รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 14 — 18 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 21, 2010 10:25 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ค.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 216.1 พันล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 25.1 ต่อปี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (หักอัตราเงินเฟ้อ) ในเดือน พ.ค.53 อยู่ที่ระดับ 38,008 ล้านบาทหรือขยายตัวที่ร้อยละ 18.1 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 68.4 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ค.53 อยู่ที่ 1.55 แสนคัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.53 อยู่ที่ระดับ 94.7
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 42.1 ต่อปี ในขณะที่ มูลค่านำเข้าสินค้ารวมในเดือนเม.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 55.1 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                     Forecast            Previous
May: MPI (%yoy)                     27.0                23.0
  • เนื่องจากการเร่งผลิตเนื่องจากยังคงมียอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ รวมถึงได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ประกอบกับฐานที่ต่ำจากปีก่อนหน้า
Economic Indicators: This Week

รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนพ.ค. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 216.1 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.4 พันล้านบาทหรือร้อยละ 25.1 ต่อปีและสูงกว่าประมาณการ 2.7 พันล้านบาทหรือร้อยละ 1.0 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน ทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร โดยภาษีฐานรายได้ ซึ่งเป็นผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 42.3 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนน้าจะขยายตัวร้อยละ 7.0 มีสาเหตุสำคัญจากผลจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ครบกำหนดการยื่นชำระจากฐานกำไรสุทธิรอบสิ้นปีบัญชี2552 (ภงด.50) ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังของปี 52 สำหรับภาษีฐานการบริโภคหรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเดือนพ.ค. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 20.9 แต่หดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากสถานการณ์ทางการเมือง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ) หักอัตราเงินเฟ้อ (ในเดือนพ.ค.53 อยู่ที่ระดับ 38,008 ล้านบาท จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 42,619 ล้านบาท หรือขยายตัวที่ร้อยละ 18.1 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.1 ต่อปี (หรือหดตัวที่ร้อยละ -11.6 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและการพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเป็นสำคัญ อนึ่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกได้ เนื่องจากปัจจัยฐานต่ำ จากเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงเดือนเม.ย. ปีก่อนหน้า

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 68.4 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากฐานคำนวณที่ต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การขยายตัวดังกล่าวทั้งเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าโดยปรับผลทางฤดูกาลแล้ว สะท้อนถึงความเชื่อมั่นและกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ .ค . 53อยู่ที่ 1.55 แสนคัน หรือขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี ชะลอลงมากจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 28.1 ต่อปี ตามรายได้เกษตรกรที่คาดว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากราคาข้าวที่ปรับตัวลดลง (แม้ว่าราคายางพาราและมันสำปะหลังจะยังขยายตัวได้ในระดับสูง (ประกอบกับเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในเดือน พ .ค 53 .ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของประชาชน ทำให้ประชาชนลดการบริโภคสินค้าคงทนลง ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ว่าจะเห็นผลกระทบจากปัญหาความวุ่นวายทางเมืองต่อการบริโภคภาคเอกชนอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนพ.ค. 53เป็นต้นไป

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน พ.ค. 53 มีจำนวน 0.84 ล้านคน หดตัวร้อยละ -12.9 ต่อปี แสดงถึงผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยเป็นการหดตัวลงในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ(สัดส่วนร้อยละ 24.7) โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ที่หดตัวร้อยละ -24.4 -61.8 และ -55.9 ต่อปี ตามลำดับ (สัดส่วนร้อยละ 7.2 2.7 และ 2.3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวรวม)

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.6 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ อันได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไก่เนื้อ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิตและเก็บเกี่ยวประกอบกับราคาสินค้าดังกล่าวที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง จูงใจให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญอื่นๆ เช่น มันสำ ปะหลัง ผลผลิตลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากเพลี้ยแป้งระบาด

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 21.4 ต่อปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 20.1 ต่อปี จากการขยายตัวของราคาผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะ ยางพารา อ้อย และมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคายางพารา ตามความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.53 อยู่ที่ระดับ 94.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 99.3 โดยเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับจากเดือนก.ย.52 ทั้งนี้เป็นการปรับลดลงในองค์ประกอบดัชนีในด้านยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยมีสาเหตุหลักมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยรัฐบาลได้ประกาศวันหยุดราชการพิเศษหนึ่งสัปดาห์ และการประกาศเคอร์ฟิวเพื่อแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบ ส่งผลให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่จำเป็นต้องหยุดงาน และผู้บริโภคมีความวิตกกังวลต่อความรุนแรงทางการเมือง ส่งผลทำให้ยอดคำสั่งซื้อ และยอดขายในประเทศปรับตัวลดลงอย่างมาก ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3เดือน ณ เดือนพ.ค.53 อยู่ที่ 105.0 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนเม.ย. 53 ที่อยู่ในระดับ 107.4 เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อยอดขายปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะปรับตัวลดลง

มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 42.1 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 35.2 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวเร่งขึ้น หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป ในขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้ารวมในเดือนเม.ย.53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 55.1 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 46.0 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) อย่างไรก็ตาม มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำเข้าทำให้ดุลการค้าในเดือนพ.ค.53 เกินดุลที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 53 คาดว่าจะยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องที่ร้อยละ 27.0 ต่อปี ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการเร่งผลิตเนื่องจากยังคงมียอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ รวมถึงได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงประกอบกับฐานที่ต่ำจากปีก่อนหน้า

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ