Global Economic Monitor (14-18 มิถุนายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 15, 2010 10:59 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • การส่งออกของเอเชียยังคงขยายตัวได้ดี แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีความเสี่ยงจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ส่งผลให้ค่าเงินของประเทศในเอเซียยังคงแข็งค่าขึ้น
  • ในสัปดาหนี้ ทิศทางการลงทุนในตลาดยังคงไม่ค่อยมีสัญญาณความเชื่อมั่นที่ชัดเจนนัก โดยต่างชาติยังคงขายหลักทรัพยในภูมิภาคออกสุทธิ อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงลดลงจากการที่ตลาดมีอุปสงค์ในการซื้อพันธบัตร LB16NA ในระดับที่สูง
             Date           Economic Indicator                  Forecast*      Previous
          14-June-10   JP Apr Cap U Index (%mom)                                  0.6
          14-June-10   EZ Apr Industry Product (%yoy)                             6.9
          15-June-10   EZ Q1 Employment (%)                                      -2.0
          15-June-10   JP Jun BOJ Rate (%)                          0.1           0.1
          16-June-10   US May Capacity use (%)                                   73.7
          16-June-10   US May Industrial Production (%mom)                        0.8
          17-June-10   US May Consumer Price Index (%yoy)                         2.2
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: improving economic trend
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือนพ.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นสถิติที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดใน 10 ปี โดยอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากการจ้างพนักงานชั่วคราวของภาครัฐในส่วนงานสำมะโนประชากรจำนวน 411,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานปรับตัวลดลงสู่ระดับร้อยละ 9.7 จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับร้อยละ 9.9 ของกำลังแรงงานรวม ประธานธนาคารกลางสหรัฐกล่าวว่าในระยะต่อไปเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และอัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับสูง ทำใหธนาคารกลางตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีกระยะหนึ่ง
Eurozone: worsening economic trend
  • ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงต้นสัปดาห์และค่า CDS Spread ของฮังการีปรับตัวสูงขึ้นถึง 140 จุด จากเดือนก่อนหน้า ภายหลังจากที่ทางการฮังการีออกมากล่าวถึงสถานการณ์หนี้สาธารณะว่าอาจลุกลามเช่นเดียวกับปัญหาในประเทศกรีซ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของฮังการี ได้ประกาศจะปรับลดรายจ่ายลงร้อยละ 1.0 ถึงร้อยละ 1.5 ของ GDP เพื่อให้การขาดดุลงบประมาณอยูในข้อตกลงของ IMF ที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขการรับเข้าความช่วยเหลือที่ร้อยละ 3.8 ของ GDP
Japan: improving economic trend
  • สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุนเปดเผย GDP ไตรมาสแรกของป 53 ขยายตัวในอัตรารอยละ 5.0 ตอป (annualised rate) เพิ่มขึ้นจากที่ประกาศไว้ก่อนหน้าว่าขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี (annualised rate) โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากภาคการส่งออกและการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น สำหรับแนวโนมเศรษฐกิจญึ่ปุ่นในไตรมาสที่ 2 คาดวาจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อเครื่องจักร (Core machinery orders) ในเดือนเม.ย. 53 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 บ่งชี้ว่ามีการเพิ่มการลงทุนในการซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรในโรงงานเพื่อตอบสนองกำลังการผลิตภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดี
China: improving economic trend
  • ยอดส่งออกในเดือนพ.ค.53 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 48.5 จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ยอดนำเข้าปรับตัวสูงขึ้นมาอยูที่ระดับร้อยละ 48.3 ซึ่งทำใหจีนมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 1.95 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ บ่งชี้ภาคการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีแม้ว่าจะมีวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.53 ลดลงตอเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 16.5 และอัตราการก่อสร้างในเขตเมืองในเดือนม.ค.- พ.ค.53 ปรับตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับรอยละ 25.6 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของจีนในเดือน พ.ค.53 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่รอยละ 3.1 จากร้อยละ 2.8 ในเดือนก่อนหน้า
South Korea: improving economic trend
  • อัตราการว่างงานเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 19 เดือนที่ร้อยละ 3.2 ของกำลังแรงงานรวม สอดคล้องกับตัวเลขการจ้างงานเดือน พ.ค. 53 ที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 8 ปีถึง 586,000 ต่ำแหน่ง สะท้อนถึงพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยเสี่ยงด้านปัญหาการเมืองบนคาบสมุทรเกาหลี และความเสี่ยงด้านป้ญหาหนี้สาธารณะยุโรป อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้
Taiwan: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออกเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 57.9 ต่อปี ตามการฟนตัวของเศรษฐกิจคูค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ ในขณะที่การนำเข้าเดือน พ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 71.4 ต่อปี ขยายตัวในอัตราที่เรงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 52.6 ต่อปี บ่งชี้การขยายของเศรษฐกิจที่ชัดเจน
Australia: improving economic trend
  • อัตราการวางงานเดือนพ.ค. 53 อยูในระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 เดือน ที่รอยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม สอดคลองกับการจางงานเดือน พ.ค. 53 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องจากเดือนกอนหนาที่ 26,900 ตำแหนง จากการจางงานในอุตสาหกรรมเหมืองแรตามการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอยางตอเนื่องในอุตสาหกรรมเหมืองแร ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผูบริโภค (Consumer Sentiment) เดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงติดตอกันเปนเดือนที่ 3 ที่ระดับ 101.9 จากตนทุนการกูยืมที่เพิ่มสูงตามดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งสงผลตอความเชื่อมั่นของผูบริโภคในระยะยาว
Philippines: mixed signal
  • ภาคการส่งออกเดือน เม.ย.53 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 5 เดือนที่ร้อยละ 27.4 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -8.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(%qoq) จากการส่งออกไปตลาดหลักที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งการส่งออกไปยัง ญี่ปุน สหรัฐฯ และจีน นอกจากนี้ เมื่อพิจารณารายสินค้าพบว่า สินค้าอิเล็กทรอนิคสซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักขยายตัวรอยละ 29.7 ต่อปี ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 49.1 ต่อปี
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อยที่ระดับประมาณ 32.4 จากระดับ 32.5 - 32.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับค่าเงินภูมิภาคที่ส่วนใหญ่และค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นเช่นกันตามภาวะ risk aversion ที่ลดลงหลังจากที่ปัญหาหนี้สาธารณะของฮังการีไม่รุนแรงอย่างที่ตลาดเคยคาดไว้ในช่วงก่อนหน้า อีกทั้งภาคการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังแข็งแกรง ในขณะเดียวกัน ค่าเงินดอลลาร์และเยนในฐานะ safe haven เริ่มมีแนวโน้มอ่อนค่าลงด้วยเชนกัน
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาหนี้ทรงตัว เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 4 พ.ค. 53 เทากับ 142.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า -0.60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่อ่อนค่าลงในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.90 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพยไทยในสัปดาหที่ผ่านมายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นมาประมาณ 15 จุด โดยส่วนใหญ่เป็นการเขาซื้อของนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินในประเทศเป็นสวนใหญ โดยต่างชาติขายสุทธิที่ 111 ลานดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,610 ลานบาท)
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพยสหรัฐ Dow Jones และดัชนีตลาดหลักทรัพย Nikkei ปรับตัวลดลงแรงในช่วงต้นสัปดาห์จากความวิตกต่อปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจรุนแรงขึ้นในประเทศฮังการีก่อนที่จะค่อยๆ กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นหลังคลายความวิตกกังวลในช่วงปลายสัปดาห์
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยยังคงปรับตัวลดลงแทบทั้งเส้น โดยเฉพาะในช่วงระยะ 6 ปีจากอุปสงค์ของพันธบัตร LB16NA และ LB167A ที่สูงโดยมีอัตรา Bid cover ratio เท่ากับ 3.08 ส่งผลให้ผลตอบแทนในช่วงระยะดังกล่าวปรับตัวลดลง ประกอบกับภาพเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไม่ชัดเจนได้ส่งผลให้นักลงทุนนำเงินมาพักในตลาดตราสารหนี้ดวย ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทั้งเส้นโดยสวนหนึ่งมาจากการที่นักลงทุนลดการถือสินทรัพยปลอดภัย (safe haven)

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ