รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 12 — 16 กรกฎาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 19, 2010 10:52 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน มิ.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 108.9 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -24.7 ต่อปี แต่สูงกว่าประมาณการ 26.6 พันล้านบาทหรือร้อยละ 32.4
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.2 ต่อปี
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 149.5 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 75.7 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 52.5 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมิ.ย. 53 มีจำนวน 0.94 ล้านคน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากเดิมที่ร้อยละ 1.25 เป็นรอ้ ยละ 1.50
Indicators next week
   Indicators                      Forecast            Previous
June: TISI (%yoy)                    97.0                94.7
  • เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นยอดขายรถยนต์ และยอดขายจักรยานยนต์ที่ขายตัวในระดับสูงมาก
June: API (%yoy)                     3.0                  5.8
  • เนื่องจากการลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ประกอบกับ
Economic Indicators: This Week

รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนมิ.ย. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 108.9 พันล้านบาท ต่ำ กว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -24.7 ต่อปี แต่สูงกว่าประมาณการ 26.6 พันล้านบาทหรือร้อยละ 32.4 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร โดยภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือนมิ.ย. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 22.9 หรือขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว สะท้อนการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -41.2 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า จากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิรอบสิ้นปีที่นำส่งเหลื่อมเดือนไปเดือน มิ.ย. 52

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.2 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี (ขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) ปัจจัยฐานต่ำ เมื่อปีที่แล้วที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก 2) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และ 3) สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของประชาชนดีขึ้น และเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 149.5 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 77.5 ต่อปี ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 77.1 ต่อปี เนื่องจากผลของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ในส่วนค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่สิ้นสุดลงในช่วงปลายเดือน มิ.ย. 53 ส่งผลให้ผู้บริโภคมีการเร่งทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 75.7 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวสูงสุดในรอบ10 ปี โดยขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 60.2 ต่อปี (หรือขยายตัวที่ร้อยละ 14.3 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ทั้งนี้ได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำ ลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น 2)สถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของประชาชนดีขึ้น และเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นและ 3) ผู้บริโภคยังมีความนิยมในรถที่มีขนาดกลางและเล็กอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 52.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 48.4 ต่อปี (หรือขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานในประเทศ สะท้อนได้จากการผลิตภาคอุตสาหกรรม และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายลง ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของประชาชน

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มิ.ย.53 มีจำนวน 0.94 ล้านคน คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.14 ต่อปีแต่คิดเป็นการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 15.3 ต่อเดือน (m-o-m SA) สะท้อนว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า อันมีสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยาที่ดีขึ้นภายหลังจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองคลี่คลายลง ทั้งนี้ จำ นวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวในระดับสูงส่วนใหญ่มาจาก จีน อินเดีย ตะวันออกกลางและโอเชียเนียซึ่งรวม 4 กลุ่มคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.0 ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากเดิมที่ร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 16 เดือนทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเดิมที่ร้อยละ 1.25 นั้น ถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำมาก จากการที่ ธปท .ดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้เป็นการปรับอัตราดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อรองรับแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่จะเพิ่มขึ้นในปี 2554 จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และจากการที่รัฐบาลอาจยุติมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ

Economic Indicators: Next Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 97.0 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 94.7 จากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สะท้อนได้จากตัวเลขการส่งออกที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่คาดว่าจะขยาย ตัวเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นยอดขายรถยนต์และยอดขายจักรยานยนต์ที่ขายตัวในระดับสูงมาก อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงกังวลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในยุโรปที่อาจส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน มิ.ย.53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลังเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวประกอบกับได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญอื่นๆ เช่น ยางพารา คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามราคายางที่ยังขยายตัวในระดับสูง

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ