Global Economic Monitor (3-7 พฤษภาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 6, 2010 11:49 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปยังคงเป็นประเด็นน่าจับตามองว่าจะกระทบต่อการฟนตัวของเศรษฐกิจยุโรปในอนาคตหรือไม่ โดยตลาดยังคงรอความชัดเจนในเรื่องขนาดของความช่วยเหลือจาก IMF และประเทศเยอรมัน รวมทั้งแผนการลดการขาดดุลการคลังของกรีซ ซึ่งฝายต่างๆ ต้องสามารถหาข้อสรุปได้ก่อนการชำระหนี้งวดแรกของกรีซในวันที่ 19 พ.ค. 53 จำนวน 8.5 พันล้านยูโร
  • ภาวะการเมืองส่งผลให้เงินลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไหลออกเข้าสู่ตลาดพันธบัตรและ/หรือออกจากประเทศ ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                Forecast*      Previous
          03-May-10     CH Apr PMI                                             65.5
          03-May-10     EZ Apr Markit Mfg PMI                     57.5         56.6
          03-May-10     US Apr ISM Manufacturing PMI              59.6         59.6
          05-May-10     EZ Mar Retail Sales (% yoy)                            -1.1
          06-May-10     CH Consumer Confidence Index (%yoy)                    52.4
          06-May-10     US Jobless Claim (Thousand)                           448.0
          07-May-10     CH Mar Retail Sales (% yoy)                             3.1
          07-May-10     US Apr Unemployment Rate (%)               9.7          9.7
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ดัชนึความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 53 สูงที่สุดในรอบ 18 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 57.9 บ่งชี้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการจ้างงานสำหรับการฟนตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์พบว่า ดัชนีราคาบ้านใน 20 รัฐ (Case-Shiller House Price Index) ในเดือน ก.พ. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อหักผลทางฤดูการแล้วพบว่าดัชนีราคาบ้านหดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) บ่งชี้การฟนตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงเป็นไปอย่างเปราะบาง
Eurozone: mixed signal
  • ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (Economic Sentiment) ในเดือน เม.ย. 53 สูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ระดับ 100.6 จากความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจโลก บ่งชี้การฟนตัวของเศรษฐกิจยุโรป อย่างไรก็ตาม ปญญาหนี้สาธารณะของหลายประเทศในยุโรปคาดว่ายังคงเป็นปญหาสำคัญต่อการฟนตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยตลาดยังคงรอความชัดเจนในเรื่องขนาดของความช่วยเหลือจาก IMF และประเทศเยอรมัน รวมทั้งแผนการลดการขาดดุลการคลังของกรีซ นอกจากนี้ การปรับลดระดับความน่าเชื่อถือในพันธบัตรรัฐบาลกรีซ สเปนและโปรตุเกสโดยบริษัทจัดอันดับ S&P ในช่วงที่ผ่านมา ยังได้ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภูมิภาค อันส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และ CDS ของประเทศดังกล่าวปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูง
Japan: mixed signal
  • ยอดค้าปลีกในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี บ่งชี้การฟนตัวของอุปสงค์ภายในประเทศสอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 53 สูงที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง สำหรับภาคการผลิตพบว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) จากแรงส่งของภาคการส่งออก นอกจากนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝายผลิต (Mfg PMI) ในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ที่ระดับ 53.5 จากคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกที่ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 บ่งชี้ว่าภาคการส่งออกจะยังเป็นปจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจญี่ปุนอย่างน้อยในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงด้านเงินฝดและการว่างงานยังคงไม่หมดไป โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 53 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ -1.1 ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน มี.ค.53 พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม
Korea: improving economic trend
  • ไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวสูงกว่าคาดที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี (%yoy) จากภาคการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 16.1 ต่อปี โดยเฉพาะในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังจีน ทั้งนี้การขยายตัวในอัตราสูงมากดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า โดยหากเทียบเป็นรายไตรมาส พบว่า GDPในไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 1.8 (%qoq) เร่งขึ้นจากการขยายตัวของไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อย 0.2 (%qoq) ส่งสัญญาณการฟนตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตามเกาหลีใต้ยังคงมีความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี และความเสี่ยงจากเศรษฐกิจของจีนที่อาจแผ่วลง
Hong Kong: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือนมี.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 32.1 ต่อปี (% yoy) ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 39.8 ต่อปี ทั้งนี้การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกและการนำเข้า เป็นผลจากฐานที่ต่ำในช่วงปีก่อนหน้า และความต้องการสินค้าโดยรวมที่เพิ่มขึ้นจากทั้ง จีนและสหรัฐฯ เป็นสำคัญ
Australia: improving economic trend
  • ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ (Consumer price index) ไตรมาสแรกของปี 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี (% yoy) โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากสินค้าในหมวดที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 6.1 ต่อปี การขนส่งเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.1 ต่อปี โดยความกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น อาจส่งผลให้ทางธนาคารกลางของออสเตรเลียปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีกได้ในการประชุมครั้งต่อไป
Singapore: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุสาหกรรมเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 43.0 ต่อปี จากผลผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเวชภัณฑ์(Biomedical) ที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 73.8 และ 65.1 ต่อปี ตามลำดับ
Phillipines: improving economic trend
  • การนำเข้าในเดือนก.พ. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 27.6 ต่อปี โดยเป็นผลส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 48 ของการนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสัดส่วนการนำเข้ามากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การส่งออกในเดือน ก.พ. 53 ปรับตัวดีขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าดังกล่าวเป็นสินค้านำเข้าเพื่อการส่งออกเป็นหลัก
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.34 เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ตามความต้องการขายเงินบาทเพื่อซื้อดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มขึ้นตามภาวะความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ ในขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆทรงตัวหรือแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเทียบกับค่าเงินอ้างอิง (USD Index) โดยเฉพาะค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงมามากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ระดับ 1.3140 จากปญหาหนี้สาธารณะของกรีซที่เริ่มส่งสัญญาณว่าอาจมีการ default เพิ่มมากขึ้นในการชำระหนี้ครั้งถัดไป ทั้งนี้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้เคลื่อนๆไหวในช่วงแคบ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 23 เม.ย. 53 เท่ากับ 146.69 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า +0.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากจากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยต่างชาติขายออกสุทธิประมาณ 187 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มรุนแรงขึ้นและได้เริ่มส่งผลต่อความมั่นใจของนักลงทุนแล้ว ปรับตัวลดลงมาประมาณ 5 จุด ฐานที่ต่ำในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้าและทรงตัวอยู่ในช่วงประมาณ 750 - 760 จุด โดยทั้งสัปดาห์มีต่างชาติเข้าซื้อสุทธิ 104.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯและยุโรปส่วนใหญ่ ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์จากการที่บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งประกาศผลการดำเนินงานมากกว่าคาด ประกอบกับนักลงทุนคลายความกังวลในสถานการณ์กรีซหลังจากที่เจ้าหน้าที่ EU ได้กล่าวว่าน่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแผนการช่วยเหลือรัฐบาลกรีซภายในสัปดาห์นี้
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วงระยะปานกลางระหว่าง 4-7 ปีจากการเข้ามาพักเงินที่ออกมาจากตลาดหลักทรัพย์ สะท้อนได้จาก Bid cover ratio ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงอุปสงค์การลงทุนในพันธบัตรระยะกลางที่มีมากกว่าอุปทานกว่า 3 เท่า

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM and Dr. Sirikamon Udompol,

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3253 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ