รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 16 — 27 สิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 31, 2010 11:01 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปีในไตรมาส 2

2. ยอดการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5

3. รัฐบาลญี่ปุ่น และ BOJ เริ่มแสดงที่ท่าในการจะเริ่มแก้ปัญหาค่าเงินเยน

-----------------------------------

1. เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปีในไตรมาส 2

Cabinet Office ได้เปิดเผยว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ของปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็น 3 ไตรมาสแล้ว แต่เพิ่มขึ้นน้อยลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่มีอัตราเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ส่วน Nominal GDP ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเหลือร้อยละ 3.7 ต่อปี ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ทั้งนี้การใช้จ่ายผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 และการลงทุนในทิ่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 1.2 ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เนื่องจากการส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการนาเข้าก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากไตรมาสที่ผ่านมา

Cabinet Office ยังเปิดเผยว่าเศรษฐกิจจีนมีมูลค่ามากกว่าญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของโลกอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ โดยมูลค่า Nominal GDP ของญี่ปุ่นในไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.2883 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มูลค่า Nominal GDP ของจีนอยู่ที่ 1.3369 ล้านล้านดอลลารห์สหรัฐฯ ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นอาจเริ่มชลอตัวลง รวมทั้งการที่ค่าเงินเยนแข็งขึ้นส่งผลให้การส่งออกลดลงไปอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าการบริโภคอาจจะลดลงหลังจากโครงการสะสม Eco Point เมื่อซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงานและเงินช่วยเหลือที่ให้ประชาชนจะสิ้นสุดในปีนี้

2. ยอดการส่งออกเดือนกรกฎาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการเกินดุลการค้าเดือนกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 804.2 พันล้านเยน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลา 16 เดือนแล้ว ส่วนยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 จานวน 5.9828 ล้านล้านเยน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 8 เดือนแล้ว โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ เอเชียและจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 23.8 และ 22.7 ตามลาดับ การส่งออกเหล็กกล้าและยานยนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า อยู่ที่ 5.1786 ล้านล้านเยน แต่การที่เงินเยนมีค่าแข็งขึ้นและเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างค่อนข้างช้าส่งผลให้การส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นไม่มาก โดยการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไปยังสหรัฐฯ และยานยนต์ไปยังเอเชียเพิ่มน้อยลง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนต่อดอลลาร์เฉลี่ยในเดือนกรกฎาคมลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า อยู่ที่ 89.09 เยน

ดุลการค้าประจำเดือนกรกฎาคม 2553

หน่วย: พันล้านเยน

                  ยอดการส่งออก (ร้อยละ)          ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)          ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                 972.2 (25.9)                 499.9 (13.4)               472.3 (42.5)
สหภาพยุโรป             632.6 (13.3)                 499.0  (9.5)               133.6 (29.8)
เอเชีย  (รวมจีน)      3,343.0 (23.8)               2,353.6 (17.4)               989.4 (42.2)
สาธารณรัฐประชาชนจีน   1,156.9 (22.7)               1,141.1 (14.4)               158.0  (-)
รวม                 5,982.8 (23.5)               5,178.6 (15.7)               804.2 (119.9)
ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น


3. รัฐบาลญี่ปุ่น และ Bank of Japan (BOJ) เริ่มแสดงที่ท่าในการจะเริ่มแก้ปัญหาค่าเงินเยน
          เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่นนาย Yoshihiko Noda ได้ประกาศว่ากระทรวงการคลังได้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากค่าเงินเยนที่แข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน และยังกล่าวว่าจะมีการใช้นโยบายแก้ไขในเร็ววันนี้ ทาให้ความเป็นไปได้ที่รัฐบาล และ Bank of Japan (BOJ) จะเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนนั้นเริ่มชัดเจนมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นเรื่องการแทรกแซงค่าเงินเยน เนื่องจากค่าเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้นมากจนมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 83 เยนเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี และจากที่ผ่านมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนจนทาให้หลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลนั้นไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินเยนยิ่งแข็งตัวขึ้น จนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องออกมาให้สัมภาษณ์เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะทาให้ค่าเงินเยนไม่แข็งตัวขึ้นไปมากกว่านี้ นอกจากนั้นปัจจุบันราคาหลักทรัพย์ทั่วโลกได้ลดต่าลงอย่างมาก ทาให้หน่วยงานรับผิดชอบทางเศรษฐกิจของทวีปยุโรป และสหรัฐฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนในช่วงที่ผ่านมาเริ่มแสดงความต้องการที่จะให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่จะคงไม่สามารถที่จะให้ความร่วมมือหรือช่วยเหลือได้ ดังนั้นญี่ปุ่นจะต้องดาเนินการแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีความสามารถแก้ปัญหานี้ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนBOJ ได้เปิดเผยว่ากาลังมีการพิจารณานโยบายลดความเข้มงวดทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อที่จะนาเข้าหารือในการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 6 -7 กันยายน 2553 นี้ เช่นการให้เงินกู้ดอกเบี้ยคงที่เท่ากับร้อยละ 0.1 ระยะเวลา 3 เดือนเพื่อการเพิ่มทุน การเพิ่มวงเงินกู้เพื่อเพิ่มทุนจาก 20 ล้านล้านเยนเป็น 30 ล้านล้านเยน และเพิ่มระยะเวลาการให้กู้เป็น 6 เดือน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามหากมีความเปลี่ยนแปลงในตลาดเกิดขึ้นกระทันหัน BOJ ก็พร้อมที่จะประชุมเพื่อพิจารณานโยบายดังกล่าวทันที โดยไม่รอให้ถึงกาหนดการประชุมในต้นเดือนหน้า จากความเคลื่อนไหวของรัฐบาล และ BOJ ทาให้ความเคลื่อนไหวของนักลงทุนที่เร่งซื้อเงินเยน และขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นั้นชะลอตัวลงชั่วคราว แต่ปัจจุบันเมื่อมองจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหภาพยุโรป และอเมริกา การซื้อเงินเยนเพื่อลงทุนนั้นก็ยังคงเป็นทางออกที่ปลอดภัยที่สุดเช่นเดิม


          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ