สรุปความเห็นนักวิเคราะห์ต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุนสัปดาห์นี้
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยนักวิเคราะห์ 4 ราย เห็นว่า หลังจากเยอรมันได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือสำหรับกรีซแล้ว และมีแนวโน้มว่า ECB อาจจะให้ความช่วยเหลือธนาคารต่าง ๆ และประเทศอื่นในยุโรปที่ประสบปัญหาหนี้สิน ได้ช่วยผ่อนคลายความวิตกว่าปัญหาหนี้สินของกรีซจะลุกลามออกไป รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศอาจจะได้ข้อยุติภายในสัปดาห์นี้
- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 ว จะคงเดิมอยู่ที่ 1.25% ต่อไป อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การชุมนุมมีแนวโน้มดีขึ้น กนง. น่าจะเริ่มมองความเป็นไปได้ในการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในการประชุมครั้งต่อไป
- สำหรับ Bond Yield อายุ 2 ปี มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยนักวิเคราะห์ 5 ราย เนื่องจากความวิตกกังวลในปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซลดลง และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้น ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลลง หากการเมืองคลี่คลาย จะส่งผลให้เกิดการคาดการณ์ว่า ธปท. จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ววันนี้
- คาดว่า Bond Yield อายุ 10 ปี มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ 6 ราย เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการลดการขายพันธบัตรระยะยาวออกมา ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาประกอบกับสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรตัวยาวในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งต้องตามผลการประมูลซึ่งจะเป็นตัวสะท้อนความต้องการ ของตลาด รวมทั้งสถานการณ์วุ่นวายทางการเมืองเริ่มที่จะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้นจึงน่าที่จะทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและเศรษฐกิจดีขึ้น
- คาดว่า SET มีแนวโน้มปรับตัวลง โดยนักวิเคราะห์ 4 ราย เห็นว่า กรณีการชุมนุมของกลุ่ม นปช. หากมีความยืดเยื้อ และเกิดเหตุการณ์ในเชิงลบอาจกดดันตลาดหุ้นไทย ลงไปได้บ้าง แต่เชื่อว่าจะไม่มีมากแล้ว และคาดว่าจะเกิดแรงเก็งกำไรในช่วงสัปดาห์นี้ หากระหว่างสัปดาห์กลุ่ม นปช.ไม่ยุติการชุมนุม เพราะถือว่าเป็นช่วงใกล้ของวันมอบตัวของแกนนำกลุ่ม นปช. และความเห็นของท่านนายกรัฐมนตรีว่าวันที่ 15 พ.ค. ดูจะช้าเกินไปต่อการยุติการชุมนุมเช่นกัน
- นักวิเคราะห์ 3 ราย เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนเริ่มเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
ความเห็น สศค.
- คาดว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ เนื่องจากปัญหาของหนี้สาธารณะของกรีซและในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อมั่น ของนักลงทุน รวมทั้งปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th