Global Economic Monitor (2-6 สิงหาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 2, 2010 10:43 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • เศรษฐกิจของ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีสัญญาณชะลอการขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเชียและไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • ค่าเงินบาททรงตัว ขณะที่ค่าเงินยูโร เยนและภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาทปรับตัวลดลง
             Date           Economic Indicator              Forecast*     Previous
          1-Aug-10      KR July Export (%yoy)                                32.4
          1-Aug-10      CN July NBS PMI                                      52.1
          2-Aug-10      ID Jun Export (%yoy)                                 36.0
          2-Aug-10      ID July Inflation (%yoy)                             5.05
          2-Aug-10      EZ July Mfg PMI                                      56.5
          2-Aug-10      HK Jun Retail Sales (%yoy)                           19.7
          3-Aug-10      AU Aug RBS Cash Rate (%)                              4.5
          4-Aug-10      AU Jun Export (%yoy)                                  6.0
          4-Aug-10      EZ July Service PMI                                  56.7
          4-Aug-10      EZ Jun Retail Sales (%mom)                            0.2
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค. 53 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.4 ต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากความกังวลต่อสถานการณ์ในตลาดแรงงาน ยอดขายบ้านใหม่ (New Home Sales) ในเดือน มิ.ย. 53 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 330,000 หลังต่อปี หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 23.6 จากเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) ด้านราคาบ้านพบว่า ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย (Case-Shiller Home Price Index 20 %yoy) ในเดือน พ.ค 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ระดับร้อยละ 0.5 ต่อเดือน (%mom_sa) หรือร้อยละ 4.6 ต่อปี (%yoy) นับเป็นสัญญาณที่ดีในภาคอสังหาริมทรัพย์
Eurozone: mixed signal
  • คณะกรรมาธิการผู้ตรวจสอบธนาคารยุโรป (CEBS) ประกาศผลการทดสอบความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ (Stress test) พบว่ามีเพียง 7 ธนาคารจากจำนวน 91 ธนาคารใน 20 ประเทศ ที่ไม่ผ่านการทดสอบโดยเป็นธนาคารสัญชาติสเปน เยอรมัน และกรีซ จำนวน 5 ธนาคาร 1 ธนาคารและ 1 ธนาคาร ตามลำดับ ซึ่งจากผลการทดสอบทำให้ธนาคารในยุโรปจำเป็นต้องระดมทุนเพิ่มเพียง 3.5 พันล้านยูโร (4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)จากเกณฑ์ที่กำหนดให้ธนาคารต้องมีสัดส่วนเงินกองทุนขึ้นที่ 1 (Tier 1 Capital) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6
Japan: mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ในเดือน ก.ค. 53 อยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 เดือนที่ 52.8 บ่งชี้สัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิต โดยดัชนีผลผลิตปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 13 เดือนจากการที่ผู้ผลิตชะลอการผลิตลงและลดสินค้าคงคลังลง ทั้งนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย. 53 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ร้อยละ -1.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการรายใหญ่(Tankan Big Manufacturer) กลับมาเป็นบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปีมาอยู่ที่ระดับ +1.0 ในไตรมาสที่ 2/53 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ -14.0มูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 27.7 ต่อปี(%yoy) ลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.8 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) จากอุปสงค์ในภูมิภาคเอเชียที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าสินค้าขยายตัวที่ร้อยละ 27.7 ต่อปี (%yoy) ยอดค้าปลีก (Retail Sales)เดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี(%yoy) จากยอดขายรถยนตร์ น้ำมัน และเสื้อผ้า เป็นสำคัญ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศของรัฐบาล อัตราการว่างงานในเดือน มิ.ย. 53 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 มาอยู่ที่ร้อยละ5.3 ของกำลังแรงงานรวม ขณะที่ เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 53 ดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยหดตัวที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี
Philippines: improving economic trend
  • การนำเข้าเดือน พ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 31.4 ต่อปี (% yoy) และขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.9 จากเดือนก่อนหน้า (% mom_sa) จากการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตอิเล็กทรอนิกค์และ semiconductor ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด เป็นสำคัญ บ่งชี้ถึงแนวโน้มการส่งออกที่ยังน่าจะขยายตัวได้ดี
South Korea: mixed signal
  • อัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.2 ต่อปี (%yoy) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี จากการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่หดตัวลงร้อยละ -2.7 ต่อปี นอกจากนี้การบริโภคและการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลง ที่ร้อยละ 3.7 ต่อปี และ 15.0 ต่อปี ตามลำดับ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้แผ่วลง บ่งชี้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 53 เศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง ตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก
Singapore: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 58.6 ต่อปี จากการแผ่วลงของการผลิตสินค้าในหมวดเวชภัณฑ์ (Pharmaceuticals) ส่วนหนึ่งเกิดจากปัจจัยฐานต่ำที่เริ่มจะหมดไป นอกจากนี้อุปสงค์จากต่างประเทศที่เริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง ตามการฟื้นตัวที่ไม่ชัดเจนในสหรัฐอเมริกา การแผ่วลงของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป และการตึงตัวที่เพิ่มขึ้นในการปล่อยสินเชื่อในภูมิภาคเอเชียยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจสิงคโปร์น่าจะเริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง
Vietnam: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.7 (%yoy) จากปีก่อนหน้า ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 33.4 ต่อปี (%yoy)ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 (%yoy) จากปีก่อนหน้า ลดลงจากเดือนที่แล้วที่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.6 ต่อปี เงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (%yoy) จากปีก่อนหน้า จากระดับราคาในภาคการก่อสร้างและภาคการขนส่งเป็นสำคัญ
India: mixed signal
  • ธนาคารกลางอินเดียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Repo rate) อีก 25 bps ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือนจากร้อยละ 5.50 (ณ วันที่ 2 ก.ค. 53) เป็นร้อยละ5.75 และปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (Repurchase Repo rate)จากร้อยละ 4.00 เป็น 4.50 เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 53 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นตัวเลขสองหลักในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
Hong Kong: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 28.9 ต่อปี (% yoy) หรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.1 (%mom_sa) อันเนื่องมาจากการส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียที่ยังคงขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับการส่งนำเข้าเดือน มิ.ย. 53 ที่ยังขยายตัวได้ดีเช่นกัน โดยขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 31.0 ต่อปีหรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 (% mom_sa)
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ค่าเงินภูมิภาค อาทิ วอนริงกิต ต่างแข็งค่าขึ้น จากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดยังคงมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุน (Risk Appetite) ในภูมิภาคและทำให้สกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐการ ในขณะเดียวกันค่าเงินยูโรแข็งค่าชึ้นผ่านระดับ 1.30 เป็นครั้งแรกในรอบ 2 เดือน หลังมีการประกาศผล Stress Test ที่ออกมาดีกว่าตลาดคาดไว้
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง เนื่องจากค่ายูโร เยนและภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ค่าเงินบาททรงตัว
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 23 ก.ค. 53 เท่ากับ 150.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward อยู่ที่ระดับ 11.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.675 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาแกว่งตัวอยู่ในระดับสูง โดยเป็นผลจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติหลังจากมีการประกาศผลประกอบการในกลุ่มธนาคารลพลังงานที่ออกมาดี ประกอบกับสัดส่วน P/E ที่ยังอยู่ในระดับกว่าประเทศข้างเคียง และการสถานการณ์ทางการเมืองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพในช่วงนี้
  • ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ตามภาวะความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่ชะลอลง หลังจากที่ตัวยอดขายสินค้าคงทนของสหรัฐฯออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวปรับตัวลดลงตาม Inflation Expectation ที่ลดลงส่งผลให้มีการลงทุนในพันธบัตรระยะยาวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากนักลงทุนต่างชาติผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่ลดลงของพันธบัตรรัฐบาลในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยตามภาวะ risk appetite ที่เพิ่มขึ้น

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ