Global Economic Monitor (12-16 กรกฎาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 12, 2010 14:12 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • สัญญาณเศรษฐกิจเอเชียเริ่มรอนแรง สงผลใหธนาคารกลางอินเดีย มาเลเซีย และเกาหลีใตประกาศปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
  • นักลงทุนมั่นใจในเศรษฐกิจเอเชียมากขึ้น กอปรกับการเก็ง กำไรในคาเงินหยวนผานคาเงินสกุลในภูมิภาค สงผลใหค่าเงินในภูมิภาคปรับแข็งคาขึ้น
  • ความกังวลในปญหาหนี้สาธารณะยุโรปเริ่มคลี่คลาย สงผลให้ค่าเงินยูโรตอคาเงินดอลลารปรับแข็งคาขึ้นกวารอยละ 0.97 ในสัปดาหที่ผานมา
             Date           Economic Indicator                  Forecast*     Previous
          13-July-10    JP Jun Confidence Index                                42.8
          13-July-10    US May International Trade b)                        -40.29
          14-July-10    EZ May Industrial product (%)                           9.6
          14-July-10    EZ Jun Inflation Final (%)                              1.6
          14-July-10    US Jun Retail sales (%mom)                             -1.2
          14-July-10    SG Q2 Advance GDP (%)                                  38.6
          15-July-10    CN Jun CPI (%yoy)                                       3.1
          15-July-10    CN Q2 GDP (%yoy)                                       11.9
          15-July-10    SG May Retail (%)                                      -2.2
          16-July-10    US Jun CPI (%)                                          2.0
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ (ISM Non-manufacturing PMI) ในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 มาอยูที่ระดับ 53.8 โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลดลงมาอยูที่ระดับ 54.4 จาก 57.1 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 2 ของปี สำหรับภาคการจ้างงานพบว่า ตำแหน่งงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) ในเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนมาอยูที่ 125,000 ตำแหนง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเลิกจ้างพนักงานชั่วคราวจำนวน 225,000 ตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานภาคเอกชน(Private Hiring) เพิ่มขึ้น 83,000 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม อัตราว่างงานในเดือน มิ.ย. 53 ที่ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือน มาสู่ระดับร้อยละ 9.5 ของกำลังแรงงานรวม
Eurozone: mixed signal
  • ยอดค้าปลีกในเดือน พ.ค. 53 ปรับตัวสูงขึ้นมาอยูที่ระดับร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของยอดขายทั้งในหมวดอาหารและมิใช่อาหารที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) บ่งชี้สัญญาณที่ดีของการบริโภคภาคเอกชน ดัชนีคำสั่งซื้อนอกภาคอุตสาหกรรม (Markit Non-Mfg PMI) ในเดือนมิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 55.5 หลังจากอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 33 เดือนที่ 56.2 ในเดือนก่อนหน้าบ่งชี้สัญญาณชะลอตัวของเศรษฐกิจยุโรปในครึ่งหลังของปี
Japan: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อเครื่องจักรภาคเอกชน (Core private-sector machinery orders) ในเดือนเม.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) โดยมีปจัจัยสำคัญจากภาคการส่งออกในเอเชียที่ขยายตัวมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ภาคเอกชนมีการใช้จ่ายเพื่อลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มมากขึ้น บ่งชี้การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชน
Malaysia: improving economic trend
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 (%yoy) โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 ต่อปี และการใช้ไฟฟ้าที่ร้อยละ 11.5 ต่อปี ยอดขายสินค้าอุตสาหกรรมในเดือน พค.53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 (%yoy) รวมทั้งอัตราการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมยังเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี สะท้อนให้เห็นความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 2.75 นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 เดือน ตามทิศทางการขยายตัวของเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
Vietnam: improving economic trend
  • จีดีพีไตรมาสที่สองเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 (% yoy) เทียบกับปีก่อนหน้า หรือร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนหน้า (% qoq_sa) โดยภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งเติบโตที่ร้อยละ 2.9 ต่อปี และ 1.8 ต่อปี ตามลำดับ
Australia: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 52 ที่ร้อยละ 27.2 ต่อปี ในขณะที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 (%mom_sa) ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 (% mom_sa) จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสินค้าประเภท ถ่านหิน เหล็กและเชื้อเพลิง ที่ส่งออกไปในภูมิภาคเอเชืย โดยเฉพาะประเทศจีน ในขณะที่การนำเขาเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค. 51 ที่ร้อยละ 18.1 ต่อปี จากการนำเข้าสินค้าทุนและรถยนต์เป็นสำคัญ การจ้างงานเดือน มิ.ย.53 เพิ่มขึ้น 45,900 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 22,700 ตำแหน่ง จากภาคการก่อสร้างและเหมืองแร่เป็นสำคัญ สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม อย่างไรก็ตาม จากทิศทางของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มแผ่วลง ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ก.ค. 53 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 4.5
Hong Kong: worsening economic trend
  • ดัชนีผูจัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 52.6 จากยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ของผู้จัดการ (New orders) และยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ (New export orders) โดยเฉพาะจากจีน ที่ลดลงเป็นสำคัญ สะท้อนถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมฮ่องกงที่มีแนวโน้มชะลอลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโนมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน
Taiwan: mixed signal
  • เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 ต่อปีเทียบกับปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 53 ที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ้มขึ้นร้อยละ 0.63 ต่อปี ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ธนาคารกลางสามารถจัดการได้ มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 40.40 (% yoy) และมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.10 (% yoy) เทียบกับปีก่อนหน้า โดยยอดการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน เติบโตที่ร้อยละ 53.4 29.9 และ 33.9 ต่อปี ตามลำดับ
India: mixed signal
  • ธนาคารกลางอินเดียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo rate) จากร้อยละ 5.25 เป็นร้อยละ 5.50 รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Repo rate) จากร้อยละ 3.75 เป็น 4.00 เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 53 สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อภายในประเทศ โดยทางการอินเดียคาดหวังว่านโยบายดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแต่ค่าเงินภูมิภาค อาทิ วอน หยวน เปโซ ล้วนแข็งค่าขึ้น จากการที่ตลาดมองว่าเศรษฐกิจเอเชียยังเติบโตได้อย่างแข็งแกรงส่งผลให้นักลงทุนกลับมามี Risk Appetite และลงทุนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ในขณะที่ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 1.268 ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 2 เดือน เนื่งอจากนักลงทุนคลายความกังวลต่อการรายงาน Strees Test ของสถาบันการเงินในยุโรปที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ก.ค.
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวลดงเนื่องจากค่าเงินบาททรงตัวในขณะที่ค่าเงินของประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ ยูโรและประเทศในภูมิภาคต่างแข็งค่าขึ้นมาก
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 2 ก.ค.53 เท่ากับ 147.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนหน่งมาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในขณะที่ฐานะ Forward ปรับลดลง
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจาการเข้าเก็งกำไรผลประกอบการในไตรมาส 2 ปี 53 ของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธนาคารที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น
  • ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามดัชนี Dow Jones ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และข่าวทางการจีนจะทำการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคในแถบตะวันตกของประเทศ
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones และดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Nikkei ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการกลับเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรของนักลงทุน และการปรับเพิ่มประมาณการอัตราเติบโตของเศรษฐกิจโลกของ IMF
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยในสัปดาห์นี้ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ในการประชุมครั้งต่อไป ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่ลดลงของพันธบัตรรัฐบาลในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย (safe haven) ตามภาวะ risk appetite ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับความเห็นของผู้ Fed รัฐ Kansas City ที่เห็นว่า Fed ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ