Global Economic Monitor (31 พฤษภาคม-4 มิถุนายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 31, 2010 10:58 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • ปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปและปัญหาแถบคาบสมุทรเกาหลีได้ส่งผลให้เกิดภาวะ risk aversion ต่อการลงทุนในตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์แทบทั่วโลกปรับตัวลดลง ในขณะที่ค่าเงินแทบทุกสกุลอ่อนค่าลงเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
  • เศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียในไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมาจากภาคการส่งออกเป็นหลัก
Next week indicators
             Date           Economic Indicator                  Forecast*      Previous
          01-June-10    EZ May final Mfg PMI                                     54.3
          01-June-10    AU Q1 GDP (% yoy)                                         2.7
          01-June-10    US May ISM Manufacturing                  59.7           60.4
          02-June-10    CH Apr Retail Sales (% yoy)                               4.5
          03-June-10    EZ Apr Retail Sales (% yoy)                              -0.1
          04-June-10    EZ Q1 Revised GDP (% yoy)                  0.5           -2.2
          04-June-10    US May Non-farm Payrolls (Thousand)      425.0          290.0
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี ทั้งนี้เมื่อปรับผลทางฤดูกาลและพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) หดตัวที่ร้อยละ -0.1 ต่อปี จากร้อยละ 0.1 ต่อปี ทางด้านภาคอสังหาริมทรัพยปรับตัวดีขึ้น จากยอดขายบ้านมือสองในเดือน เม.ย.53 มาอยู่ที่ 5.77 ล้านหลัง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.36 ล้านหลัง จากผลของมาตรการลดหย่อนภาษีบ้านที่กำหนดให้ต้องทำสัญญาภายในเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้าย ราคาอสังหาริมทรัพยใน 20 เมืองใหญ่ (CaseShiller 20 yy) ในเดือน มี.ค. 53 ขยายตัวถึงร้อยละ 2.30 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.60 ต่อปี
Eurozone: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.8 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 5.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) สำหรับแนวโน้มภาคอสังหาริมทรัพยในเดือน เม.ย.53 คาดว่าอาจจะมีการชะลอลงของตัวเลขดังกล่าวตามเศรษฐกิจยุโรปที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะของสมาชิกประเทศในกลุ่ม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของยุโรปเบื้องตน (Flash Purchasing Manager Index: PMI) ในเดือน พ.ค.53 มีทิศทางที่ดีเช่นกันโดยภาคการผลิต (Mfg PMI)ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 55.9 จาก 57.6 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งแม้จะปรับตัวลดลงแต่การที่ยังคงอยู่ที่ระดับสูงกว่า 50 ถือเป็นการขยายตัว สวนทางด้านภาคบริการ (Service PMI) ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.0 จาก 55.6 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าในช่วงเดือน พ.ค.53 ที่ผ่านมาภาคบริการของยุโรปมีการเติบโตขึ้นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังวิกฤตเถ้าภูเขาไฟทั่วน่านฟ้ายุโรปที่ส่งผลให้ต้องยกเลิกเที่ยวบินจากทั่วโลกไปยังยุโรปทั้งหมด
Japan: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี หรือร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนห้นา (%qoq) โดยมีปัจจัยสำคัญจากภาคการค้าระหว่างประเทศที่มีส่วนช่วยในการขยายตัวของเศรษฐกิจ (Contribution to GDP) ถึงร้อยละ 3.4 ต่อปี และการบริโภคภาคเอกชนที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี อย่างไรก็ตามการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัว สำหรับแนวโนมในไตรมาสที่ 2 พบว่าภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี จากการส่งออกสินค้าในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 40.4 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 24.2 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการคาเกินดุลที่ 742.3 พันลานเยน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 948.9 พันลานเยน
Philippines: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยมีส่วนสำคัญมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยขยายตัวถึงร้อยละ 17.9 ต่อปี สอดคลองกับการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจคู่ค้า โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุด ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและภาครัฐขยายตัวอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน
Hong Kong: improving economic trend
  • ไตรมาสแรกปี 53 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปี (% yoy) จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี และเมื่อพิจารณาเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq) จะขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อไตรมาส จากไตรก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อไตรมาส โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากภาคการส่งออกที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงการขยายตัวของภาคการบริโภคเอกชน
South Korea: improving economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค.53 อยู่ที่ระดับ 111 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สังเกตุได้จากการขยายตัวตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.8 ต่อปี จากการส่งออกที่เป็นแรงส่งจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ และการบริโภคที่ฟื้นตัวจากอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ตามข้อพิพาทที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลียังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้
Taiwan: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน เม.ย.53 อยู่ที่ร้อยละ 5.43 ของกำลังแรงงานร่วมเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สะท้อนการฟื้นตัวที่ชัดเจนของเศรษฐกิจโดยเฉพาะจากอุปสงคในประเทศ
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาหที่ผ่านมา ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาเล็กน้อยที่ระดับ 32.55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคลองกับค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่ที่ล้วนแล้วแต่อ่อนค่าลงมากโดยเฉพาะค่าเงินวอนจากภาวะความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น (Risk aversion) ตามปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปที่มีแนวโน้มว่าอาจจะลุกลามไปยังประเทศสเปน ประกอบกับมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในแถบคาบสมุทรเกาหลีด้วย จึงส่งผลให้ตลาดลดการลงทุนในตลาดหลักทรัพยในภูมิภาคลง ส่งผลให้ค่าเงินสกุลภูมิภาคอ่อนค่าลงตามลำดับ ในขณะเดียวกันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตามนิยาม USD Index ยังคงแข็งค่าขึ้นเนื่องจากค่าเงินเยนและยูโรได้อ่อนค่าลงมา ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าเนื่องจากค่าเงินภูมิภาคโดยเฉพาะค่าเงินวอนและค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 21 พ.ค.53 เท่ากับ 143.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า -1.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่อ่อนคาลงเป็นหลักในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 1.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพยไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวลดลงมากว่า 30 จุด โดยทั้งสัปดาหนักลงทุนต่างชาติได้มีการขายสุทธิกว่า 540 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 17,500 ล้านบาท) จากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่ตลาดยังคงมองว่าไม่แน่นอนประกอบกับสถานการณ์ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีและหนี้สาธารณะยุโรปยังคงส่งผลให้มีภาวะ risk aversion ในการลงทุนในรูปแบบหลักทรัพยแทบทั่วโลก โดยดัชนี Dow Jones และ Nikkei ล้วนปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงลงมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 10,000 จุดภายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในโดยเฉพาะช่วงระยะกลางและยาวปรับตัวลดลง จากอุปสงคของพันธบัตรรัฐฐาลไทยที่มีมากขึ้นหลังจากที่ ธปท. ได้ยกเลิกการประมูลพันธบัตรในสัปดาหก่อนหน้าประกอบกับตลาดมีความต้องการหาซื้อพันธบัตรรัฐบาลรุน LB196A ในช่วงปลายสัปดาห์

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ