จุด โดยทั้งสัปดาห์มีต่างชาติเข้าซื้อสุทธิ 104.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นบ่งชี้จากดัชนี Nikkei และตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคปรับตัวลดลงจากความกังวลของกรีซ และการที่สหรัฐฯจะใช้เกณฑ์กำกับธุรกิจทางการเงินฉบับใหม่ที่จะควบคุมการประกอบธุรกิจมากขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อสถาบันการเงินให้มีกำไรลดลง ประกอบกับทางการจีนประกาศให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศทำ stress tests สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ทุกไตรมาส
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วงระยะยาวโดยระยะ 10 ปีปรับตัวลดลงประมาณ 20 Basis points จากการเข้าซื้อพันธบัตรโดยต่างชาติหลังจากที่ กลต. ของสหรัฐประกาศฟ้องบริษัท Goldman Sach จึงส่งผลให้ความต้องการถือสินทรัพย์ระยะยาวที่มีความมั่นคงปรับตัวเพิ่มขึ้น

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ