รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 21 — 25 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 2, 2010 11:20 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index) ลดลงร้อยละ 1.2

2. รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการขาดดุลงบประมาณ

3. มูลค่าการส่งออกประจำเดือนพฤษภาคม 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1

-----------------------------------

1. ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index) ลดลงร้อยละ 1.2

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจำเดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงร้อยละ 1.2 อยู่ที่ร้อยละ 99.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภคได้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 15 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาเครื่องไฟฟ้าและอาหารลดลงอย่างต่อเนื่อง

2. รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการขาดดุลงบประมาณ

รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคลังเพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะลดยอดขาดดุลงบประมาณที่ไม่รวมดอกเบี้ยและเงินชาระหนี้ของรัฐบาล (Primary Balance: PB) ลงให้เหลือร้อยละ 50 ของการขาดดุลงบประมาณ ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2557 และสามารถจัดทางบประมาณเกินดุลในปี 2563 โดยมีมาตรการดังนี้ คือ

1. ปรับลดรายจ่ายรัฐบาลที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการชาระหนี้ให้ต่ากว่า 71 ล้านล้านเยนในระหว่างปีงบประมาณ 2554 - 2556

2. ในปีงบประมาณ 2554 กู้เงินโดยออกพันธบัตรรัฐบาลไม่ให้เกิน 44 ล้านล้านเยน และ

3. หากมีโครงการใหม่ขึ้นมา ต้องให้ลดรายจ่ายส่วนอื่นลงหรือเพิ่มอัตราภาษีเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสาหรับโครงการใหม่ซึ่งการขาดดุลงบประมาณทั่วไปของรัฐบาลกลางและงบประมาณทั่วไปของรัฐบาลท้องถิ่นมีจานวน 23.7 ล้านล้านเยนและ 7.1 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณปี 2553

ทั้งนี้สำนักนายกรัฐมนตรี (Cabinet Office) ได้ประเมินว่าถึงแม้ว่าการคาดการณ์รัฐบาลจะมีรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 2 ล้านล้านเยนในปีงบประมาณ 2554 ก็ยังมีรายจ่ายมากกว่ารายได้อยู่ 49.2 ล้านล้านเยน ซึ่งมากกว่ายอดการขาดดุลงบประมาณที่ตั้งไว้ 44 ล้านล้านเยน ทำให้จำเป็นต้องหารายรับจากแหล่งอื่นๆ อีก 5 ล้านล้านเยน

ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะไม่ดำเนินการนโยบายที่ได้สัญญาไว้ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมาและลดการจ่ายเงินเพิ่มสาหรับประกันสังคมจานวน 1.2 ล้านล้านเยน ก็ยังไม่สามารถให้รายจ่ายต่ากว่า 71 ล้านล้านเยนได้แต่ทั้งนี้รัฐบาลก็ยังไม่มีมาตรการอื่นๆ ในการลดค่าใช้จ่ายในการดาเนินการสาธารณูปโภคและประกันสังคม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลคาดว่าจะสามารถลดสัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาลลงเหลือร้อยละ 50 ของ GDP และสามารถจัดทำงบประมาณเกินดุลได้ในปี 2563 จากปัจจุบันที่สัดส่วนหนี้ระยะยาวของรัฐบาลอยู่ที่อัตราร้อยละ 168 ของ GDP ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแนวคิดที่จะปรับอัตราภาษีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 10 ภายใน 2 ถึง 3 ปีข้างหน้าเพื่อเพิ่มรายได้

3. มูลค่าการส่งออกประจำเดือนพฤษภาคม 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า และมีมูลค่า 5.3110 ล้านล้านเยน ซึ่งเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว โดยยอดการส่งออกไปยังจีน สหรัฐ และสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25.3 17.7 และ 17.4 ตามลาดับ เป็นผลมาจากการส่งออกยานยนต์ไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 ในขณะเดียวกันยอดการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 มีมูลค่า 4.9868 ล้านล้านเยน

การส่งออกมากกว่านำเข้า ทาให้เกินดุลการค้าเดือนพฤษภาคม 2553 เป็นจานวน 324.2 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มติดต่อกันเป็นเวลา 14 เดือนแล้ว

                 ดุลการค้าประจาเดือนพฤษภาคม 2553                                หน่วย: พันล้านเยน
                  ยอดการส่งออก (ร้อยละ)          ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)          ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                 758.0 (17.7)                518.8 (23.5)                239.2 (6.9)
สหภาพยุโรป             615.8 (17.4)                488.6 (10.9)                127.3 (51.9)
เอเชีย  (รวมจีน)      3,022.5 (34.4)              2,248.0 (35.7)                774.4 (30.7)
สาธารณรัฐประชาชนจีน   1.021.2 (25.3)              1.079.6 (32.2)                   -58.3
รวม                 5,311.0 (32.1)              4,986.8 (33.4)                324.2 (15.2)
ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น


          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ