Global Economic Monitor (17-21 พฤษภาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 25, 2010 11:39 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • GDP ยูโรโซน มาเลเซีย และฮ่องกง ประจำไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา แม้ภาคการจ้างงานจะยังคงไม่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจน
  • ตัวเลขเศรษฐกิจประเทศจีนที่ปรับตัวดีขึ้นและสถานการณ์ยุโรปที่เริ่มผ่อนคลายลงได้ทำให้ความต้องการลงทุนเริ่มกลับเข้ามาในตลาดเอเชียอีกครั้ง ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์และค่าเงินในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาวะการเมืองในประเทศได้ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลง
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                  Forecast*      Previous
          18-May-10   JP Apr Consumer Confidence Index                           40.9
          19-May-10   JP Mar Capacity Utilization (% mom)                         0.0
          19-May-10   MY Apr Consumer Price Index (% yoy)                         1.3
          19-May-10   US Apr Consumer Price Index (% yoy)                         2.3
          20-May-10   EZ May Consumer Confidence Index                          -15.2
          20-May-10   HK Apr Consumer Price Index (% yoy)                         2.0
          21-May-10   SG Q1 Final GDP (% yoy)                     13.1            4.0
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • การส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 51 โดยขยายตัวที่ร้อยละ 20.4 ต่อปี และร้อยละ 24.2 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 40.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 53 อยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสวนทางกับตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payrolls) ในเดือน เม.ย. 53 ที่เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 4 ปี ที่ 290,000 ตำแหน่งงาน โดยจำนวนชั่วโมงการทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 34.1 ชั่วโมงจาก 34.0 ชั่วโมงในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้สัญญาณการฟนตัวในภาคการจ้างงาน
Eurozone: improving economic trend
  • GDP (เบื้องต้น) ในไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) จากเศรษฐกิจอิตาลี เยอรมันและสเปนที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.1 จากไตรมาสก่อนหน้าเป็นสำคัญ โดยการขยายตัวของ GDP ดังกล่าว ส่วนหนี่งเป็นผลจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (ไม่รวมภาคก่อสร้าง) ในเดือน มี.ค. 53 ที่อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 15 เดือนโดยขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จากปญหาหนี้สาธารณะในกรีซและการว่างงานที่ยังคงไม่มีแนวโน้มลดลง ทำให้แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนในระยะต่อไป คาดว่าจะชะลอลงจากไตรมาสแรก
China: mixed signal
  • การส่งออกในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 30.4 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 50.1 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลที่ 1.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาดสำหรับอุปสงค์ภายในประเทศพบว่า ยอดค้าปลีกในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.0 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายเครื่องใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์ก่อสร้างและผลิตภัณฑ์น้ำมันเป็นสำคัญ ด้านการลงทุนสินทรัพย์ถาวรในเขตเมืองระหว่างเดือน ม.ค. - เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ด้านการผลิตพบว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 18.1 สำหรับเสถียรภาพด้านราคาพบว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 53 อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 18 เดือนที่ร้อยละ 2.8 สอดคล้องกับดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 12.8 ต่อปีจากระดับ 11.7 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า
Malaysia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี หรือร้อยละ 1.7 (% qoq) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้น โดยภาคการส่งออกขยายตัวถึงร้อยละ 19.3 ต่อปี หรือร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% qoq) จากการฟนตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การลงทุน การบริโภคภาครัฐและภาคเอกชนขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า นอกจากนี้ธนาคารกลางประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปีมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มสูงขึ้นทั้งสิ้น 50 bs จากต้นปี โดยทางธนาคารกลางประกาศว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ (normalization of rate) ตามการฟนตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนและเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Hong Kong: improving economic trend
  • ไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี หรือร้อยละ 2.4 (% qoq) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของภาคการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ
India: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อประเทศอินเดียในเดือน เม.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 ต่อปีมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ร้อยละ 9.5 ต่อปี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ต่อปี และมีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps ในการประชุมเดือนหน้า (27 ก.ค. 53) ทั้งนี้ในปจจุบัน Repurchase Rate ของอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 5.25 โดยเป็นการปรับเพิ่ม 25 bps ในเดือน มี.ค. 53 และอีก 25 bps ในเดือน เม.ย. 53 แต่ไม่มีการปรับเพิ่มใดๆในเดือน พ.ค. 53
South Korea: improving economic trend
  • ธนาคารกลางประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 2.00 เพื่อเฝ้ารอดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงในเรื่องวิกฤตหนี้ในสหภาพยุโรป และปัญหาฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สำหรับอัตราการว่างงานเดือน เม.ย.53 อยู่ที่ 3.7 ของกำไรแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานในตลาดสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึง 401,000 คน
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทยังคงฅทรงตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 32.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นหลังจากที่ประเทศจีนประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดีกว่าที่คาดไว้ และมีข่าวว่าอาจมีการปล่อยเสรีค่าเงินหยวน อีกทั้งการเมืองประเทศฟิลิปปินส์เริ่มมีแนวโน้มมั่นคงขึ้นหลังจากการเลือกตั้ง จึงส่งผลให้ตลาดเข้าลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคมากขึ้น ในขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามนิยาม USD Index ยังคงแข็งค่าขึ้นเนื่องจากค่าเงินเยนและยูโรได้อ่อนค่าลงมามากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยส่วนหนึ่งยังคงมาจากความไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ไขปญหาหนี้สาธารณะของยุโรป ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้าเนื่องจากค่าเงินภูมิภาคแข็งค่าขึ้นแต่ค่าเงินเยนและยูโรซึ่งมีน้ำหนักถัวเฉลี่ยที่มากกว่านั้นอ่อนค่าลง
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 7 พ.ค. 53 เท่ากับ 146.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า -1.20 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่อ่อนค่าลงเป็นหลักในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง โดยทั้งสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติได้มีการขายสุทธิกว่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ยังคงไม่คลี่คลายลง ในขณะที่ดัชนีตลาดสหรัฐ Dow Jones ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากความเสี่ยงของสถานะการณ์กรีซเริ่มคลี่คลายก่อนที่จะปรับตัวลดลงอีกครั้งหลังจากที่ New York Prosecutors กำลังตรวจสอบสถาบันการเงินใหญ่ 8 แห่งว่าได้ให้ข้อมูลบิดเบือนในการจัดอันดับ rating ของ Mortgage-back securities จึงส่งผลให้ตลาดลดการถือหลักทรัพย์ในกลุ่มสถาบันการเงินลง
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยใน โดยเฉพาะช่วงระยะกลางปรับตัวลดลง จากความต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลรุ่น LB155A โดยเฉพาะแรงเข้าซื้อจากต่างชาติที่ยังมีเข้ามาอยู่มาก ประกอบกับมีในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะปานกลางได้ปรับเพิ่มขึ้นไปมากจากความตระหนกจากการถือพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกที่เริ่มมาจากความเสี่ยงทางด้านยุโรป

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ