1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนมิถุนายน 2553
2. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤษภาคม 2553 ลดลงร้อยละ 8.1
3. IMF แสดงความเห็นว่าญี่ปุ่นควรขึ้นอัตราภาษีบริโภคเพื่อฟื้นฟูสถานะทางการคลังเป็นครั้งแรก
4. รัฐบาลจีนหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นมากขึ้น
5. รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งองค์กรใหม่เพื่อรับผิดชอบในการจัดทานโยบายเศรษฐกิจการคลังในภาพรวม
6. อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีลดลงต่ากว่าร้อยละ 1 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี
-----------------------------------
1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือนมิถุนายน 2553 ลดลงร้อยละ 1.5
กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry: METI)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนมิถุนายน 2553 ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 94.7 (ปี 2548=100) ซึ่งการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากการส่งออกลดลง METI คาดว่าผลผลิตจะปรับตัวดีขึ้นต่อไป แต่ยังอยู่ในภาวะที่ไม่มีเสถีรยภาพทางเศรษฐกิจ
1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจาเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือนมิถุนายน 2553 ลดลงร้อยละ 1.0 อยู่ที่ 99.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้าดัชนีราคาผู้บริโภคได้ลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 16 เดือนแล้ว เนื่องจากราคาอาหารและเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไป
1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)
อัตราการว่างงานเดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น 4 เดือนแล้ว
1.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5
กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจำเดือนมิถุนายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า การเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เป็นผลจากการที่ผู้บริโภคซื้อเครื่องปรับอากาศและโทรทัศน์มากขึ้น
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤษภาคม 2553 มีจำนวน 1.2053 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือนการเกินดุลการค้ามีจานวน 391 พันล้านเยน โดยยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 คิดเป็นจานวน 5.276 ล้านล้านเยน เนื่องจากความต้องการยานยนต์และเหล็กกล้ามากขึ้น ในขณะเดียวกันยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 คิดเป็นจานวน 4.6366 ล้านล้านเยน เนื่องจากราคาน้ามันเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ส่วนการเกินดุลการค้าและบริการมีจานวน 347.2 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ส่วนการเกินดุลรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนต่างประเทศลดลงเนื่องจากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากการลงทุนในต่างประเทศลดลง ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็น 11 เดือนแล้ว รายละเอียดปรากฎตามตารางที่แนบ
International Monetary Fund (IMF) ได้รายงานผลการสารวจประจาปีของประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นประเทศที่มีสถานะทางการคลังน่าเป็นห่วงที่สุดในหมู่บรรดาประเทศผู้นาทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน และได้ให้ความเห็นว่าญี่ปุ่นควรจะต้องเริ่มปรับขึ้นอัตราภาษีบริโภค (Consumption Tax) ภายในปี 2554 เพื่อเริ่มการฟื้นฟูสถานะทางการคลังอย่างเร็วที่สุด โดยในรายงานดังกล่าวได้มีการกล่าวถึงวิกฤติทางการคลังของประเทศกรีซ ที่ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจต่อประเทศในแถบยุโรปเป็นอย่างมาก จนทาให้ประเด็นการฟื้นฟูสถานะทางการคลังกลายเป็นวาระสาคัญของบรรดาประเทศผู้นาทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งหากญี่ปุ่นที่เป็นประเทศที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลกปัจจุบันอย่างมากเกิดวิกฤติทางการคลังขึ้น ก็จะทาให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบร้ายแรงอย่างแน่นอน ดังนั้น IMF จึงได้แสดงความเห็นว่าหากญี่ปุ่นต้องการที่จะลดอัตราการขยายตัวของจานวนหนี้สาธารณะประเทศภายในปี 2558 ญี่ปุ่นจะต้องปรับอัตราภาษีบริโภคขึ้นเป็นประมาณอัตราร้อยละ 14 - 22 จากปัจจุบันที่มีอัตราเท่ากับร้อยละ 5 ซึ่งหากจะทาให้รัฐบาลมีรายได้เพียงพอที่จะไม่ต้องตัดค่าใช้จ่ายลงอย่างมากก็จะต้องมีการปรับอัตราภาษีขึ้นเท่ากับร้อยละ 22 ก็ แต่หากปรับอัตราขึ้นเท่ากับร้อยละ 14 รัฐบาลก็ยังคงมีความจาเป็นที่จะต้องควบคุมและลดค่าใช้จ่ายทางด้านบริการสังคมลงอีกเป็นจานวนมาก ในขณะเดียวกันเมื่อเดือนมิถุนายน 2553 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศในยุทธศาสตร์การบริหารการคลังว่าญี่ปุ่นมีความจาเป็นจะต้องปรับอัตราภาษีบริโภคขึ้นเป็นประมาณอัตราร้อยละ 11 — 14 ภายในปี 2563 จึงจะสามารถฟื้นฟูสถานะการคลังได้ ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ IMF เสนอมาแล้วมีจานวนน้อยกว่ามาก ดังนั้นความแตกต่างของตัวเลขที่ปรากฎนี้จะเป็นประเด็นสาคัญที่จะต้องพิจารณา ในการวางแผนฟื้นฟูสถานะทางการคลังของญี่ปุ่นต่อจากนี้ไปอย่างแน่นอน รวมทั้งการที่พรรครัฐบาลคือ The Democratic Party of Japan (DPJ) ได้แพ้ในการเลือกตั้งสภาสูงเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมาทาให้หลายฝ่ายเกรงว่ารัฐบาลอาจจะยืดระยะเวลาในการเริ่มขึ้นภาษีบริโภคออกไป เนื่องจากกลัวว่าจะทาให้ความนิยมของพรรคลดลงมากกว่าปัจจุบันโดยการที่ IMF แสดงความเห็นเรื่องการขึ้นอัตราภาษีบริโภคและช่วงที่ควรจะเริ่มขึ้นภาษีต่อประเทศญี่ปุ่นนั้นนับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าบรรดาประเทศผู้นาทางเศรษฐกิจเริ่มกังวลต่อสถานะการคลังญี่ปุ่นอย่างจริงจังมากขึ้น
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 ประเทศจีนได้เริ่มลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา จากสถิติรายได้ระหว่างประเทศของกระทรวงการคลัง พบว่าจานวนการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ของรัฐบาลจีนมีจานวนเท่ากับ 1.2762 ล้านล้านเยน ซึ่งมีจานวนมากกว่ายอดรวมประจาปี 2548 ถึง 5 เท่า และเป็นจานวนที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ได้เริ่มมีการเก็บสถิติมา โดยคาดว่ามีสาเหตุมาจากความวุ่นวายในตลาดการเงินยุโรป และค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงอย่างมาก ทาให้รัฐบาลจีนหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น จากสถิติระหว่างปี 2548 — 2552 ยอดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของจีนที่มากที่สุดมีจานวนเท่ากับคือ 2 แสนล้านเยน แต่ภายหลังจากเกิดความวุ่นวายในตลาดการเงินยุโรปในปีนี้จะเห็นได้ว่าจีนเริ่มเข้ามาซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างจริงจังมากขึ้น โดยยอดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นของจีนเฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2553 มีจานวนมากถึง 7.352 แสนล้านเยน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลชนิดระยะสั้น รวมทั้งจีนยังมียอดการซื้อพันธบัตรโดยรวมประจาเดือนพฤษภาคม 2553 เท่ากับ 3.2102 ล้านล้านเยนเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศอังกฤษที่มียอดรวมเท่ากับ 4.9807 ล้านล้านเยนด้วย เนื่องจากเดิมจีนมีกฎระเบียบที่เข้มงวดในการควบคุมการลงทุนในต่างประเทศจึงแสดงให้เห็นว่าเป็นการซื้อส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานรัฐบาลเพื่อบริหารเงินทุนสารองระหว่างประเทศ รวมทั้งจากการเปิดเผยของธนาคารกลางจีนเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 ถึงยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศของจีนเมื่อช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2553 มีจานวนเท่ากับ 2.4543 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นอันดับ 1 ของโลกมากกว่าญี่ปุ่นที่เป็นอันดับ 2 ถึง 2.3 เท่า แต่เมื่อดูจากยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคม พบว่ามีจานวนลดลงน้อยกว่าเดือนก่อนหน้าเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี 3 เดือนเนื่องจากสถานะการคลังของยุโรปที่ปรับตัวแย่ลงจนส่งผลให้เกิดความกังวลในตลาดการส่งออกจีนจนทาให้เงินทุนต่างชาติที่ไหลเข้ามาในจีนในช่วงเดือนเมษายน จากการคาดการณ์ว่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นถูกถอนกลับออกไปจนยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศลดลงอย่างฉับพลัน
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2553 รัฐบาลได้เปิดเผยเกี่ยวกับแนวความคิดที่จะจัดตั้งองค์การใหม่ เพื่อรองรับการจัดทำนโยบายเศรษฐกิจการคลังโดยรวมของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เช่น จัดทาร่างงบประมาณประจาปี 2554 และการปฎิรูประบบภาษีเป็นต้น โดยคาดว่าองค์การดังกล่าวน่าจะเริ่มดาเนินการได้ภายในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม การจัดตั้งองค์การดังกล่าวนั้นมีสาเหตุหลักมาจากที่การพรรค The Democratic Party of Japan (DPJ) ซึ่งเป็นพรรคแกนนารัฐบาลได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาสูงเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาจนส่งผลให้เสียงในสภานั้นแยกออกเป็นหลายฝ่ายจนไม่สามารถผ่านกฎหมายยกระดับ National Policy Unit ซึ่งปัจจุบันอยู่ใต้ Cabinet Office ให้เป็นระดับสานักงาน(Government Bureau) ได้ตามที่วางแผนไว้แต่แรก ซึ่งการจัดตั้งสานักงานดังกล่าวนี้มีจุดมุ่งหมายเพิ่อให้ฝ่ายการเมืองสามารถเป็นผู้ตัดสินใจและกาหนดนโยบายเศรษฐกิจการคลังโดยรวมได้อย่างเด็ดขาดตามแนวความคิดของพรรค DPJ จากเดิมที่ฝ่ายราชการจะเป็นตัวหลักในการกาหนดนโยบายต่างๆ โดยใช้วิธีหารือกันภายในหรือระหว่างกระทรวง ซึ่งโครงสร้างขององค์การใหม่ดังกล่าวนั้นจะมีสมาชิกคณะรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางบริหาร และใช้เจ้าหน้าที่จาก Cabinet Office หรือเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการวิจัยนโยบายของพรรค DPJ เป็นผู้ปฎิบัติ โดย National Policy Unit นั้นยังจะคงมีอยู่แต่จะเปลี่ยนสถานะเป็นหน่วยงานที่ปรึกษาและให้คาแนะนา (think tank) ของนายกรัฐมนตรีแทน โดยจะยกเลิกการหารือกันระหว่างกระทรวงต่างๆ และเปลี่ยนเป็นการให้คาแนะนาโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับนโยบายทุกๆด้านรวมทั้งนโยบายด้านต่างประเทศด้วย อย่างไรก็ตามองค์การดังกล่าว ยังไม่มีกฎหมายจัดตั้งอย่างเป็นทางการมารองรับอานาจหน้าที่ และขอบเขตความรับผิดชอบการดาเนินการ ซึ่งอาจจะทาให้เกิดความไม่ชัดเจนในการดาเนินการขึ้นได้ในอนาคต
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2553 ได้เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในตลาดการเงินโตเกียวเป็นอย่างมาก เช่น อัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีซึ่งได้ใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะยาวได้ลดลงต่ากว่าร้อยละ 1 เท่ากับร้อยละ 0.995 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2546 ในขณะเดียวกันค่าเงินเยนได้แข็งตัวขึ้นอย่างมากจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 85 เยน รวมทั้งดัชนีราคาหุ้นนิเคอิปรับตัวลงต่ากว่า 9,500 เยน เนื่องจากความกังวลในสภาวะเศรษฐกิจของ สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงมากกว่าที่ผ่านมา โดยปัจจัยที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาวหลัก คือ อัตราผลตอบแทนระหว่างเงินลงทุนกับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีซึ่งปกติในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจดีนั้นอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก นักลงทุนได้ไปลงทุนในด้านอื่นส่งผลให้ความต้องการพันธบัตรรัฐบาลน้อยลง แต่ปัจจุบันเศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินในสหภาพยุโรป และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังไม่มีทีท่าจะฟื้นตัวในเร็ววันนี้ทาให้บรรดานักลงทุนหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยงต่ากว่าสินค้าทางการเงินประเภทอื่นๆ จนทาให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวทั่วโลกลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย รวมทั้งดอกเบี้ยเงินกู้สาหรับผู้ประกอบการทั่วไปด้วย และผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐ กับสหภาพยุโรปได้ส่งผลให้นักลงทุนหันมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมียอดหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงมากก็ตาม โดยหลายฝ่ายมองว่า Federal Reserve Board ของสหรัฐฯ อาจจะมีการใช้นโยบายผ่อนความตึงเครียดทางการเงินภายในอาทิตย์หน้านี้ สาหรับประเทศญี่ปุ่นจากการที่พรรครัฐบาลคือพรรค The Democratic Party of Japan (DPJ) ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ทาให้แนวทางการฟื้นฟูสถานะการคลังของรัฐบาลปัจจุบันนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลมีแนวโน้มว่าจะต้องออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงปประมาณต่อไป แต่จากสถานะการณ์ปัจจุบันความต้องการพันธบัตรรัฐบาลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นในกรณีของสถาบันการเงิน อัตราการกู้ยืมเงินลงทุนปัจจุบันนั้นยังไม่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น ทาให้สถาบันการเงินมียอดเงินฝากคงเหลือจานวนมาก และต้องนามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลแทน ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นจึงไม่น่าจะต้องห่วงเกี่ยวเรื่องปริมาณความต้องการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในขณะนี้เท่าไรนัก
ดุลการชาระเงินระหว่างประเทศประจาเดือนพฤษภาคม 2553
(Balance of Payments)
หน่วย: พันล้านเยน รายการ พฤษภาคม 2553 พฤษภาคม 2552 1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance) 1,205.3 1,311.4 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-8.1) (-33.8) 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance) 347.2 249.5 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (39.2) (-48.8) 1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance) 391.0 393.5 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (-0.6) (-20.9) การส่งออก (Exports) 5,027.6 3,757.4 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (33.8) (-42.2) การนำเข้า (Imports) 4,636.6 3,364.0 (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) (37.8) (-44.0) 1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance) -43.8 -143.9 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income) 928.7 1,176.4 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers) -70.7 -114.6 2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance) -1,283.4 -839.6 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance) -1,236.0 -804.4 การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) -469.0 -137.8 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) -1,758.0 -2,922.9 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives) -34.1 -132.7 การลงทุนอื่นๆ (Other investments) -2,491.0 2,389.1 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance) -47.3 -35.2 3. ยอดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets) -91.0 -332.7 ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th