รายงานภาวะเศรษฐกิจรายวันประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 5, 2010 10:11 —กระทรวงการคลัง

Macro Morning Focus ประจำวันที่ 5 สิงหาคม 2553

Summary:

1. นายกฯ คาดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกโตได้ร้อยละ 10 ต่อปี

2. ธปท. เผยการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวดีแต่ยันไม่เจอสัญญาณฟองสบู่เศรษฐกิจ

3. สานักงานข้อมูลข่าวสารของจีนคาดว่า GDP ของจีนในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะชะลอตัวลง

Highlight:
1. นายกฯ คาดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีแรกโตได้ร้อยละ 10 ต่อปี
  • นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าในช่วงครึ่งปีแรกคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย(จีดีพี) น่าจะเติบโตได้ถึงสูงถึงร้อยละ 10 ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวในระดับที่สูง เพราะในช่วงที่ผ่านมาไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีแรก ที่คาดว่าจะโตได้ถึง 10% นั้น ได้รับอานิสงส์มาจากภาคการส่งออกที่เติบโตอย่างสูงในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนและบ่งชี้ถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย
  • สศค. วิเคราะห์ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 53 สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากไตรมาสแรกของปี ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในเดือน เม.ย. และ พ.ค. โดยมีเครื่องชี้ที่สาคัญคือ 1) มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2 ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 41.5 ต่อปี โดยได้อานิสงค์หลักมาจากตลาดในกลุ่มอาเซียน 2) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวที่ร้อยละ 20.2 ต่อปี สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี 3) ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวที่ร้อยละ 41.2 ต่อปี บ่งชี้การฟื้นตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง ทาให้ สศค.คาดว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 8.0 ต่อปี หรือร้อยละ 10.0 ต่อปีในช่วงครึ่งปีแรก
2. ธปท. เผยการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ยังขยายตัวดีแต่ยันไม่เจอสัญญาณฟองสบู่เศรษฐกิจ
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการที่ธปท. ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาพบข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ยังค่อนข้างดี ทั้งในเรื่องความต้องการที่แท้จริง หรือความต้องการเก็งกาไร ซึ่งแม้มาตรการรัฐที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์หมดไปแล้ว แต่ตัวเลขยอดการโอนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 เดือนแรกของปี 53 ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธปท. ยังไม่เห็นสัญญาณของฟองสบู่เศรษฐกิจ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนร้อยละ 3.9 ของ GDP ซึ่งไตรมาสแรกของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี สะท้อนถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เครื่องชี้การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ล่าสุดในเดือน มิ.ย. 53 บ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนได้จากดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 21.2 ต่อปี จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในเขตุกรุงเทพฯ และปริมณฑลขยายตัวเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และอัตราการขายของที่อยู่อาศัยใหม่ในเดือนมิ.ย. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 เมื่อเทียบกับร้อยละ 23.3 จากเดือนก่อนหน้า ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีความต้องการที่แท้จริง (Real Demand) จากผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ประกอบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น
3. สำนักงานข้อมูลข่าวสารของจีนคาดว่า GDP ของจีนในไตรมาสที่ 3 ปีนี้จะชะลอตัวลง
  • สำนักงานข้อมูลข่าวสารของจีน (State Council Information Office) รายงานว่า การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะเริ่มชะลอตัวลงมากขึ้น และคาดว่าอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.2 ต่อปีสาหรับไตรมาสที่ 3 ปีนี้ โดยสาคัญมาจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ชะลอลงและวงจรการสะสมสินค้า (Restocking Cycle) ที่เริ่มจะหมดลง รวมถึงผลจากฐานปีที่แล้วที่สูง ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 GDP ของจีนมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ร้อยละ11.9 และ 10.3 ตามลาดับ
  • สศค. วิเคราะห์ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในระดับที่สูงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 53 เป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของ GDP ของไทยอย่างมาก ผ่านทางอัตราการส่งออกในระดับสูงมาโดยตลอด ซึ่งในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ร้อยละ 46.3 ต่อปี โดยในครึ่งปีแรกนี้ จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่สาคัญที่สุดของไทย หรือมีสัดส่วนของการส่งออกของไทยไปยังจีนมากที่สุดที่ร้อยละ 10.9 ต่อปี ทั้งนี้ การที่เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงในไตรมาสข้างหน้า จึงสามารถส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยเริ่มมีการกระจายตัวที่มากขึ้น โดยเฉพาะไปยังกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะสามารถลดผลกระทบเชิงลบดังกล่าวได้บางส่วน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group:

Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665: www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ