รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 10 - 14 พฤษภาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 17, 2010 14:01 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,075.14 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 66.72 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.90 ของ GDP
  • การจ้างงานรวมเดือน มี.ค.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 37.6 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี ในขณะที่อัตราการว่างงานเดือน มี.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำ เดือนเมษายน 2553 จัดเก็บได้สุทธิ 158,984 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 67,368 ล้านบาทหรือร้อยละ 73.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 68.0 ต่อปี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ)ในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.0 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนเม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 67.2
Indicators next week
   Indicators                      Forecast           Previous
Apr: Passenger Car Sales (%yoy)       25.0               42.8
  • เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองที่มีความตึงเครียดมากขึ้น จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน เช่น รถยนต์รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ประกอบกับความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากเกิดปัญหาวิกฤติหนี้ของประเทศกรีซ
Apr: TISI (level)                     95.0              101.6
  • เนื่องจากคาดว่ายอดขายภายในประเทศจะปรับตัวลดลงตามการค้าและการบริโภคภายในประเทศที่คาดว่าจะลดลงตามความวิตกกังวลในสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.พ. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,075.14 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 66.72 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.90 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 68.3 พันล้านบาท 2.6 พันล้านบาท และ 0.87 พันล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงสุทธิ 5.0 พันล้านบาท

การจ้างงานรวมเดือน มี.ค.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 37.6 ล้านคนเพิ่มขึ้น 1.0 ล้านคนจากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี โดยการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในสาขาเกษตรกรรม โรงแรมภัตตาคาร และค้าส่งค้าปลีก ที่เพิ่มขึ้น 5.5 2.6 และ 2.2 แสนคน ตามลำ ดับ อันเป็นผลจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นมากจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ หากปรับค่าการเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาลแล้วพบว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 2.3 แสนคน หรือร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อน

อัตราการว่างงานเดือน มี.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 3.7 แสนคน อันเป็น ผลจากจำนวนผู้ว่างงาน ในภาคการผลิตค้าส่งค้าปลีกและเกษตรกรรมที่ลดลงมาก ส่งผลให้อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 53 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม

ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2553 จัดเก็บได้สุทธิ 158,984 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการจำนวน 67,368 ล้านบาทหรือร้อยละ 73.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 68.0 ต่อปี โดยกรมสรรพากรที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 13,614 ล้านบาท ผลมาจากการจัดเก็บที่สูงกว่าประมาณการของภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรมสรรพสามิต ที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 9,653 ล้านบาท มาจากการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการของภาษีน้ำ มันและรถยนต์ เป็นสำคัญ นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้รับโอนเงินจากการยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 49,016 ล้านบาทส่งผลให้ 7 เดือนแรกของปี งปม. 53 (ต.ค.52-เม.ย.53) รายได้รัฐบาลจัดเก็บได้สุทธิ 839,630 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 27.7 ต่อปีและสูงกว่าประมาณการ 201,422 ล้านบาท

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ) ในเดือนเม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 27.7 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนแต่อย่างไรก็ตาม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ 4 เดือนแรกปี 53 ยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 21.9 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจากรายได้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์ดี

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน เม.ย.53 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปี ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 132.1 ต่อปี เนื่องจากเร่งการทำธุรกรรมการโอนในเดือนก่อนหน้าไปแล้วจากการสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจาคอสังหาริมทรัพย์เมื่อเดือน มี.ค. 53 อย่างไรก็ตามแนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพย์ยังมีแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน มี.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 67.2 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 69.8 ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก 1) สถานการณ์ทางการเมืองที่มีความตึงเครียดมากขึ้นได้ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงลบต่อผู้บริโภค รวมถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และ 2) ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากเกิดปัญหาวิกฤติหนี้ของประเทศกรีซ

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งใน เดือน เม.ย. 53 คาดว่าจะขยายที่ร้อยละ 25.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 42.8 ปี เนื่องจาก 1) สถานการณ์ทางการเมืองที่มีความตึงเครียดมากขึ้น จะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในหมวดคงทน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นต้นและ 2) ความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังจากเกิดปัญหาวิกฤติหนี้ของประเทศกรีซ

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 95.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 101.6 เนื่องจากคาดว่ายอดขายภายในประเทศจะปรับตัวลดลง ตามการค้าและการบริโภคภายในประเทศที่คาดว่าจะลดลงตามความวิตกกังวลในสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ