รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 23 - 27 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 30, 2010 10:20 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • GDP ไทยไตรมาส 2 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 ต่อปี
  • ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 142.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -13.1 ต่อปี ทำให้ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.3 พันล้านบาท
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค.53 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี และดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 32.9 ต่อปี
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 64.1 และ 44.0 ต่อปี ตามลำดับ
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น จากเดิมที่ร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.75
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซนเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ -11.7
  • การส่งออกญี่ปุ่นขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 23.5 ต่อปี
  • GDP ฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี
Indicators next week
   Indicators                      Forecast            Previous
June: Iron sales (%yoy)              -3.0                -4.7
  • เนื่องจากปัจจัยฐานสูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
July: Headline Inflation (%yoy)       3.3                 3.4
  • เนื่องจากฐานการคำนวณในปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำ มันเชื้อเพลิงจะปรับตัวสูงขึ้น ตามราคา

น้ำมันดิบโลก

Economic Indicators: This Week

GDP ไทยในไตรมาส 2 ปี 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 9.1 ต่อปีหรือร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ผลจากการขยายตัวของภาคการส่งออกสินค้าและบริการ และการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.3 และ 6.5 ต่อปีตามลำดับ ขณะที่เมื่อพิจารณาด้านอุปทานพบว่าสาเหตุที่ทำให้ GDP ขยายตัวได้สูงมาจากสาขาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.0 ต่อปี

ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ค. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 142.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -13.1 ต่อปี โดยเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 124.8 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -2.9 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 10.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -65.9 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน ก.ค. 53 ได้แก่ รายจ่ายจากงบอื่นๆ เบิกจ่ายได้จำนวน 40.8 พันล้านบาท ซึ่งมาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพจำ นวน 15.8 พันล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 4.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ การเบิกจ่ายในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 เบิกจ่ายได้จำนวน 1,481.6 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.1 ต่อปีโดยเป็นงบประมาณประจำปีงบประมาณ 53 คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณที่ร้อยละ 78.9 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) ทั้งนี้ คาดว่าผลการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 53 จะเป็นไปตามเป้าหมายอย่างน้อยที่ร้อยละ 94.0 ของกรอบวงเงินงบประมาณนอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 20 ส.ค. 53 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้น 211.2 พันล้านบาทคิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 60.3 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ค. 53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -37.3 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 25.3 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด(ก่อนกู้) ของรัฐบาลขาดดุลจำนวน -12.0 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน -122.2 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -53.2 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -175.4 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าเป้าหมายและส่งผลให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 53 อยู่ในระดับสูงถึง 351.0 พันล้านบาท

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค.53 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี (หรือหดตัวที่ร้อยละ -1.3 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง และมันสำปะหลัง เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคระบาดและศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตยางพาราปรับขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง ส่วนผลผลิตหมวดปศุสัตว์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากผลผลิตสุกร ไก่เนื้อเป็นสำคัญ เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรทำปศุสัตว์มากขึ้น

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 32.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.3 ต่อปี (เป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน) จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ยางพารา และมันสำปะหลัง (ยกเว้นข้าว) เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น จากอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคายางพาราที่ราคายังคงทรงตัวในระดับสูง จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศจีน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 64.1 ต่อปี ชะลอจากเดือนก่อนที่ขยายตัวในอัตราเร่งที่ร้อยละ 75.7 ต่อปี (หรือหดตัวที่ร้อยละ -3.0 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) แต่ถือได้ว่ายังขยายตัวในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น โดยรายได้เกษตรกรที่แท้จริงเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ21.2 ต่อปี และ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 44.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 52.6 ต่อปี(หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน เมื่อหักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) แต่ถือได้ว่ายังขยายตัวในระดับสูง จากการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถปิคอัพ และรถบรรทุกขนาด 2 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 42.1และ 43.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวที่ร้อยละ 50.5 และ 48.8 ต่อปี ตามลำดับตามสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์และอุปทานในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงอย่างมาก

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี เนื่องมาจากฐานคำนวณที่สูงของช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 13.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.2 ต่อปี และเมื่อพิจารณาโดยปรับผล ของฤดูกาลแล้วพบว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ค.53 หดตัวร้อยละ -1.7 ต่อเดือน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อเดือนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อดัชนีฯ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อดัชนีฯ ได้แก่เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ สำหรับ อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 62.4 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 65.4 โดยหากปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 61.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.3 ของกำลังการผลิตรวม

คณะกรรมการนโยบายการเงินประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 โดยได้ประกาศปรับขึ้นจากร้อยละ1.50 เป็นร้อยละ 1.75 สาเหตุจากเศรษฐกิจไทยที่ดีเกินคาดในช่วงไตรมาสที่ 2 ผนวกกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ถึงแม้จะยังไม่ชัดเจนในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและต้นทุนการผลิตที่อาจปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะเกินกรอบเป้าหมายที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งไว้ที่ร้อยละ 0.5 -3.0 จากการที่ภาครัฐอาจยุติมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพในช่วงปี 54

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศในเดือน ก.ค. 53 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -3.0 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ3.3 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี จากฐานการคำนวณในปีก่อนหน้าที่เริ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงจะปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับขึ้นในช่วงต้นเดือน ส.ค.

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal

ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ เดือน ก.ค. 53 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.3 ต่อเดือน ด้านตัวเลขยอดขายบ้านเดือน ก.ค. 53 ลดต่ำลงมามากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ร้อยละ-27.2 ต่อเดือน จากมาตรการสนับสนุนการบริโภคโดยเฉพาะมาตรการสนับสนุนการซื้อบ้านและรถยนต์ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มหมดลงบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง

Eurozone: improving economic trend

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. 53 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ -11.7 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคเริ่มคลายกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการบริโภคยังคงไม่ฟื้นตัว หลังจากที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ออกมาประกาศปรับลดภาระค่าใช้จ่ายเพื่อไม่ให้ปัญหาหนี้สาธารณะของกรีซลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในกลุ่มยูโรโซน

Japan: mixed signal

การส่งออกขยายตัวชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ร้อยละ 23.5 ต่อปี โดยการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ไม่ว่าจะเป็นยุโรป สหรัฐฯ และจีน ยังคงขยายตัวอยู่ แต่ในอัตราที่ชะลอลง ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 15.7 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลอยู่ที่ 9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Taiwan: improving economic trend

อัตราว่างงานเดือน ก.ค. 53 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่องที่ 1,000 คนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หรือลดลง 72,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน บ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศยังคงแข็งแกร่ง

Singapore: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี จากราคารถยนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่รัฐบาลเพิ่มความเข้มงวดในการขายรถยนต์ใหม่

South Korea: improving economic trend

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. 53 ลดลงสูงสุดในรอบ 4 เดือน อยู่ที่ระดับ 110 บ่งชี้แนวโน้มการบริโภคที่อาจชะลอตัวลงอย่างไรก็ตามระดับดังกล่าวยังคงสูงกว่า 100 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคยังคงเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งเป็นสัญญาณบวกต่อการบริโภคภาคเอกชน

Philippines: improving economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.8 ต่อปี(ตัวเลขปรับปรุง) หรือหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 (% qoq) อันเป็นผลมาจากการส่งออกที่ยังขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ขยายตัวได้ดีเช่นกัน

Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจที่จะลงทุนในตลาดพันธบัตรของไทยโดยยังคงมีแรงซื้อพันธบัตรระยะกลางและยาวเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนได้จาก Yield ระยะยาวอาทิ 10 ปีที่ปรับตัวลดลงไปกว่า 24 bps ตามความเชื่อมั่นต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยหลังจากที่ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 2 ของไทยออกมาดีกว่าที่คาดไว้และความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางด้านราคาในช่วงต่อไปหลังจากที่ ธปท. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นซึ่งได้ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวขึ้นไปเล็กน้อย ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวลดลงไปในช่วงกลางสัปดาห์จากความกังวลต่อข่าวความกังวลเรื่องมาบตาพุดและโครงการมอนทาราก่อนที่จะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.60 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นในอัตราที่มากกว่าค่าเงินภูมิภาค ตามแรงซื้อของต่างชาติที่มีเข้ามาในตลาดพันธบัตรและหลักทรัพย์ตามความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทยและทิศทางดอกเบี้ยและค่าเงินบาทขาขึ้น

ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41 เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลคู่ค้าอันดับใหญ่แทบทุกสกุลยกเว้นค่าเงินเยน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ