รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 - 30 เมษายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 6, 2010 11:12 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มี.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 150.0 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -23.2 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -46.5 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 53 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.0 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 42.8 ต่อปี ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 58.9 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 53 มีจำนวน 1.45 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 17.6 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มี.ค. 53ขยายตัวร้อยละ 32.6 ต่อปี ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.1 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                      Forecast           Previous
Apr: Headline Inflation (%yoy)       2.9                3.4
  • เนื่องจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 23.1 บาท/ลิตรทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 (%mom) โดยมีปัจจัยหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิงน้ำประปาและแสงสว่างปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการยกเลิกนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ในส่วนของการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายน้ำประปา
Economic Indicators: This Week

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน มี.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน150.0 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -23.2 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนจำนวน 9.7 พันล้านบาท คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -32.0 ต่อปี และรายจ่ายประจำจำนวน 120.0 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -26.9 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือนมี.ค. 53 ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจำนวน 8.5 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 6.7 พันล้านบาท และรายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำนวน 3.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำ นวน 934.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.9 ต่อปี โดยเป็นงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณที่ร้อยละ 48.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณ นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง2555 ณ วันที่ 23 เม.ย. 53 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 116.5 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 33.3 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -46.5 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -4.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลขาดดุลจำนวน -51.4 พันล้านบาท ทั้งนี้ฐานะการคลังในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน -267.2 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำ นวน -54.7 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -321.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 53 มีจำนวน 118.6 พันล้านบาทซึ่งลดลงจากต้นปีงบประมาณที่มีจำนวนถึง 293.8 พันล้านบาท ซึ่งการการขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงการทำนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 53 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -0.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -2.0 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะในหมวดไม้ยืนต้นที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตยางพาราเป็นสำคัญ เนื่องจากราคายางพาราขยายตัวในระดับสูงจูงใจให้เกษตรกรกรีดยางเพิ่มขึ้น ส่วนหมวดปศุสัตว์ ผลผลิตขยายตัวสูงขึ้นจากผลผลิตไก่เนื้อเป็นสำคัญ ในขณะที่พืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง ผลผลิตลดลงเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช (เพลี้ยน้ำตาลกระโดดในข้าว และเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง)

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี (เป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน) จากการขยายตัวของราคาผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะ ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ผลผลิตในประเทศและของโลกลดลงเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำ นวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวในบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลัก เช่น อินเดีย บราซิล และเวียดนาม ในขณะที่ไทยมีผลผลิตลดลงเนื่องจากปัญหาโรคระบาดและภัยแล้ง

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 42.8 ต่อปี ซึ่งแม้ว่าจะชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 57.3 ต่อปี แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก ที่ยังขยายตัวในระดับสูง 2) รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยรายได้เกษตรกรเดือนมี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.9 ต่อปี และ 3) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 58.9 ต่อปี เร่งขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 58.0 ต่อปี จากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพ และรถบรรทุกขนาด 2 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 60.4 และ 18.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 57.6 และ 39.5 ต่อปี ตามลำดับ ตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสะท้อนได้จากการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกที่เริ่มกลับเข้าสู่ระดับเดิมก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมี.ค. 53 มีจำนวน 1.45 ล้านคน หรือขยายตัวร้อยละ 17.6 ต่อปี และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล จะหดตัวที่ร้อยละ -4.6 ผลจากการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกและอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่มีความอ่อนไหวต่อสถานการณ์การเมือง ทั้งนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 1 ยังคงอยู่ที่ 4.7 ล้านคน และขยายตัวที่ร้อยละ 28.2 ต่อปี

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 32.6 ต่อปี ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ31.1 ต่อปี และถือเป็นการขยายตัวในระดับที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาสาเหตุของการขยายตัวพบว่า เป็นผลจากการฟื้นตัวอย่างมากของอุตสาหกรรมที่เน้นการผลิตเพื่อส่งออก ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนโดยอุตสาหกรรมที่ขยายตัวในอัตราสูงมาก ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องประดับ สาเหตุหนึ่งที่อุตสาหกรรมดังกล่าวขยายตัวในระดับสูงมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก ประกอบกับปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว จึงมีการเร่งการผลิตเพื่อรองรับความต้องการจากต่างประเทศที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการเร่งการผลิตสินค้าเพื่อปรับสต๊อกที่ลดลงในช่วงก่อนหน้าส่งผลให้ไตรมาส 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.0 ต่อปี ซึ่งการที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูง ประกอบกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 39 ของ GDP ทำให้คาดว่า GDP ไทยในไตรมาส 1 น่าจะขยายตัวได้ดี ทั้งนี หากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า อัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.8 ส่งผลให้ไตรมาส 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

Economic Indicators: Next Week

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมา นับเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 สาเหตุสำคัญจากฐานการคำนวณที่ต่ำในปีที่ผ่านมา โดยราคาน้ำมันดีเซลในช่วงนั้นอยู่ที่ระดับเพียง 23.1 บาท/ลิตร ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 (%mom) โดยมีปัจจัยหลักมาจากดัชนีราคาในหมวดไฟฟ้าเชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่างปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการยกเลิกนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ในส่วนของการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายน้ำประปา ขณะที่ดัชนีราคาผักและผลไม้ปรับตัวลดลงตามจำนวนผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ