Global Economic Monitor (10-14 พฤษภาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 10, 2010 11:28 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • สหภาพยุโรป และ IMF อนุมัติแผนช่วยเหลือกรีซวงเงิน 110 พันล้านยูโร (146 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยเหลือการชำระหนี้พันธบัตรของรัฐบาลกรีซ
  • ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปและความไม่เชื่อมั่นต่อภาวะการคลังของรัฐบาลกรีซ ได้ส่งผลให้เงินทุนไหลออกจากตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรทั่วโลกและกลับเข้าสู่การถือพันธบัตรรัฐบาล US (ภาวะ Risk aversion) ซึ่งทำให้ค่าเงินภูมิภาคและยูโรอ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                  Forecast*      Previous
          10-May-10     CN Apr International Trade (billion)                    -7.24
          11-May-10     CN Apr Consumer Price Index (% yoy)                       2.4
          11-May-10     CN Apr Retail Sales (% yoy)                              18.0
          12-May-10     EZ Q1 Flash GDP (% yoy)                                  -1.1
          12-May-10     EZ Mar Industrial Output (% yoy)                          4.1
          13-May-10     AU Apr Unemployment (%)                                   5.3
          14-May-10     US Apr Retail Sales (% mom)                               1.9
          14-May-10     US Apr Industrial Production (% mom)                      0.1
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • GDP ไตรมาสแรกของปี 53 (ตัวเลขเบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี (%yoy) หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.8 (%qoq) จากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี และร้อยละ 7.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสุทธิหดตัวที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี สำหรับดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝายผลิต (ISM Mfg PMI) ในเดือน เม.ย. 53 สูงที่สุดในรอบกว่า 6 ปีที่ระดับ 60.4 ขณะที่ดัชนีดังกล่าวในภาคบริการ (ISM NonMfg PMI) คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.4 บ่งชี้การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 จะมีปจจัยบวกจากภาคการผลิต อย่างไรก็ตามพบว่าการบริโภคภาคเอกชนอาจชะลอลงโดยยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (Domestic Vehicle Sales) ในเดือน เม.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 8.5 ล้านคันต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 8.8 ล้านคันต่อปี
Eurozone: worsening economic trend
  • IMF และสหภาพยุโรปตกลงให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลกรีซมูลค่า 110 พันล้านยูโร (146 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยเหลือการชำระหนี้พันธบัตรของรัฐบาลกรีซ โดยมีเงื่อนไขให้กรีซปรับลดการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะโดยเร็ว ทั้งนี้ รัฐบาลกรีซได้ประกาศว่าจะตัดงบประมาณรายจ่ายมูลค่า 30 พันล้านยูโร (40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือคิดเป็นร้อยละ 13 ของ GDP ลงในปีนี้ สำหรับภาวะเศรษฐกิจล่าสุดพบว่า ยอดค้าปลีกในเดือน มี.ค. 53 ไม่ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนการฟนตัวอย่างเปราะบางของการบริโภคภาคเอกชน สอดคล้องกับภาคการจ้างงานที่ยังคงไม่มีสัญญาณฟนตัว โดยอัตราการว่างงานในเดือน มี.ค. 53 ยังอยู่ในระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.0 ของกำลังแรงงาน นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 1.4 จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
China: improving economic trend
  • ธนาคารกลางจีนประกาศเพิ่มสัดส่วนสำรองเงินฝากของธนาคาร (Bank Reserve Requirement) เป็นครั้งที่ 3 ในรอบปี โดยเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.5 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พ.ค. 53 เพื่อลดบริมาณเงินที่หมุนเวียนในระดับและควบคุมสินเชื่อไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นสำหรับแนวโน้มการผลิตพบว่า ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝายผลิต (NBS PMI) ในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 มาอยู่ที่ระดับ 55.7 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี
Taiwan: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 1.34 ต่อปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
Malaysia: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดในรอบ 18 เดือนที่ร้อยละ 36.4 ต่อปี จากการขยายตัวของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์มและเคมีภัณฑ์เป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 45.3 ต่อปี จากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินค้าขั้นกลาง ส่งผลให้ในเดือน มี.ค. 53 ดุลการค้าเกินดุล 14.4 พันล้านริงกิต
Singaore: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 51.9 บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 จากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือนเม.ย.53 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 54.8
Hong Kong: improving economic trend
  • ยอดค้าปลีกเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 19.0 ต่อปี จากยอดจำหน่ายรถยนต์และชิ้นส่วนประกอบที่ขยายตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 48.2 ต่อปี และสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี เป็นสำคัญ ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝายจัดซื้อ (Mfg PMI) เดือนเม.ย. 53 ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 55.3 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 54.9 จากความต้องการสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากจีนเป็นหลัก
Australia: improving economic trend
  • การส่งออกสินค้าเดือนมี.ค. 53 หดตัวร้อยละ -18.2 ต่อปี แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 (% qoq sa) จากการส่งออกแร่เหล็กและถ่านหินไปยังจีน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวเป็นครั้งแรกแรกในรอบ 1 ปีที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี จากการนำเข้าสินค้าทุน รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบเป็นหลัก ทั้งนี้จากแรงกดดันด้านเงินที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ทางธนาคารกลางออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 7 เดือน มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 4.25
Vietnam : improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 33.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 27.4 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าของเวียดนามกลับขาดดุลเพิ่มขึ้น โดยขาดดุล -1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าที่ขาดดุล -1.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือน เม.ย. 53 ชะลอมาอยู่ที่ร้อยละ 9.2 ต่อปี จากร้อยละ 9.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 13.0 ต่อปี เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี ทางด้านยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 35.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 33.5 ต่อปี
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทยังคงฅเคลื่อนไหวในช่วงแคบที่ประมาณ 32.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคและค่าเงินยูโรล้วนอ่อนค่าลงเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามภาวะ risk aversion จากสถานการณ์หนี้สาธารณะของกรีซซึ่งแม้ว่าจะได้รับเงินช่วยเหลือจาก EU และ IMF แล้วนั้นยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ และส่งผลให้นักลงทุนถอนการลงทุนจากตลาดยุโรปและภูมิภาค ส่งผลให้ค่าเงินดังกล่าวอ่อนค่าลงเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ดัชนี USD index ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปสูงที่สุดในรอบ 15 เดือนที่ระดับ 84.73 ทั้งนี้ การที่ค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคและยูโรอ่อนค่าลงในขณะที่ค่าเงินบาททรงตัวนั้นส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากว่าร้อยละ 1.39 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 30 เม.ย. 53 เท่ากับ 147.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า +0.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวผันผวน โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงต้นสัปดาห์จากมาตรการ Roadmap สร้างความปรองดองแต่ปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ตามดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกที่ล้วนปรับตัวลดลงจากภาวะ risk aversion จากสถานการณ์หนี้สาธารณะในยุโรปซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของการลุกลามออกจากประเทศกรีซและอาจเป็นปจจัยลบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรป โดยดัชนี Dow Jones และ Nikkei ปรับตัวลดลงไปกว่าร้อยละ 3 ในช่วงปลายสัปดาห์
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงระยะกลางปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก จากความต้องการถือพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลงหลังจากที่ตลาดเกิดความวิตกในการถือพันธบัตรรัฐบาลกรีซและพันธบัตรรัฐบาลของประเทศอื่นๆและกลับไปถือพันธบัตรของรัฐบาล US ซึ่งตลาดมองว่ามีความเป็น Risk-free assets มากที่สุด ส่งผลให้ Yield curve ของพันธบัตรรัฐบาล US ระยะกลางถึงยาวปรับตัวลดลง

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ