รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 21 — 25 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 28, 2010 11:15 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การจ้างงานเดือนเม.ย. 53 อยู่ที่ 37.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.0 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี
  • การว่างงานเดือนเม.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 124.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -23.0 ต่อปี
  • ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -12.0 พันล้านบาท
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 60.2 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 48.4 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                     Forecast            Previous
May: Cement sales (% yoy)           14.0                 10.4
     Iron sales (% yoy)             20.0                 26.7
  • เนื่องจากการการฟื้นตัวของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น
Economic Indicators: This Week

การจ้างงานเดือนเม.ย. 53 อยู่ที่ 37.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.0 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวที่ร้อยละ0.5 ต่อปี ซึ่งการขยายตัวในครั้งนี้มาจากฐานต่ำ ในปีก่อน หากพิจารณาด้วยการปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า การจ้างงานลดจากเดือนก่อน 8.2 แสนคน หรือหดตัวลงที่ร้อยละ -2.1 ต่อเดือน ซึ่งเป็นผลมาจาก1)สาขาเกษตรกรรมลดลง 4.2 แสนคน เนื่องจากผลของภัยแล้ง 2)สาขาการผลิตลดลง 1.3 แสนคน เนื่องจากมีวันหยุดทำการหลายวัน และ3)สาขาโรงแรมภัตตาคารและสาขาค้าส่งค้าปลีกลดลง 2.9 หมื่นคน และ 1.2 แสนคน ตามลำ ดับ เนื่องจากผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ จึงส่งผลให้อัตราการว่างงานเดือนเม.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม โดยคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 4.5 แสนคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวมทั้งนี้ เมื่อปรับค่าการเปลี่ยนแปลงทางฤดูกาลแล้ว พบว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 2.9 หมื่นคน

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 124.0 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -23.0 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 110.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.9 ต่อปีและรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 7.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -80.5 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน พ.ค. 53 ได้แก่ รายจ่ายของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3.7 พันล้านบาท และรายจ่ายเพื่อการบริหารการชำระหนี้ของรัฐบาล จำนวน 27.2 พันล้านบาท ทั้งนี้การเบิกจ่ายในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 1,203.5 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี โดยเป็นงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณที่ร้อยละ 63.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณนอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง2555ณ วันที่ 11 มิ.ย. 53 สามารถเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 164.0 พันล้านบาทคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 46.9 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือนพ.ค. 53 ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -12.0 พันล้านบาทเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -12.6 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลขาดดุลจำนวน -24.7 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำ นวน-246.1 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -72.0 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -318.2 พันล้านบาท ส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 53 มีจำนวน 188.2 พันล้านบาท ซึ่งการการขาดดุลดังกล่าวสะท้อนถึงการดำเนินนโยบายการขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 60.2 ต่อปี ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 64.4 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยรายได้เกษตรกรเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.1 ต่อปี และ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองได้มีส่วนในการฉุดรั้งให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในอัตราชะลอลง

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 48.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 30.0 ต่อปี จากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพและรถบรรทุกขนาด 2 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 46.6 และ 51.1 ต่อปีจากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.4 และ 43.0 ต่อปี ตามลำดับตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งสะท้อนได้จากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงอย่างมาก

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์และเหล็กภายในประเทศในเดือนพ.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 14.0 และ 20.0 ต่อปี ตามลำดับ ตามการฟื้นตัวของการลงทุนภายในประเทศเริ่มชัดเจนมากขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ