Highlights
- GDP อินเดียและออสเตรเลียในไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวต่อเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศเป็นสำคัญ
- แนวโน้มผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของโลกยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
- ภาวะ Risk aversion ที่เริ่มลดลงได้ส่งผลให้นักลงทุนลดการเขาถือพันธบัตรสหรัฐและทองและเริ่มกลับเขามาสู่ตลาดหลักทรัพยมากขึ้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพยทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ทรงตัว แต่ค่าเงินยูโร วอนและเยนอ่อนค่าลง
Next week indicators Date Economic Indicator Forecast* Previous 07-June-10 TW May CPI (%yoy) 1.34 09-June-10 JP Q1 GDP Revised (%yoy) 4.6 4.6 10-June-10 KR Jun Base Rate (%) 2.0 10-June-10 PH Apr Exports (%yoy) 43.7 10-June-10 EZ Jun ECB rate 1.0 10-June-10 US Apr International trade (Billion) -41.0 -40.42 11-June-10 CN May Retail sales (%yoy) 18.5 Note: *forecast by Reuters
Economic Monitor:
United States: improving economic trend
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Purchasing Manager Index: Mfg PMI) ในเดือน พ.ค. 53 ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 59.7 จากระดับ 60.4 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากดัชนีสินค้าคงคลังที่ปรับตัวลดลงมากมาที่ระดับ 45.6 จาก 49.4 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของสหรัฐกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตภายในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ดัชนีการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมกลับเพิ่มสูงสุดในรอบ 6 ปีมาอยู่ที่ระดับ 59.8 จาก 58.5 ในเดือนก่อนหน้า
Eurozone: worsening economic trend
- อัตราการว่างงานในเดือน เม.ย. 53 อยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบกว่า 12 ปีที่ร้อยละ 10.1 ของกำลังแรงงานรวม ดัชนีความเชื่อมั่นในผูบริโภคอยู่ที่ระดับ -18 ลดลงจาก -15 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความกังผลต่อวิกฤตหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้น และอาจส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงในระยะต่อไป สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับ -6 จาก -7 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้แรงสนับสนุนของอุปสงค์ภายนอกประเทศต่อภาคการผลิตเพื่อส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้อยู่
Japan: improving economic trend
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) สูงที่สุดในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาที่ระดับ 54.7 จาก 53.8 ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าเศรษฐกิจโลกยังคงมีความผันผวนจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป โดยดัชนีดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้การขยายตัวของภาคการผลิต อย่างไรก็ตามดัชนีคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก (New export orders) ลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 57.5 จาก 59.0 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบปี แต่ยังคงอยู่เหนือระดับที่ 50 เช่นกัน บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุนจะยังมีปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวจากภาคการผลิต
China: improving economic trend
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(NBS PMI)ในเดือน พ.ค. 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 53.9 จากระดับ 55.7 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวดด้วยการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งส่งผลให้อุปสงคภายในประเทศปรับตัวลดลง ประกอบกับคำสั่งซื้อสินคาที่ลดลงจากความกังวลต่อหนี้สาธารณะในยุโรป ทั้งนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม (New Order Index) ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 54.8 จาก 59.3 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก (Export-Order Index) ลดลงที่ระดับ 53.8 จาก 54.5
Hong Kong: improving economic trend
- การส่งออกสินค้าในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 21.7 ต่อปี จากการส่งออกไปยังจีนเป็นสำคัญ ในขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 28.8 ต่อปี
India: improving economic trend
- GDP ไตรมาสแรกปี 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.6 ตอป จากร้อยละ 6.5 ตอปในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อไตรมาส (%qoq) จากที่หดตัวร้อยละ -0.7 ต่อไตรมาสในไตรมาสก่อนหน้า โดยปัจจัยหลักจากภาคการลงทุนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.7 ต่อปี และการส่งออกสุทธิ การส่งออกสินคาในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 36.2 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 54.1 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การนำเขาสินค้าขยายตัวร้อยละ 43.3 ต่อปี ชะลอลงจากร้อยละ 67.1 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการคาขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น -10.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี จากร้อยละ 9.9 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ซึ่งช่วยลดแรงกดดันต่อการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หลังจากที่ได้มีการปรับเพิ่มขึ้นมาแล้ว 2 ครั้งในปีนี้
Australia: improving economic trend
- GDP ไตรมาสแรกปี 53 ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 2 ปี ที่ร้อยละ 2.7 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% qoq) จากการลงทุนและการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวร้อยละ 11.6 และร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ การส่งออกเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบปี ที่ร้อยละ7.8 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% qoq) จากการส่งออกแร่เหล็กและถ่านหิน จากประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจากจีน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (% qoq) ส่งผลเกินดุลอยูที่ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
Vietnam: improving economic trend
- การส่งออกสินค้าในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 38.2 ต่อปี จากร้อยละ 24.6 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 20.8 ต่อปี จากร้อยละ 18.9 ต่อปีในเดือนก่อนหน้าด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวรอยละ 9.1 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 9.2 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยสำคัญมาจากราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลงมาอย่างมากในช่วงเดือนดังกล่าว
South Korea: improving economic trend
- มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 41.9 ต่อปี จากการส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ที่ขยายตัวร้อยละ 38.1 และ 62.3 ต่อปี ตามลำดับ บ่งชี้ว่าผลกระทบของวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปยังคงอยูในวงจำกัด ด้านเสถียรภาพในประเทศ อัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเรื่องปัญหาบนคาบสมุทรเกาหลียังคงน่าเป็นห่วง และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งต้องจับตามองในระยะต่อไป
Foreign Exchange Development
- ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาททรงตัวที่ระดับประมาณ 32.5 - 32.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สอดคล้องกับค่าเงินภูมิภาคที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในกรอบแคบจากปริมาณธุรกรรมการลงทุนที่ยังเบาบางเนื่องจากตลาดยังคงรอดูสถานการณ์อยู่ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินวอนและเยนยังคงอ่อนค่าลงจากปัญหาคาบสมุทรเกาหลีและการเมืองในประเทศญี่ปุน ทั้งนี้ ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงในอัตราที่ชะลอลงเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าและส่งผลใหค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐตามนิยาม USD Index แข็งค่าขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาหนี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาหก่อนหน้าอีกเล็กนอยเนื่องจากค่าเงินเยน เงินวอนและค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงในอัตราที่มากกว่าค่าเงินบาทแม้ว่าค่าเงินภูมิภาคหลายสกุลจะแข็งค่าขึ้นมามากกว่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
- เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 28 พ.ค. 53 เท่ากับ 143.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า -0.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่อ่อนค่าลงเป็นหลักโดยที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
- ตลาดหลักทรัพยไทยในสัปดาหที่ผ่านมายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาประมาณ 30 จุด โดยเงินทุนต่างชาติที่ไหลขามาทั้งสัปดาห์กลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายสัปดาหที่ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 400 ล้านบาท) ตามสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเริ่มคลี่คลายลงและส่งผลให้ตลาดเริ่มมีความเชื่อมั่นและกลับเข้ามาซื้อหลักทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้นหลังจากที่ได้มีการขายออกไปในช่วงก่อนหน้าเป็นปริมาณมาก ดัชนีตลาดหลักทรัพยสหรัฐ Dow Jones ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดไว้
Bond Market Development
- ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงปรับตัวลดลงแทบทั้งเส้น จากอุปสงค์ที่ยังคงมีมาต่อเนื่องประกอบกับภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไมชัดเจนได้ส่งผลให้นักลงทุนนำเงินมาพักในตลาดตราสารหนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม มติการคงดอกเบี้ยของ กนง. มิได้ส่งผลต่อการซื้อขายอย่างมีนัยสำคัญมากนัก ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทั้งเส้นโดยสวนหนึ่งมาจากการที่นักลงทุนลดการถือสินทรัพยปลอดภัย (safe haven) เพื่อไปลงทุนในหลักทรัพยมากขึ้น
Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau
Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,
Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas
Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th