อุตสาหกรรมยานยนต์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทย ได้สูงถึง 210 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของภาคอุตสาหกรรมรวม และมีสัดส่วนร้อยละ 9.3 ของมูลค่าส่งออกรวม จากข้อมูลล่าสุดในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 พบว่าทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์กลับมาเติบโตได้ดีทั้งยอดผลิต ยอดขาย และยอดส่งออก
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มตลาดยานยนต์ในปี 2553 ได้แก่ 1) เศรษฐกิจของตลาดส่งออกรถยนต์ปีนี้ที่มีทิศทาง สดใส 2) รถยนต์นั่งขนาดเล็กจะได้รับปัจจัยหนุนต่อการเติบโตจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ผันผวนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และ 3) ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และกรอบข้อตกลงเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะส่งผลดีต่ออนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ทำให้คาดว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2553 น่าจะยังคงขยายตัวดีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก
อุตสาหกรรมยานยนต์สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ เป็นสินค้าส่งออกสำคัญและก่อให้เกิดการจ้างงาน ปัจจุบันอุตสาหกรรม ยานยนต์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมไทยได้สูงถึง 210 พันล้าน บาทต่อปี 12 หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของภาคอุตสาหกรรมรวม ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับ สองรองจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และมีความสำคัญเพิ่มขึ้นมาก จากเมื่อปี 2543 ที่มีสัดส่วนในภาคอุตสาหกรรมรวมเพียง ร้อยละ 6.7 นอกจากนี้ ยานยนต์ยังเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2552 อยู่ที่ 14.2 พันล้าน เหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.3 ของมูลค่าส่งออกรวม โดยสัดส่วนในมูลค่าส่งออกรวมนี้ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปี 2546 ที่มีสัดส่วน เพียงร้อยละ 6.4 สะท้อนถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ สำหรับในแง่ของการจ้างงานนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวน 2.3 แสนคน23 และอุตสาหกรรมยานยนต์ยังสามารถสร้างผู้ประกอบการ SMEs อีก ประมาณ 1,000 ราย ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสนับสนุนบริษัทรถยนต์ต่างชาติทั้ง forward linkage และ backward linkage อีกด้วย
รถยนต์นั่งและรถปิคอัพส่งออกเกินกว่าครึ่งของยอดการผลิตรวม โดยในปีหนึ่งๆ อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยสามารถผลิต รถยนต์ออกมาได้กว่า 1 ล้านคัน จำแนกออกเป็นรถยนต์นั่ง 3.3 แสนคัน และรถบรรทุก/รถโดยสาร 6.9 แสนคัน ในจำนวนที่ผลิตได้ ทั้งหมดประมาณ 1 ล้านคันนั้น มีการส่งออกไปต่างประเทศเกินกว่าครึ่งหรือประมาณ 5.4 แสนคัน ซึ่งรถยนต์นั่งนั้นส่วนใหญ่ส่งออกไปยัง ประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ขณะที่รถบรรทุกและรถปิคอัพนั้นส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศออสเตรเลีย ชิลี และอินโดนีเซีย สำหรับรถจักรยานยนต์นั้น ไทยผลิตได้ประมาณ 1.7 ล้านคันต่อปี สามารถแบ่งออกได้เป็นรถครอบครัว 1.5 ล้านคัน และรถสปอร์ต 1.2 แสนคัน จากจำนวนที่ผลิตได้ทั้งหมด พบว่าส่งออกไปต่างประเทศ 5.9 แสนคัน คิดเป็นร้อยละ 36 ของการผลิต โดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม สหราชอาณาจักร และฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ สัดส่วนการผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อส่งออกที่น้อยกว่าสัดส่วนการผลิต รถยนต์เพื่อส่งออกสะท้อนว่า อุตสาหกรรมการผลิตรถจักรยานยนต์มีการพึ่งพิงเศรษฐกิจภายนอกประเทศน้อยกว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ช่วง 5 เดือนแรกปี 53 กลับมาสดใสทั้งยอดผลิต ยอดขาย และยอดส่งออก ยอดผลิตยานยนต์ ของไทยส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ หลังจากที่หดตัวลงอย่างมากในปีก่อนจากปัญหาวิกฤติการเงินโลกที่ส่ง ผลกระทบมายังภาคการส่งออกของไทย โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ผลผลิตยานยนต์ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 84.4 ต่อปี ยอดการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ จึงทำให้ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ปริมาณการส่งออก ยานยนต์ขยายตัวเร่งขึ้นมากที่ร้อยละ 68.0 ต่อปี สำหรับยอดขายยานยนต์ภายในประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีขยายตัวต่อเนื่องเช่น กันที่ร้อยละ 52.2 ต่อปี ทั้งนี้ ปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับในช่วงต้นปี 2553 มา จากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าของไทยทำให้อุปสงค์ต่อรถยนต์ เริ่มกลับมามากขึ้น และจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเป็นลำดับนี้ ได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ต่างเริ่ม ทยอยลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักร รวมทั้งรถบรรทุก รถโดยสาร และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยแรก คือ ตลาดส่งออกรถยนต์ปีนี้มีทิศทางสดใส จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์พบว่า เกือบร้อยละ 55 ของรถยนต์ ที่ผลิตได้เป็นการผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน (ร้อยละ 19.5) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 15.2) และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง (ร้อยละ 14.3) ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่มีการเติบโตสูงนั้น เป็นการเติบโตของตลาดในประเทศคู่ค้าหลักที่สำคัญดังกล่าว โดยการส่งออกรถยนต์ไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 108.1 ต่อปี การส่งออกรถยนต์ไปยังออสเตรเลียขยายตัวสูงถึงร้อยละ 163.6 ต่อปี และการส่งออกไปยังประเทศในแถบตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี สำหรับในช่วงที่เหลือของปี 2553 นี้ สศค. คาดว่าตลาดส่งออกยานยนต์น่าจะมีทิศทางที่เติบโตได้ดีขึ้น ซึ่ง ปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาด ส่งออกรถยนต์ที่สำคัญทั้งกลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางในปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประชาชนในประเทศดังกล่าวให้เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ปัจจัยที่สอง คือ รถยนต์นั่งขนาดเล็กจะได้รับปัจจัยหนุนต่อการเติบโตจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ผันผวนและมีแนวโน้ม การปรับราคาเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ประหยัดพลังงานในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น และเมื่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกก็จะเริ่มนำรถยนต์ที่ประหยัดนั่งขนาดเล็กพลังงานออกมาทำตลาด ซึ่ง ในปัจจุบันประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก สะท้อนได้จากสัดส่วนของการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (ขนาดเครื่องยนต์ต่ำกว่า 1,800 ซีซี) ที่สูงถึงร้อยละ 74.1 ของการผลิตรถยนต์นั่งรวม จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด โดยในปี 2551 ยอดผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กสูงถึง 170,347 คัน แม้ว่ายอดผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กลดลงบ้างในปี 2552 อันมีสาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่า คาดว่าจะมีการเริ่มเปิดตัวรถอีโคคาร์มากขึ้น ตามแผนการขยายการผลิตรถยนต์ อีโคคาร์เพื่อส่งออกโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก เช่น Nissan, Suzuki, Honda, Mitsubishi และ Toyota ที่คาดว่าจะ ผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 680,000 คันต่อปี สำหรับภาพรวมการจำหน่ายรถยนต์นั่งขนาดเล็กในงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 31 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2553 ที่ผ่านมา นั้น มียอดจองถึง 27,878 คัน เติบโตจากงานในปีก่อนสูงถึงร้อยละ 64.6 ทั้งนี้ นอก จากรถยนต์อีโคคาร์แล้ว คาดว่ารถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ใช้เชื้อเพลิงประเภท E20 ก็มีแนวโน้มเติบโตได้ดี เนื่องจากมีการจัดเก็บภาษี สรรพสามิตเพียงร้อยละ 25 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อรถยนต์ได้ในราคาที่ถูกลงและจูงใจให้หันมาซื้อมากขึ้น
ปัจจัยที่สาม คือ การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และกรอบข้อตกลงเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) จะส่ง ผลดีต่ออนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย โดยข้อดีของ AFTA จะทำให้อัตราภาษีของชิ้นส่วนยานยนต์หลายประเภทปรับลดลงเป็นร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาชิ้นส่วนยานยนต์นำเข้าที่ราคาถูกลงและช่วยให้ต้นทุนในการผลิตรถยนต์มีราคาถูกลง ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและจะช่วยเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลก ขณะที่ JTEPA จะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมี ศักยภาพในการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระยะยาว โดยผ่านการก่อตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรม ยานยนต์ (Automotive Human Recourse Institute) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น ในการที่จะเป็นสถาบันหลัก ในการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์
ปัจจัยหนุนดังกล่าวข้างต้น ทำให้คาดว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2553 น่าจะยังคงขยายตัวได้อย่าง ต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามการฟื้นตัวในอัตราที่แผ่วลงของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะจาก สถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีความรุนแรง ที่อาจส่งผลกระทบทางลบทางจิตวิทยาในแง่ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่อาจส่ง ผลต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ภายในประเทศในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ โดยแม้ว่าผู้ชุมนุมจะยุติการชุมนุมที่ย่านราชประสงค์ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 แต่เหตุการณ์การเผาศูนย์กลางธุรกิจและการค้าหลายแห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงศาลากลางจังหวัดในต่างจังหวัด ได้สร้างความสูญเสียทางธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการร้านค้าที่ถูกเผา และรายได้ของของลูกจ้างแรงงานที่ได้ถูกเลิกจ้าง รวมถึงธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น ผู้บริโภคภายในประเทศ ให้ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายใช้สอยซื้อรถยนต์มากขึ้น ทั้งนี้ ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์เริ่มส่ง สัญญาณของการแผ่วลงในเดือน พ.ค. 2553 โดยหากมีการปรับผลทางฤดูกาลแล้วจะพบว่า อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ของรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์หดตัวที่ร้อยละ -3.3 และ -11.4 ตามลำดับ สะท้อนถึงผลกระทบทางลบที่มีต่อตลาดรถยนต์ภายใน ประเทศจากปัจจัยการเมืองที่รุนแรงขึ้น จนส่งผลให้มีการประกาศให้มีวันหยุดราชการเพิ่มขึ้นและการประกาศเคอร์ฟิวในกทม.และอีก 23 จังหวัด
(พันคัน) ปี 52 Q1/52 Q2/52 Q3/52 Q4/52 Q1/53 มี.ค.53 เม.ย.53 พ.ค.53 5M ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 230,037 43,968 52,088 56,749 77,232 66,247 23,122 26,274 27,808 120,329 %yoy 1.4 -17.4 -8.9 1.4 27.8 50.7 42.8 64.4 60.2 55.6 %mom SA, %qoq SA - -5.8 2.0 16.2 14.3 11.9 -13.7 19.4 -3.3 - ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ 318,834 63,806 71,566 78,307 105,155 100,555 39,945 30,854 34,397 165,806 %yoy -18.2 -41.1 -30.5 -6.6 12.4 57.6 58.9 30.0 48.4 49.8 %mom SA, %qoq SA - -10.5 7.0 10.0 6.7 25.6 -2.8 -8.5 11.0 - ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,635,807 374,604 422,097 414,719 424,387 493,435 178,561 143,519 154,880 791,834 %yoy -8.9 -16.4 -9.4 -12.9 4.4 31.7 32.1 28.1 7.8 25.6 %mom SA, %qoq SA - -12.2 6.1 -0.7 12.8 10.7 5.1 -4.6 -11.4 - ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยภาพรวมแล้ว จากข้อมูลเชิงประจักษ์ คาดว่าอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์จะขยายตัวได้ดีในช่วงที่เหลือของปี โดยเฉพาะ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก ซึ่งจากการที่ได้มีการปรับเป้าหมายใหม่การผลิตรถยนต์ในปี 2553 นั้น สศค. คาดว่า กรณีที่ 1 หากเป้าหมายใหม่ในการผลิตรถยนต์ในปี 2553 อยู่ที่ 1.5 — 1.6 ล้านคัน45 เพิ่มขึ้นจากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะ อยู่ที่ 1.4 ล้านคัน ดัชนีผลผลิตยานยนต์จะเติบโตได้ที่ร้อยละ 55 — 65 ต่อปี จากเดิมที่ได้หดตัวที่ร้อยละ -30.4 ต่อปี ในปี 2552 โดย หากเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 9 แสนคัน จะเป็นผลให้ยอดส่งออกรถยนต์เติบโตร้อยละ 55 - 60 ต่อปี ส่วนที่เหลือจะเป็นรถยนต์ที่ผลิตเพื่อ จำหน่ายในประเทศซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 7 แสนคัน กรณีที่ 2 หากเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ในปี 2553 อยู่ที่ 1.4 ล้านคันเท่ากับในปี 2551 ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไทยจะได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลก ผลผลิตรถยนต์ของไทยในปี 2553 ก็คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 40 — 45 ต่อปี โดยหาก เป็นการผลิตเพื่อส่งออกจำนวน 7.8 แสนคัน ซึ่งเท่ากับในปี 2551 จะคิดเป็นอัตราการเติบโตประมาณร้อยละ 30 — 35 ต่อปี 4. บทสรุปและข้อเสนอแนะ แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วงที่เหลือของปี 2553 จะสามารถเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์นั่ง ขนาดเล็กไปยังตลาดส่งออกหลักของไทย โดย สศค. คาดว่าการผลิตรถยนต์ในปีนี้น่าจะเติบโตที่ประมาณร้อยละ 55 - 65 ต่อปี ฟื้นตัวขึ้น จากที่หดตัวร้อยละ -30.4 ต่อปี ในปี 2552 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะเศรษฐกิจของ ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกรถยนต์หลักที่สำคัญของไทย ทั้งกลุ่มประเทศในอาเซียน ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง และได้ รับแรงสนับสนุนจากภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ผันผวนและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ที่มีผลส่งให้รถยนต์นั่งขนาดเล็กได้รับความนิยมมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) และความข้อตกลงเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมอนาคต อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จากการที่ราคาชิ้นส่วนยานยนต์นำเข้าจะถูกลง อย่างไรก็ดี การผลิตรถยนต์ในปีนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ การ ฟื้นตัวที่เริ่มแผ่วลงของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองที่มีความรุนแรง ที่อาจส่งผลกระทบทาง ลบต่อด้านความเชื่อมั่นผู้บริโภคส่งผลต่อการเติบโตของตลาดรถยนต์ภายในประเทศในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ ดังนั้น ในช่วงที่เหลือของ ปี 2553 นี้ ผู้ผลิตรถยนต์จึงอาจต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจในการทำการตลาดภาย ในประเทศมากขึ้น และผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวในขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจมีข้อจำกัดในด้านของแรงงานที่มีไม่เพียงพอ ดังนั้นการปรับปรุงคุณภาพของบุคลากรให้มีทักษะเพิ่มเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่มีการขยายตัวเติบโตมากขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ขณะ ที่ในระยะยาวผู้ประกอบการรถยนต์ของไทยควรพัฒนาศักยภาพในการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อสร้างโอกาสในการ เข้าไปอยู่ในสายการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก ไม่ว่าจะโดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยน แปลงอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาสินค้าให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th