Global Economic Monitor (9-13 สิงหาคม) 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 10, 2010 11:41 —กระทรวงการคลัง

Highlights
  • ภาคการผลิตของ สหรัฐฯ ยุโรปและจีน มีสัญญาณชะลอตัวลงเล็กน้อย ขณะที่เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังมีแนวโน้มที่ดี
  • นักลงทุนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สะท้อนได้จากตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และไทย ที่ยังปรับตัวดีขึ้นและสอดคล้องกับค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคที่ยังแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
             Date           Economic Indicator              Forecast*     Previous
          10-Aug-10     SG final GDP Q2/10 (%yoy)                           19.3
          10-Aug-10     CN July Export (%yoy)                  35.5         43.9
          10-Aug-10     PH Jun Export (%yoy)                                37.3
          10-Aug-10     KR July Unemployment (%)                             3.5
          11-Aug-10     CN July CPI (%)                         3.3          2.9
          11-Aug-10     US Jun International trade            -42.5        -42.3
          12-Aug-10     KR Aug Base Rate (%)                                2.25
          12-Aug-10     EZ Jun Industrial Output (%yoy)         9.3          9.4
          13-Aug-10     EZ Flash GDP Q2/10 (%qoq)               0.7          0.2
          13-Aug-10     HK GDP Q2/10 (%qoq)                                  2.4
          Note: *forecast by Reuters

Economic Monitor:

United States: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี (%yoy) หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ต่อไตรมาส(%qoq_sa) จากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าและการลดลงของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน ขณะที่การบริโภคภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยยอดขายบ้านมือสอง (Existing Home Sales) ในเดือนมิ.ย. 53 ที่ลดลงมาอยู่ที่ 5.37 ล้านหลังต่อปี จากระดับ 5.7 ล้านหลังต่อปีในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาเฉลี่ยของบ้านมือสองในเดือนเดียวกันปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) ในเดือน ก.ค. 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 55.5 จากระดับ 56.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยยอดการสั่งซื้อสินค้าลดลงถึงระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 52
Eurozone: mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อของผู้จัดการฝ่ายผลิต (Mfg PMI) ในเดือน ก.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 56.7 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 55.6 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีดังกล่าวในประเทศเยอรมันและอิตาลีเป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปีในเดือนก.ค. 53 จากร้อยละ 1.4 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า สำหรับอัตราการว่างงานในเดือน มิ.ย. 53 คงที่เป็นเดือนที่สี่ที่ร้อยละ 10 ของกำลังงานรวม โดยอัตราการว่างการในเยอรมันคงที่ที่ร้อยละ 7.0 ของกำลังแรงงานรวมส่วนหนึ่งจากมาตรการช่วยเหลือการจ้างงานของรัฐบาล สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปยังไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนภาคการจ้างงาน
China: mixed signal
  • ดัชนีคำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมของจีน (NBS PMI) เดือน ก.ค. 53 ว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนที่ระดับ 51.2 จากระดับ 52.1 ในเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ถึงสัญญาณการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจจีน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการเข้มงวดการเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์ และการชะลอโครงการลงทุนของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่เหนือระดับ 50.0 สะท้อนว่าภาคการผลิตของจีนยังคงขยายตัว
Taiwan: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไต้หวัน
Hong Kong: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 51.3 หลังจากปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นมาจากยอดสั่งซื้อสินค้าใหม่ (New Orders) และผลผลิต(Output) ที่ขยายตัวชะลอลง ยอดค้าปลีกยังคงมีการขยายตัวในระดับสูง โดยในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 15.3 ต่อปี จากยอดขายรถยนต์ เป็นสำคัญ
Indonesia: improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 2 ปี 53 ขยายตัว 6.2 ต่อปี (% yoy) ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 ต่อปี (% yoy) จากภาคการบริโภคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.0 ต่อปี และ 8.0 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์เดือน มิ.ย. 53 ที่เพิ่มขึ้น 70,384 คัน สูงกว่าระดับ 60,515 คัน ในเดือน พ.ค. 53 และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอินโดนีเซียอาจเผชิญกับความเสี่ยด้านเงินเฟ้อจากอัตราเงินเฟ้อล่าสุดเดือน ก.ค. 53 ที่ขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 53 ที่ร้อยละ 6.2 ต่อปี
Australia: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 51 ที่ร้อยละ 36.5 ต่อปี (% yoy) หรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 6.4 (%mom_sa) อันเป็นผลมาจากสินค้าโภคภัณฑ์หลักต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก แร่เหล็กและวัตถุดิบขั้นต้น ต่าง ๆ ยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 14.1 ต่อปี (% yoy) หรือเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 4.7 (%mom_sa) จากการขยายตัวของยอดนำเข้ารถยนต์และเคมีภัณฑ์เป็นสำคัญ ในขณะที่ยอดค้าปลีกเดือนมิ.ย. 53 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.2 (%mom_sa) ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางออสเตรเลียได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเดือน ส.ค. 53 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 4.5 จากความกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและความไม่แน่นอนทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
Malaysia: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 17.2 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 21.9 ต่อปี จากการชะลอลงของการส่งออกไปยังจีน สหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของมาเลเซียรองจากอาเซียน บ่งชี้อุปสงค์ภายนอกประเทศที่เริ่มชะลอลงตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก ด้านการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 30.1 ต่อปีจากการเริ่มเพิ่มสินค้าคงคลัง (stock) เพื่อรองรับการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลรามาดอน
Singapore: improving economic trend
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน มิ.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 52.2 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.3 จากดัชนีในหมวดสินค้าเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 49 ที่ระดับ 55.7 และจากดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าส่งออกใหม่ที่ระดับ 51.8
India: mixed signal
  • มูลค่าการส่งออกเดือน มิ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 30 ต่อปี ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือน พ.ค.ที่ร้อยละ 35.1 9 ต่อปี (%yoy) ขณะที่มูลค่าการนำเข้าชะลอตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 23 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 38.5 ต่อปี ทั้งนี้สินค้าที่นำเข้าเป็นส่วนใหญ่คือ น้ำมัน เหล็ก และเหล็กกล้าอย่างไรก็ตามประเทศอินเดียประสบปัญหาขาดดุลการค้าต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อความแข็งแกร่งของค่าเงินรูปี
Foreign Exchange Development
  • ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกับค่าเงินภูมิภาคส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น วอน ริงกิต และเปโซ จากทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดยังคงมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุน (Risk Appetite) ในภูมิภาคและทำให้สกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าขึ้น
เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันค่าเงินเยนอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ระดับ 85.8 ซึ่งเป็นระดับที่แข็งที่สุดในรอบหลายเดือน จากเข้าลงทุนของต่างชาติในสินทรัพย์สกุลเยนและดุลการค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากกว่าค่าเงินคู่หลัก
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ วันที่ 23 ก.ค. 53 เท่ากับ 151.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า1.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ฐานะ Forward อยู่ที่ระดับ 11.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
Stock Market Development
  • ตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยเป็นผลจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติหลังจากสัดส่วน P/E ที่ยังอยู่ในระดับกว่า
ประเทศข้างเคียง และการสถานการณ์ทางการเมืองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพในช่วงนี้
  • ตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาค ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น ตามตลาดหลักทรัพย์ Dow Jones และภาวะความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน
  • ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ Dow Jones ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากตัว ISM PMI และผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ในไตรมาส 2 ออกมาดีกว่าคาด
Bond Market Development
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยไม่เปลี่ยนแปลงมาทุกช่วงระยะ โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมามีอุปสงค์เข้ามาน้อยทุกช่วงระยะพันธบัตร
  • ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความต้องการที่ลดลงของพันธบัตรรัฐบาลในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยตามภาวะ risk appetite ที่เพิ่มขึ้น

Economic Stability Analysis Division | Macroeconomic Policy Bureau

Dr. Soraphol Tulayasathien, CFA, FRM, Dr. Sirikamon Udompol,

Sasin Pringpong and Archana Pankanchanophas

Tel. (02) 273 9020 Ext. 3254 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ