รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 7 — 11 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 15, 2010 11:16 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนเมษายน 2553

2. ไม่มีการปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 88

-----------------------------------

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนเมษายน 2553

1.1 เดือนเมษายน 2553 จำนวนคำสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 4

Cabinet office รายงานว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในเดือนเมษายน 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มีมูลค่ารวม 761.9 พันล้านเยน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนแล้ว โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคการผลิตลดลงร้อยละ 5.5 เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ขณะที่คำสั่งซื้อเครื่องจักรของภาคบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน

1.2 GDP ไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0

Cabinet office ประกาศดัชนีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (Real GDP) ประจำไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม) ในปี 2553 ว่ามีอัตราการขยายตัวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวมากกว่าอัตราที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4.9 โดยการบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6ในขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 0.5

2. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่มีการปรับขึ้นอย่างน้อย 4 ปี

นาย Yoshihisa Noda รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วง 4 ปี ข้างหน้าเพื่อให้เป็นไปตามที่ นาย Yukio Hatoyama อดีตนายกรัฐมนตรีได้สัญญากับประชาชนระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป ทั้งนี้หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีบริโภค แล้วเขาเห็นว่าควรจะสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในระหว่างการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งต่อไป

3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 88

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนเมษายน 2553 มีจำนวน 1.24 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.0 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียและสหรัฐปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 15 เดือนแล้ว

การเกินดุลการค้าและบริการเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่า 433.6 พันล้านเยน ในขณะที่มูลค่าการเกินดุลการค้ามีจำนวน 859.1 พันล้านเยน ส่วนยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 คิดเป็นมูลค่า 5.58 ล้านล้านเยน ขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 จานวน 4.72 ล้านล้านเยน การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมากทาให้เกินดุลการค้ามากขึ้น

ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกัน 10 เดือนแล้ว เนื่องจากบริษัทสาขาในต่างประเทศมีผลกำไรน้อยลง

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนเมษายน 2553

(Balance of Payments)

                                                                            หน่วย: พันล้านเยน
                    รายการ                                   เม.ย.53             เม.ย.52
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance)                    1,242.1              660.6
(เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                      (88.0)            (-52.3)
 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance)                433.6             -260.9
 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                      (-)                (-)
  1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance)                                859.1              167.1
 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                    (414.2)            (-72.1)
        การส่งออก (Exports)                                   5,577.1            3,909.5
 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                     (42.7)            (-40.7)
        การนำเข้า (Imports)                                   4,718.0            3,742.4
 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                     (26.1)            (-37.6)
  1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance)                            -425.5             -428.0
 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income)                           946.0            1,059.9
 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers)                          -137.6             -138.4
2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance)       49.3              275.8
 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance)                    72.8              293.4
      การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)                       -197.8             -690.0
      การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)            6,592.4            3,424.4
      การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives)     57.6              133.7
      การลงทุนอื่นๆ (Other investments)                        -6,379.4           -2,574.8
 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance)                         -23.5              -17.6
3. ยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets)   -214.5               -5.4
ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น



          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ