สรุปความเห็นนักวิเคราะห์ต่อทิศทางตลาดเงินตลาดทุนสัปดาห์นี้
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มปรับแข็งค่าขึ้น โดยนักวิเคราะห์ 7 ราย เห็นว่า ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นตามค่าเงินภูมิภาค หลังจากที่ประชุมสุดยอดผู้นำ กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป หรือ G-20 มีมติให้กำหนดเป้าหมายการลดยอดขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะของรัฐบาล ซึ่งข่าวดังกล่าวกระตุ้นให้นักลงทุนเทเข้าซื้อสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงกว่า
- อัตราดอกเบี้ย R/P 1 วัน จะคงเดิมอยู่ที่ 1.25% ต่อไป เนื่องจาก กนง. ยังคงเฝ้าจับตาดูผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปควบคู่ไปกับปัจจัยเศรษฐกิจและการเมือง ในประเทศ
- สำหรับ Bond Yield อายุ 2 ปี มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยนักวิเคราะห์ 7 ราย เห็นว่า ภาวะการลงทุนในตลาดการเงินโลกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในทิศทางขาขึ้น หลังธปท. ออกมาส่งสัญญาณถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ระดับปกติ
- คาดว่า Bond Yield อายุ 10 ปี มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยนักวิเคราะห์ 7 ราย เห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในการประชุมนโยบายการเงินครั้งต่อไป ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว
- คาดว่า SET มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยนักวิเคราะห์ 8 ราย เห็นว่า ดัชนีหุ้นไทยน่าจะแกว่งตัว Sideway ขณะที่อาจมีการทำราคาปิดสิ้นงวดบัญชีไตรมาส 2/53 (Window Dressing) อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังคงได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมกลุ่ม G-20 ในช่วงสุดสัปดาห์ ความคืบหน้าประเด็นหนี้ในยุโรป ทิศทางของราคาน้ำมันและค่าเงินหยวน ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานตัวเลขของสหรัฐ ส่วนปัจจัยภายในประเทศ ได้แก่ การขยายเวลามาตรการค่าครองชีพ การตรึงค่าก๊าซหุงต้ม และการลดราคาน้ำมันดีเซลที่จะนำเสนอ ครม. พิจารณาทำให้ความมั่นใจเศรษฐกิจดีขึ้น รวมทั้ง ภาพเศรษฐกิจเอเชียที่ยังดีต่อเนื่อง
- นักวิเคราะห์ 4 ราย เห็นว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง เนื่องจาก ความมั่นใจต่อกำไรของตลาดหุ้นเอเชียจะยังขยายตัว ค่าเงินเอเชียจะแข็งค่าในอนาคต และภาวะการเมืองสงบลง รวมทั้ง กระแสเงินทุนไหลกลับเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่อง เนื่องจากคาดว่าปีนี้ GDP จะขยายตัวได้ราว 5-6% ตามที่ สศช. ประเมิน
ความเห็น สศค.
- คาดว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง เพื่อสะสมเก็งกำไรจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น และการเพิ่มการลงทุนในเอเชีย
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th