Global Economic Monitor (21-25 มิถุนายน) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 21, 2010 12:10 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • การบริโภคและการลงทุนของสหรัฐฯ มีสัญญาณชะลอตัวลงเล็กนอย
  • ภาคการผลิตของสหรัฐฯ และภาคส่งออกในเอเชีย ยังคงขยายตัวได้ดี แม้ยุโรปเผชิญปัญหาหนี้สาธารณะ
  • ความเชื่อมั่นในตลาดที่เริ่มกลับมา (Risk appetite) ส่งผลให้มีการกลับเขามาลงทุนในหลักทรัพยมากขึ้นและส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นโดยเฉพาะค่าเงินยูโรและวอน
             Date           Economic Indicator                  Forecast*     Previous
          22-June-10    US May Home sales (million)                             5.77
          22-June-10    EZ Jun Consumer Confidence                             -17.5
          23-June-10    EZ Jun Mfg Flash PMI                                    55.8
          23-June-10    JP May Export (%yoy)                                    40.4
          23-June-10    SG May Consumer Price Index (%yoy)                       0.5
          23-June-10    TW May Export Orders
          23-June-10    TW May Industrial Output
          25-June-10    US Q1 GDP Final (%)                                      3.0
          25-June-10    PH Apr Imports (%)                                      38.9
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในเดือน พ.ค. 53 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 8 เดือนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ -1.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom) และเมื่อพิจารณาตัวเลขค้าปลีกที่ไม่รวมภาคยานยนต์ถือเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดในรอบ 14 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ -1.1 (%mom) โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากยอดขายน้ำมันและยอดขายบ้านที่ลดลง เนื่องจากการสิ้นสุดของมาตรการลดหย่อนภาษีซื้อบ้าน ทำให้คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนที่คิดเป็นร้อยละ 70 ของจีดีพีอาจชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 ตัวเลขการสร้างบบ้านในเดือน พ.ค. 53 ปรับตัวลงอยูที่ร้อยละ -10.0 จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 593,000 หลังต่อปี ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.52 ส่วนตัวเลขการอนุญาตสร้างบ้านลดลงอยู่ที่ร้อยละ 5.9 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 ปี บ่งชี้ว่าภาคอสังหาริมทรัพยของสหรัฐมีแนวโน้มชะลอตัวในไตรมาส 2 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ในเดือน พ.ค.53 สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า
Eurozone: improving economic trend
  • ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.8 ต่อเดือน (%mom) และหากเทียบเป็นรายปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 9.5 ต่อปี (%yoy) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบเกือบ 20 ปี การส่งออกเดือน เม.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.0 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 19.0 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการคาเกินดุล 1.8 พันลานยูโร โดยประเทศฝรั่งเศสและอิตาลีมีการส่งออกขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่เยอรมนีมีการส่งออกที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวภาคการส่งออกแสดงให้เห็นถึงปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปมีผลต่อภาคการส่งออกเพียงเล็กน้อย ด้านเสถียรภาพพบว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.53 ปรับตัวสูงขึ้นอยูที่ร้อยละ 1.6 จากร้อยละ 1.5 ในเดือนก่อนหน้า
China: mixed signal
  • จีนออกนโยบายควบคุมการระดมทุนสำหรับโครงการก่อสร้างของรัฐบาลท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมระดับหนี้สาธารณะของภาครัฐ โดยรัฐบาลกลางได้ประกาศกฎเกณฑ์ให้หน่วยงานลงทุน (Special Investment Vehicle) ที่พึ่งพิงเงินทุนของรัฐบาลท้องถิ่นในการชำระหนี้ หยุดระดมทุนให้แก่โครงการของรัฐบาลท้องถิ่น และให้รัฐบาลท้องถิ่นระดมทุนในโครงการก่อสร้างจากธนาคารพาณิชย์ตามปกติ
India: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อประเทศอินเดียในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 ต่อปี สะท้อนความเสี่ยงเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอีกครั้ง โดยคาดว่าธนาคารกลางอินเดียอาจจะมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะเวลาอันใกลนี้
Japan: mixed signal
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 0.10 นอกจากนี้ ยังได้ประกาศนโยบายด้านสินเชื่อ ( FundProvisioning Measure to Support Strengthening the Foundations for Economic Growth) เพื่อสนับสนุนด้านการเงินให้แก่ภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโต โดยจะปลอยกู้ระยะเวลา 1 ปี ให้แก่ธนาคารพาณิชย ด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่ ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยระยะเวลาการกู้ยืมสามารถ roll over ได้ 3 ครั้ง ซึ่งนโยบายดังกลาวเป็นการดำเนินนโยบายสินเชื่อเพิ่มเติมจากที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้า (Fund Supply Operation)
Singapore: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าไม่รวมน้ำมัน เดือน พ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 24.4 ต่อปี จากการส่งออกไปยังคู่ค้าสำคัญอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 63.6 และ 28.9 ต่อปี ตามลำดับ ด้านการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีสัญญาณแผ่วลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 5.7 ต่อปี เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 21.3 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวแผ่วลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 20.8 ต่อปี บ่งชี้ อุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตามผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปเริ่มกระจายเป็นวงกวางขึ้น จากสัญญาณการส่งออกไปยังยูโรโซนที่เริ่มชะลอลง ซึ่งต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป
Indonesia: improving economic trend
  • ทางการอินโดนีเซียได้ประกาศควบคุมการไหลเข้าของเงินลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันกระแสเงินร้อนที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพทางการเงิน เพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ได้เคยประกาศมาก้อนหน้านี้ โดยธนาคารการอินโดนีเซียได้ประกาศมาตรการดังตอไปนี้ 1) กำหนดช่วงเวลาขั้นต่ำในการถือครองตั๋วเงินคลังของอินโดนีเซีย และ 2) ขยายสว่นต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วงข้ามคืน โดยมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสงเสริมการลงทุนระยะและป้องกันการเก็งกำไร
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาหที่ผ่านมา ค่าเงินบาทและค่าเงินสกุลภูมิภาคล้วนแข็งค่าขึ้นจากความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในตลาดที่เริ่มกลับมา (Risk appetite)โดยเฉพาะค่าเงินวอนและยูโรที่แข็งค่าขึ้นมากหลังจากที่อ่อนค่าลงไปเมื่อช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ดีบ่งชี้ว่าภาคเศรษฐกิจจริงยังคงแข็งแกร่งแม้ว่าจะเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านหนี้สาธารณะ อีกทั้งสถานการณ์คาบสมุทรเกาหลีเริ่มผ่อนคลายมากขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินดอลลารฺในฐานะ safe haven เริ่มมีแนวโน้มอ่อนค่าลงดวยเช่นกัน
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาหนี้ปรับตัวลดลง เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าแทบทุกสกุลเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 11 พ.ค. 53 เท่ากับ 144.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1.46 พันลานดอลลาร์สหรัฐโดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่แข็งค่าขึ้นในขณะที่ฐานะ Forward ปรับตัวลดลงที่ -0.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 820 เกือบ 10 จุด โดยเป็นการเข้าซื้อของนัก 800 ลงทุนต่างชาติโดยทั้งสัปดาห์ต่างชาติเข้าซื้อสุทธิต่อเนื่องจากสัปดาห์ก้อนหน้าที่ 65 780 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,100 ล้านบาท)
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Nikkei ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาในช่วงปลายสัปดาห์จาก risk appetite ของนักลงทุนที่มีเพิ่มขึ้นและข่าวการเสนอเข้าซื้อบริษัท British Sky Broadcast ของบริษัท News Corp ประกอบการ
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาหนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมาก โดยธุรกรรมการซื้อขายพันธบัตรค่อนข้างเบาบางหลังจากที่มีการซื้อขายพันธบัตรไทยเข้มแข็งในสัปดาห์ที่แล้วค่อนข้างมาก ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นแทบทั้งเส้นโดยส่วนหนึ่งมาจากการที่นักลงทุนลดการถือสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ลง

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ