Global Economic Monitor (5-9 กรกฎาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 6, 2010 10:21 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐและจีนที่บ่งชี้การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนนำเงินออกจากสินทรัพย์เสี่ยงโดยเห็นได้จากปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์หลักและส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลง ในขณะผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลดลงตามความต้องการถือครองพันธบัตรสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น
  • ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น หลังจากนักลงทุนเริ่มผ่อนคลายความกังวลที่มีต่อปัญหาหนี้ยุโรป สอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจยุโรปที่ออกมาดี
             Date           Economic Indicator                  Forecast*     Previous
          5-July-10    EZ Jun Composite PMI
          5-July-10    EZ May Retail Sales (%mom)                               -1.2
          5-July-10    SG Jun PMI                                               52.2
          6-July-10    PH Jun Inflation (%)                                      4.3
          6-July-10    AU May Exports (Imports) (%yoy)                        11.0 (0.0)
          6-July-10    AU Jul RBA rates (%)                                      4.5
          6-July-10    US Jun Non-Mfg PMI                                       55.4
          7-July-10    EZ Q1 GDP R (%yoy)                                        0.6
          8-July-10    EZ Jul ECB Rate (%)                                       1.0
          8-July-10    AU Jun Unemployment (%)                                   5.2
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ในเดือนมิ.ย. 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 56.2 จากระดับ 59.7 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากดัชนีราคาสินค้าและดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ (New Order Index) ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 52.9 จาก 62.7 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากความกังวลต่อสถานการณ์ด้านแรงงาน ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (Case-Shiller Home Price Index 20 %yoy) ในเดือน เม.ย. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ต่อเดือน (%mom_sa) หรือร้อยละ 3.8 ต่อปี (%yoy) ส่วนหนึ่งจากมาตรการลดหย่อนภาษีซื้อบ้านที่กำหนดให้ผู้ซื้อทำสัญญาภายในเดือนเม.ย. 53 ตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภค (Consumer spending) เดือน พ.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการบริโภคสินค้าคงทนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ขณะที่รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income) เดือนพ.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ในเดือน มิ.ย.53 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 55.6 จากระดับ 55.8 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (Economic Sentiment Index)เดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 98.7 จากระดับ 98.4 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยุโรปยังคงขยายตัวได้อยู่แม้เผชิญปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง ด้านเสถียรภาพพบว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.53 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.6 ต่อปี
Japan: mixed signal
  • ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการรายใหญ่ในภาคอุตสาหกรรม (TANKAN Large Enterprise Business Conditions) ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ระดับ 1.0 ดีขึ้นจากไตรมาสแรกที่ระดับ -14.0 เนื่องจากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักร และโรงงาน

อุตสาหกรรม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 53.9 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. 53 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) โดยมีสาเหตุมาจากการฟื้นตัวที่ยังคงไม่ชัดเจนของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญคือ สหรัฐฯและสหภาพยุโรป สะท้อนได้จากภาคการส่งออกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยดัชนีการส่งมอบสินค้า (Shipments Index) หดตัวร้อยละ -1.7 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงสูงสุดในรอบ 16 เดือน

China: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NBS PMI) ในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 52.1 จากระดับ 53.9 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวอยู่สูงกว่าระดับ 50 ติดต่อกันมานานกว่า 16 เดือน บ่งชี้ภาคการผลิตของจีนยังคงขยายตัวได้อยู่ โดย ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ (New Order Index) ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.1 จาก 54.8 ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก(Export-Order Index) ลดลงที่ระดับ 51.7 จาก 53.8 ในเดือนก่อน

หน้า สะท้อนการชะลอตัวของการส่งออก

South Korea: improving economic trend
  • มูลค่าการส่งออกเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 32.4 ต่อปี จากการส่งออกสินค้าทุน เครื่องยนต์ เครื่องจักรกล สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค. 53 ที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 21.5 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ที่ร้อยละ 36.4 ต่อปี ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย.53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงในช่วงเดียวกัน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีอาจเพิ่มแรงกดดันให้ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป
Vietnam: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 53 ชะลอตัวลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี (% yoy) จากร้อยละ 9.1 ต่อปีในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากการชะลอการลงทุนของรัฐบาล สะท้อนความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อที่ลดลง สำหรับภาคการส่งออกในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี (% yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 43.0 ต่อปี (% yoy) ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการส่งออกสินค้าประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและข้าวที่หดตัว สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวที่ร้อยละ 22.0 ต่อปี (% yoy) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.7 ต่อปี
India: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 35.0 ต่อปี (%yoy) หรือคิดเป็น 16.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีปัจจัยมาจากการส่งออกสินแร่ น้ำมันเชื้อเพลิง และผลิตภัณฑ์หนังขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 38.5 ต่อปี (%yoy) หรือคิดเป็น 27.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้อินเดียขาดดุลการค้าสูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่11.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (Mfg PMI) ในเดือน มิ.ย. 53 ลดลงมาอยู่ที่ 57.3 จากระดับ 59.0 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจอินเดียในไตรมาสที่ 2
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแต่ค่าเงินภูมิภาค อาทิ วอน เปโซ อ่อนค่าลง ตามความต้องการถือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงในสกุลภูมิภาคน้อยลง (Risk Aversion) จากตัวเลขดัชนีภาคอุตสาหกรรมของประเทศจีนที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐส่งสัญญาณชะลอตัว อย่างไรก็ตามค่าเงินยูโรกลับมาแข็งค่าขึ้นถึงระดับ 1.25 อีกครั้งเนื่องจากข่าวการทำ Stress Test ธนาคารใหญ่ในยุโรปที่ออกมาดีกว่าที่คาดไว้ และการกู้ยืมของธนาคารในยุโรปจาก ECB ที่น้อยกว่าที่คาดไว้ ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลด้านปัญหาหนี้ยุโรป
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวลดลงเนื่องจากค่าเงินบาททรงตัวในขณะที่ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ เยนและยูโร แข็งค่าขึ้นมาก
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 25 มิ.ย. 53 เท่ากับ 147.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 1.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินยูโรในตะกร้าทุนสำรองที่แข็งค่าขึ้น ในขณะที่ฐานะ Forward เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาค่อนข้างทรงตัว โดยทั้งสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติได้ขายสุทธิ -111.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ตามการปรับลดลงของดัชนี Dow Jones จากความกังวลทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจ และการขายหุ้น IPO ของ Agricultural Bank of China ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องในตลาดลดลง
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Nikkei ปรับตัวลดลงรุนแรง จากภาวะ risk aversion หลังจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐและญี่ปุ่นที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์นี้ โดยเฉพาะช่วงระยะยาว ได้ปรับตัวลดลง ตามความต้องการทีมีเข้ามาอย่างต่อเนีอง ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลง จากความต้องการพันธบัตรรัฐบาลในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย(safe haven) ตามภาวะ risk aversion ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับนักลงทุนนำเงินเข้ามาพักในตลาดพันธบัตรก่อนการประกาศตัวเลขการว่างงานในคืนวันศุกร์ที่ 2 ก.ค. 53

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ