รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 5, 2010 10:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,108.98 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.23 ของ GDP
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 15.9 ต่อปี
  • ยอดคงค้างสินเชื่อเดือน พ.ค.53 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อปี ในขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี และปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศหดตัวลดลงที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยเดือน พ.ค.53 ปรับตัวกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ 1,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย.53 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน มิ.ย.53 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                     Forecast            Previous
June: Motorcycle Sales (%yoy)      15.0                  7.8
  • เนื่องจากรายได้เกษตรกรยังขยายตัวได้ดี ตามราคายางพาราและมันสำ ปะหลังยังขยายตัวได้ในระดับสูงประกอบกับเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเริ่มคลี่คลายลง ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากขึ้น
Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย.53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,108.98 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.23 ของ GDP ทั้งนี้หนี้สาธารณะลดลงสุทธิจากเดือนก่อนหน้า 15.73 พันล้านบาท โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 19.95 พันล้านบาท โดยเฉพาะในส่วนของหนี้ต่างประเทศที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน จากการเปลี่ยนแปลงสุทธิของหนี้ต่างประเทศในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อแปลงเป็นเงินบาทลดลงโดยรวมแล้ว ภาวะหนี้สาธารณะของไทยอยู่ในระดับมั่นคง สะท้อนจากการมีหนี้สาธารณะต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ (ร้อยละ 8.73) และมีหนี้สาธารณะระยะยาวเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93.90)

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ15.9ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 23.4 ต่อปี?โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากฐานการคำนวณต่ำในปีก่อน และเมื่อพิจารณาโดยปรับผลของฤดูกาลแล้วพบว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.53 หดตัวร้อยละ 5.3-จากเดือนก่อนหน้าหดตัวลงมากขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.0-ต่อเดือน เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่รุนแรงขึ้นจนต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเคอร์ฟิวส์ในช่วงวันที่ 19— 28 พ.ค.53 เป็นเวลา 10 วัน ประกอบกับมีการเร่งผลิตไปแล้วในเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่นฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน พ.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 64.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 57.9 โดยหากปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 62.9 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 63.2 ของกำลังการผลิตรวม ผลจากการชะลอการผลิตลงในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ยอดคงค้างสินเชื่อเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 ต่อปีเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว(%mom_sa) โดยมีสาเหตมาจากการขยายตัวเร่งขึ้นของสินเชื่อผู้บริโภค โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากการขยายเวลามาตรการลดภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายอสังหาริมทรัพย์เหลือร้อยละ 0.1 จากเดิมที่จะหมดอายุในเดือน มี.ค.53 เป็นเดือน พ.ค.53 และเลื่อนไปอีกครั้งเป็นเดือน มิ.ย.53 ในขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี จากการขยายตัวของเงินฝากภาคธุรกิจ และจากการออกผลิตภัณฑ์พิเศษของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเพื่อรองรับการออกพันธบัตรไทยเข้มแข็งในเดือน มิ.ย.53 และเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลัง

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปีและปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศหดตัวลดลงที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี โดยการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศปรับตัวดีขึ้นมากตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และอาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกรุงเทพฯ ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศที่ลดลงมีสาเหตุสำคัญมาจากฐานคำนวณที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยยอดจำหน่ายเหล็กเส้น เหล็กลวด และท่อเหล็ก หดตัวลงที่ร้อยละ -4.9 -4.2 และ -2.5 ต่อปี ตามลำดับทั้งนี้ การขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศดังกล่าวสะท้อนถึงการเริ่มฟื้นตัวของการลงทุนภายในประเทศ

ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยเดือน พ.ค. 53 ปรับตัวกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ 1,039 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากดุลการค้าที่เกินดุลในระดับที่สูงที่ 2,299 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวในระดับที่สูง ที่ระดับ 16,436 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมหมวดยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และทองคำ แม้ว่าการนำเข้าจะยังขยายตัวได้ดีเช่นกันโดยมีมูลค่า 14,137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้และเงินโอนขาดดุลที่ 1,261 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากรายรับการท่องเที่ยวที่ลดลงและรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกที่สูงมากได้ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลแม้ว่าการนำเข้าจะอยู่ในระดับที่สูงและดุลบริการ รายได้และเงินโอนจะขาดดุลก็ตาม

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ .ย .53 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.5ต่อปี ซึ่งนับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 9ติดต่อกัน สาเหตุสำคัญจาก 1) ราคาผักและผลไม้ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 33.3 ต่อปี เนื่องจากภาวะภัยแล้งและสภาพอากาศที่ร้อนจัดสร้างความเสียหายแก่ผลผลิต โดยเฉพาะผักกาดขาวกะหล่ำปลี และผักชี 2) ดัชนีค่าไฟฟ้า น้ำประปาฯ เพิ่มขึ้นรอ้ ยละ 9.1 ต่อปี เนื่องจากหมดอายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพในส่วนของค่าน้ำประปา อย่างไรก็ตาม ดัชนีหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันดิบโลกซึ่งถูกนำเข้ามากลั่นเป็นน้ำ มันสำ เร็จรูปในประเทศเริ่มปรับตัวลดลง และหากพิจารณาเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ขยายตัวที่ร้อยละ 0.26 (%mom) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มิ .ย .53 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 ต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัว มีสาเหตุสำคัญมาจากดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 10.6 ต่อปี ซึ่งมาจากผลิตภัณฑ์ใน หมวดเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กตัวซี เหล็กฉาก และลวดเหล็กเสริมคอนกรีต ในขณะที่หมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 4.2 ต่อปี อาทิเช่น ทรายถมที่ อิฐมอญ อลูมิเนียมเส้น อลูมิเนียมแผ่นเรียบ เป็นต้น เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวเป็นการขยายตัวตามสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีสัญญาณการฟื้นตัวขึ้น ทำให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์เดือน มิ.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 15.0 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) รายได้เกษตรกรที่ยังขยายตัวได้ดี ตามราคายางพาราและมันสำปะหลังยังขยายตัวได้ในระดับสูง และ 2) เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเริ่มคลี่คลายลงจะส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ